สาระน่ารู้


สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 24 มกราคม 2566


วันนี้ (24 มกราคม 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล  ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

                   1.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560 รวม 2 ฉบับ
                   2.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยฉพาะ ในท้องที่ตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ให้แก่ นางมี รักเสมอวงศ์ พ.ศ. ....
                   3.       เรื่อง     ระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรม พ.ศ. 2565
                   4.       เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2559
                   5.       เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี  พ.ศ. 2557
                   6.       เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556)
                   7.       เรื่อง     ร่างกฎหมายการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข
                   8.       เรื่อง     ร่างกฎหมายการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
                   9.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ พ.ศ. ....
                   10.      เรื่อง     ร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทาง พ.ศ. ....
 

เศรษฐกิจ-สังคม

                   11.      เรื่อง     ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 และเอกสารประกอบ
                   12.      เรื่อง     รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564
                   13.      เรื่อง     รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                   14.      เรื่อง     การนำเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
                   15.      เรื่อง     รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนพฤศจิกายน และ 11 เดือนแรกของปี 2565
                   16.      เรื่อง     สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนธันวาคม 2565
                   17.      เรื่อง     ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป
                   18.      เรื่อง     ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการพัฒนาฟื้นฟูให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านทะเลน้อย ถนนทะเลน้อย – ท่ากะพัก ถนนทะเลน้อย –ท่าตาเทือง และท่าตาเทือง – สะพานรักษ์แสม มีความคาบเกี่ยวตำบลวังหว้า ตำบลเนินฆ้อ ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
                   19.      เรื่อง     โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบด้านการดูแลสุขภาพจิต
                   20.      เรื่อง     มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผ่านกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ [ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....]
                    21.      เรื่อง     การลงทุนโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และจังหวัดลำพูน
                   22.      เรื่อง     มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น
 

ต่างประเทศ

                   23.      เรื่อง     ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 21 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                   24.      เรื่อง     ผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27
                   25.      เรื่อง     ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาไทย - ตุรกี ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและสภาอุดมศึกษาแห่งสาธารณรัฐตุรกี
                    26.      เรื่อง     รายงานผลการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน (ASEAN Labour Ministers’  Meeting: ALMM) ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และขอความเห็นชอบต่อการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ของการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 27 และร่างถ้อย แถลงร่วม (Joint Statement) ของการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 12
                   27.      เรื่อง     ผลการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development  Programme: UNDP) ในการดำเนินงานศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาค กรุงเทพมหานคร - UNDP (Bangkok - UNDP Regional Innovation Center:  RIC) ประจำปี พ.ศ. 2564 ความก้าวหน้าของกิจกรรมประจำปี พ.ศ. 2565 และการขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ
                   28.      เรื่อง     ถ้อยแถลงร่วมเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
 

แต่งตั้ง

                   29.      เรื่อง     รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการ (จำนวน 15 ราย)
                   30.      เรื่อง     การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงสาธารณสุข
                        31.        เรื่อง       การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ)
                   32.      เรื่อง     ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ครั้งที่ 2 (กระทรวงพาณิชย์)
                   33.      เรื่อง     การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
                   34.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
                   35.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุขในคณะกรรมการ                                     หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                    
 
*********
 

 

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560 รวม 2 ฉบับ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้มีหน้าที่รายงานรวบรวม และนำส่งข้อมูลที่ต้องรายงานให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับการขอหนังสือรับรองสถานะว่าเป็นหรือไม่เป็นผู้มีหน้าที่รายงาน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้รับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทยไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการการต่อไปได้ และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ รวม 2 ฉบับ ที่กระทรวงการคลังเสนอเป็นการออกกฎกระทรวง เพื่อกำหนดให้ผู้มีหน้าที่รายงานตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความความตกลงระหว่างรัฐบาล  แห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560 ได้แก่ สถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทประกันชีวิต เป็นต้น มีหน้าที่รวบรวมและนำส่งข้อมูล เช่น ข้อมูลบัญชีทางการเงิน ข้อมูลทางภาษี ฯลฯ ต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีเพื่อปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ) และมีหน้าที่ในการจัดเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวเป็นเวลาอย่างน้อย 6 ปีนับแต่ปีที่ได้รับข้อมูล เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อมูล รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการการขอหนังสือรับรองสถานะว่าเป็นหรือไม่เป็นผู้มีหน้าที่รายงาน โดยให้มี “คณะกรรมการเพื่อพิจารณาหนังสือรับรองสถานะ” ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง เป็นผู้พิจารณาการออกหนังสือรับรองสถานะดังกล่าว
                   ร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศและการดำเนินการตาม FATCA (Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the United States of America to Improve International Tax Compliance and to Implement FATCA) (ความตกลง FATCA) ที่ได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2559 ซึ่งประเทศไทยมีพันธกรณีที่จะต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อนำข้อมูลของผู้เสียภาษีมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาประสิทธิภาพของการจัดเก็บภาษีอากรของประเทศในระยะยาว ประกอบกับเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการรวบรวมและนำส่งข้อมูลให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่รายงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติตามความตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษี ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับแล้ว ซึ่งผู้แสดงความคิดเห็นไม่ได้คัดค้านในหลักการของ                                   ร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้มีหน้าที่รายงานรวบรวม และนำส่งข้อมูลที่ต้องรายงานให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหน้าที่ของผู้มีหน้าที่รายงาน [1) สถาบันการเงิน 2) บริษัทหลักทรัพย์ 3) บริษัทประกันชีวิต 4) บริษัทประกันวินาศภัย 5) ผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า 6) ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาตามกฎหมายว่าด้วยการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา 7) ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต และ 8) บุคคลที่ประกอบธุรกิจรับฝากหลักทรัพย์ รับฝากเงิน หรือดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการลงทุน] ในการรวบรวมข้อมูลที่ต้องรายงานและนำส่งข้อมูลดังกล่าวต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ ตลอดจนหน้าที่ในการจัดเก็บรักษาข้อมูลดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ สรุปได้ดังนี้
                             1.1 กำหนดหน้าที่ของผู้มีหน้าที่รายงานในการรวบรวมข้อมูลที่ต้องรายงานให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีเพื่อปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ) เช่น ข้อมูลบัญชีทางการเงิน ข้อมูลภาษี ฯลฯ
                             1.2 กำหนดระยะเวลาในการนำส่งข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจ โดยให้ผู้มีหน้าที่รายงานนำส่งข้อมูลภายในเดือนมิถุนายนของปีถัดไปนับแต่วันสุดท้ายของปีปฏิทินของการได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องรายงาน เว้นแต่ข้อมูลที่ต้องรายงานในปีแรก ให้ผู้มีหน้าที่รายงานนำส่งข้อมูลที่ต้องรายงานภายในเดือนมิถุนายนของปีถัดจากวันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับ
                             1.3 กำหนดให้การส่งข้อมูลของผู้มีหน้าที่รายงานจะถือว่าสมบูรณ์เมื่อระบบ IDES [International Data Exchange Service (IDES) ซึ่งเป็นช่องทางที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลตามข้อ 3 อนุวรรค                 6 ก) ของความตกลงฯ] แจ้งเตือนว่าข้อมูลได้ถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสหรัฐแล้ว
                             1.4 กำหนดให้เมื่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจได้รับแจ้งความไม่ถูกต้องของข้อมูลจากระบบ IDES ที่เกิดจากความผิดพลาดของผู้มีหน้าที่รายงาน ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจแจ้งให้ผู้มีหน้าที่รายงานทราบ และผู้มีหน้าที่รายงานต้องแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและนำส่งข้อมูลที่ต้องรายงานให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายนของปีเดียวกัน
                             1.5 กำหนดให้ผู้มีหน้าที่รายงานต้องจัดเก็บรักษาข้อมูลและเอกสารหลักฐานใน                     การตรวจสอบข้อมูลของลูกค้าและการรายงานข้อมูล เป็นเวลาอย่างน้อย 6 ปี นับแต่ปีที่ได้รับข้อมูล
                   2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับการขอหนังสือรับรองสถานะว่าเป็นหรือ                ไม่เป็นผู้มีหน้าที่รายงาน พ.ศ. .... เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระบวนการในการพิจารณาคำขอ การยื่นขอหนังสือรับรองสถานะของการเป็นหรือไม่เป็นผู้มีหน้าที่รายงาน กรอบระยะเวลาในการยื่นคำขอ ช่องทางการดำเนินการ ตลอดจนขั้นตอนการพิจารณารับรองสถานะของผู้มีหน้าที่รายงาน สรุปได้ดังนี้
                             2.1 กำหนดให้ผู้ยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองสถานะว่าเป็นหรือไม่เป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติการตามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อความร่วมมือในการปรับปรุงการปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. 2560 (พระราชบัญญัติ FATCA) จะต้องเป็นผู้มีหน้าที่รายงานตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติ FATCA
                             2.2 กำหนดระยะเวลายื่นคำขอให้ออกหนังสือรับรองสถานะฯ สำหรับรอบปีปฏิทินที่สิ้นสุดก่อนวันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับ ให้ยื่นคำร้องขอให้ออกหนังสือรับรองสถานะฯ ภายใน 2 เดือน นับแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับ สำหรับในปีถัดไปสามารถขอให้ยื่นคำร้องขอให้ออกหนังสือรับรองสถานะฯ ภายในวันที่ 31 มกราคมของทุกปี
                             2.3 กำหนดให้ผู้ขอหนังสือรับรองสถานะฯ ยื่นคำขอให้ออกหนังสือรับรองสถานะฯ และเอกสารประกอบพิจารณาตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศไทย (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรี) ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ทั้งนี้ ผู้ขอให้ออกหนังสือรับรองสถานะฯ ต้องให้ความยินยอมแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศไทยในการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในการพิจารณาสถานะของผู้ยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศสหรัฐอเมริกา
                             2.4 กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหนังสือรับรองสถานะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแต่งตั้ง และมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคำขอให้ออกหนังสือรับรองสถานะฯ และให้ความเห็นและคำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศไทยในการพิจารณาออกหนังสือรับรองสถานะฯ โดยให้อธิบดีกรมสรรพากรเป็นประธาน และผู้แทนจากกรมสรรพากรและสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นกรรมการและเลขานุการร่วม
 
2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยฉพาะ ในท้องที่ตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ให้แก่ นางมี รักเสมอวงศ์ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยฉพาะ ในท้องที่ตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ให้แก่ นางมี รักเสมอวงศ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. ร่างพระราชบัญญัติฯ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการโอนที่ราชพัสดุที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะตามหลักฐาน น.ส. 3 ก. เลขที่ 959 ในท้องที่ตำบลดงเย็น อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เนื้อที่ประมาณ 14 ไร่ 1 งาน 90 ตารางวา (ที่ตั้งโรงเรียนบ้านป่าเป้าเดิม) ให้แก่นางมี รักเสมอวงศ์ ซึ่งได้ครอบครองทำประโยชน์อยู่ในปัจจุบัน เพื่อแลกเปลี่ยนกับที่ดินของนางมี รักเสมอวงศ์ หลักฐาน น.ส. 3 ก. เลขที่ 884 เนื้อที่ 16 ไร่ 0 งาน 00 ตารางวา (โดยปัจจุบันใช้ประโยชน์เป็นที่ตั้งของโรงเรียนบ้านป่าเป้าเพื่อให้เป็นที่ราชพัสดุ)
                   2. กระทรวงการคลังได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ด้วยแล้ว โดยได้รับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ นางมี รักเสมอวงศ์ (ผู้แลกเปลี่ยน) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านป่าเป้า อดีตข้าราชการครูและบุคลากร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลและชาวบ้านบริเวณพื้นที่โดยรอบซึ่งเห็นชอบด้วย และได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ www.treasury.go.th และ ระบบกลางทางกฎหมาย www.law.go.th รวมทั้งได้จัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติ (Checklist) และการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายดังกล่าวแล้ว พร้อมกับนำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายดังกล่าวเผยแพร่ผ่านทาง www.treasury.go.th และ www.law.go.th ด้วยแล้ว
 
3. เรื่อง ระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์การรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรม พ.ศ. 2565
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรม พ.ศ. 2565 เพื่อสำนักงาน ก.พ. จะได้ดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป
                   เรื่องเดิม
                   คณะรัฐมนตรีมีมติ (29 กันยายน 2563) รับทราบระเบียบคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2563 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ในการจัดทำประมวลจริยธรรมและข้อกำหนดจริยธรรมที่ใช้บังคับองค์กรกลางบริหารงานบุคคล1 และส่วนราชการต่าง ๆ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สำนักงาน ก.พ. รายงานว่า
                   1. โดยที่พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 13 บัญญัติให้คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) มีหน้าที่และอำนาจในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งรวถึงการกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม2 ตลอดจนตรวจสอบรายงานประจำปีของหน่วยงานภาครัฐ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์เป็นระเบียบ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลใช้เป็นหลักเกณฑ์สำหรับการจัดทำประมวลจริยธรรมและข้อกำหนดจริยธรรม ทั้งนี้ ในช่วงปี 2563-2565 ก.ม.จ. ได้ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าวที่สำคัญ เช่น การจัดทำยุทธศาสตร์ด้านมาตรฐานทางจริยธรรมและการส่งเสริมจริยธรรมภาครัฐ พ.ศ. 2565-2570 (ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว) การกำหนดรูปแบบรายงาน วิธีการกำกับ ติดตาม และประเมินผล และการกำหนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนา การกำกับ ติดตามและประเมินผลการส่งเสริมจริยธรรม นอกจากนี้ ได้ออกระเบียบ ก.ม.จ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2563 [ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบด้วยแล้ว (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 29 กันยายน 2563)]
                   2. ก.ม.จ. ในการประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบร่างระเบียบ ก.ม.จ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรม พ.ศ. 25653 เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการจัดทำรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรมที่ใช้บังคับองค์กรกลางบริหารงานบุคคลและหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ และได้แจ้งเวียนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพิจารณาให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างระเบียบฯ แล้ว
                   3. สำนักงาน ก.พ. ได้ปรับปรุงร่างระเบียบฯ ตามที่ได้รับข้อสังเกตของสำนักงานรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) และเสนอรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ประธาน ก.ม.จ. ลงนามแล้ว ซึ่งได้เห็นควรให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบการออกระเบียบ ก.ม.จ. ฉบับดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                             3.1 กำหนดให้หน่วยงานของรัฐรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรม รวมถึงข้อมูลการจัดหลักสูตรการฝึกอบรม การเผยแพร่ความเข้าใจให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ การนำพฤติกรรมทางจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคล การจัดทำมาตรการจูงใจเพื่อพัฒนาและส่งเสริมเจ้าหน้าที่ของรัฐ การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการสร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน หรือการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องโดยจัดทำเป็นรายงานประจำปีเสนอต่อองค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม4 แล้วแต่กรณี ภายในเดือนตุลาคมของทุกปี
                             3.2 กำหนดให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม กำกับ ติดตามให้หน่วยงานของรัฐมีการจัดทำและเสนอรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรม เพื่อนำมาวิเคราะห์และประเมินผล               ในภาพรวมเสนอต่อ ก.ม.จ. ภายในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
                             3.3 กำหนดให้การรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรม เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และรูปแบบตามที่ ก.ม.จ. กำหนด
                             3.4 กำหนดให้สำนักงาน ก.พ. รวบรวมและวิเคราะห์รายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรม ขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลหรือองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม แล้วแต่กรณี เพื่อประเมินผลในภาพรวมและจัดทำรายงานประจำปีพร้อมทั้งรายงานปัญหาและอุปสรรค เสนอต่อ ก.ม.จ. ภายในเดือนมกราคมของทุกปีและรายงานสรุปผลการดำเนินงานเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
                             3.5 ให้หน่วยงานของรัฐ องค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมเปิดเผยรายงานการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรมได้ตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ
_____________________
1 องค์กรกลางบริหารงานบุคคล หมายความถึง คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น รวมทั้งคณะกรรมการกลางบริหารงานบุคคลของเจ้าหน้าที่ของรัฐในฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
2 มาตรฐานทางจริยธรรม คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ ซื่อสัตย์สุจริต คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม และมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
3 สำนักงาน ก.พ. แจ้งว่า ร่างระเบียบฯ จะเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์การรายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรมฯ และสอดคล้องกับระเบียบ ก.ม.จ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดทำประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรมของหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2563 ที่กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องมีการประเมินผลการดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานทางจริยธรรมและให้ ก.ม.จ. ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม
4 องค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม หมายความว่า องค์กรกลางบริหารงานบุคคล คณะรัฐมนตรีสภากลาโหม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและองค์กรที่ ก.ม.จ. วินิจฉัยว่าเป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
5 สำนักงาน ก.พ. แจ้งว่า ในส่วนของข้าราชการการเมือง ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดหน่วยงานที่จะเป็นผู้รายงานผลการดำเนินการตามมาตรฐานทางจริยธรรม ประมวลจริยธรรม ข้อกำหนดจริยธรรม และกระบวนการรักษาจริยธรรม รวมทั้งยังไม่มีการกำหนดหน่วยงานที่จะเป็นผู้รวบรวมและวิเคราะห์รายงานผลการดำเนินการดังกล่าวเพื่อประเมินผลในภาพรวมของข้าราชการการเมือง เสนอต่อ ก.ม.จ. โดยภายหลังจากที่มีการประกาศใช้ระเบียบฯ แล้วจะกำหนดผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องดังกล่าวให้ได้ข้อยุติภายในเดือนมีนาคม เพื่อให้สามารถรายงานผลการดำเนินการได้ทันภายในเดือนตุลาคม 2566
 
 
4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2559
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2559 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า
                   1. ได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2559 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้พื้นที่ที่ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ เขตผังเมืองรวม เขตควบคุมอาคาร และเขตควบคุมมลพิษในจังหวัดกระบี่ เป็นเขตพื้นที่ที่ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยให้มีระยะเวลาบังคับใช้ห้าปีนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (มีผลใช้บังคับ 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2559 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564)
                   2. ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามข้อ 1 ได้แก่ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2559 มีผลใช้บังคับสองปีนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566
                   3. โดยที่กระบวนการยกร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. .... (ฉบับใหม่) เพื่อให้มีผลใช้บังคับต้องนำเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบซึ่งการดำเนินการปรับปรุงประกาศดังกล่าวข้างต้น ทส. โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการอีกระยะหนึ่งทำให้ไม่สามารถดำเนินการให้มีผลใช้บังคับได้ทันกับระยะเวลาการใช้บังคับประกาศตามข้อ 1 และข้อ 2 ที่จะหมดลงในวันที่ 31 มีนาคม 2566 ประกอบกับมาตรา 45 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 บัญญัติให้การขยายระยะเวลาประกาศดังกล่าว ให้กระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี โดยทำเป็นประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดกระบี่ตามประกาศในข้อ 1 เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทส. จึงได้ยกร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2559 เพื่อขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศตามข้อ 1 ออกไปอีกสองปีนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2568
                   4. ในคราวประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565   ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกับการขยายเวลาตามร่างประกาศในข้อ 3 แล้ว
                   5. ทส. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างประกาศดังกล่าวโดยได้รับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของ สผ. และระบบกลางทางกฎหมาย และได้มีหนังสือรับฟังความคิดเห็นไปยังทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดกระบี่ รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและเปิดเผยเอกสารดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 ด้วยแล้ว พร้อมทั้ง ทส. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่   22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) โดยกรมการปกครองได้ตรวจสอบแผนที่ท้ายประกาศตามข้อ 1 แล้วพบว่า แนวเขตการปกครองที่ปรากฏในแผนที่ท้ายประกาศดังกล่าวสอดคล้องกับคำบรรยายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่ที่เกี่ยวข้องฉบับปัจจุบัน
                   สาระสำคัญของร่างประกาศ
                   ร่างประกาศในเรื่องนี้มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2559 ต่อไปอีก สองปีนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2566
 
5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี   พ.ศ. 2557
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2557 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องเร่งด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. ร่างประกาศฯ ที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการใช้บังคับประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง                  ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2557 ซึ่งจะครบกำหนดระยะเวลาการใช้บังคับในวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ต่อไปอีกสองปีนับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เพื่อให้การบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นไปอย่างต่อเนื่องในระหว่างที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และจัดทำร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ  ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. .... (ฉบับใหม่)
                   2. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้นำร่างประกาศในเรื่องนี้ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชน ตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 ตลอดจนได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) แล้ว
 
6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. ....   (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอว่า
                   1. กรมโยธาธิการและผังเมืองได้รับแจ้งจากจังหวัดสมุทรปราการว่าภายหลังการประกาศใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2557 (ซึ่งได้มีการถ่ายโอนภารกิจการวางและจัดทำผังเมืองรวมดังกล่าวให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558) ว่าได้มีนโยบายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2564) ที่มุ่งส่งเสริมให้ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยในการพัฒนาด้านการขนส่งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางหลักในการขนส่งทางอากาศในภูมิภาค เชื่อมโยงการขนส่ง                  ระบบรถ ระบบราง ระบบเรือ และระบบขนส่งทางอากาศ และเชื่อมโยงการให้บริการแก่ผู้เดินทาง นักท่องเที่ยว และ              การขนส่งในอนาคต
                   2. เพื่อสนองนโยบายการพัฒนาดังกล่าว บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) จึงมีความจำเป็นในการจัดเตรียมพื้นที่รองรับการพัฒนากิจกรรมระบบโครงสร้างพื้นฐาน และสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น           การก่อสร้างอาคารรองรับนักท่องเที่ยวและผู้โดยสาร อาคารตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้า (Certify Hub) ก่อนส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาพื้นที่เพื่อดำเนินการที่ต่อเนื่องกับกิจการท่าอากาศยานต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่ ทอท. จะใช้ดำเนินโครงการตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ซึ่งมีวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินเพื่อสงวนรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและส่งเสริมการเป็นพื้นที่เกษตรกรรมตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 ทำให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวไม่สามารถดำเนินการโครงการตามแนวทางการพัฒนาพื้นที่ของ ทอท. ได้
                   3. ต่อมาองค์การบริการส่วนจังหวัดสมุทรปราการจึงได้เสนอขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 ในประเด็นการขอแก้ไขด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) บริเวณ ก. 1 - 3 (บางส่วน) จำนวน 5 แปลง ได้แก่ โฉนดที่ดินเลขที่ 786, 772, 15, 32 และ 199 เนื้อที่ 560 - 1 - 99 ไร่ ของ ทอท. ให้เป็นที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) เพื่อดำเนินโครงการตามแนวทางการพัฒนาที่ดินและดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือต่อเนื่องกับการประกอบกิจการท่าอากาศยาน ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการผังเมือง (ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518) ครั้งที่ 7/2562 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 และครั้งที่ 9/2562 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562 ได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 ดังกล่าวแล้ว และนำไปปิดประกาศเป็นเวลาสามสิบวันปรากฏว่าไม่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียยื่นข้อคิดเห็น และได้เสนอคณะกรรมการผังเมืองเพื่อทราบ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562
                   4. ต่อมาได้มีประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่         25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติการผังเมืองดังกล่าวบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518        ทั้งฉบับ และได้แก้ไขรูปแบบการประกาศใช้บังคับกฎหมายในส่วนของผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็น   ผู้วางและจัดทำผังขึ้นใหม่ โดยได้ดำเนินการประกาศใช้บังคับเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย (เดิมประกาศใช้บังคับเป็นกฎกระทรวง) ประกอบกับมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ บัญญัติให้ผังเมืองรวมที่อยู่ระหว่างดำเนินการวางและจัดทำตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 และแก้ไขเพิ่มเติมในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2562 ใช้บังคับ การดำเนินการต่อไปสำหรับการนั้นให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการผังเมืองกำหนด และในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ผังเมืองรวมที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้จัดวางและทำผัง ซึ่งคณะกรรมการผังเมือง (ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518) ได้ให้ความเห็นชอบแล้วและอยู่ในขั้นตอนการยกร่างกฎหมาย ให้ดำเนินการออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อใช้บังคับต่อไป
                   5. มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556) ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ที่บัญญัติว่า “เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 29 แล้ว ไม่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผู้ใดยื่นคำร้องตามมาตรา 30 หรือมีแต่คณะกรรมการผังเมืองสั่งยกคำร้องดังกล่าวหรือเมื่อกรมโยธาธิการและผังเมืองไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ดำเนินการเพื่อออกประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น แล้วแต่กรณี โดยไม่ชักช้า ในการนี้ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองนำประกาศกระทรวงมหาดไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรงเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน” ทั้งนี้ในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมก่อนที่จะได้จัดทำเป็นร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการผังเมือง ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านโครงสร้างพื้นฐาน และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างประกาศ
                   แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2556 โดยแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) บริเวณ ก. 1 - 3 (บางส่วน) จำนวน 5 แปลง ได้แก่ โฉนดที่ดินเลขที่ 786, 772, 15, 32 และ 199 เนื้อที่ 560 - 1 - 99 ไร่ ของ ทอท. ให้เป็นที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) บริเวณ ส. - 1 - 1 ใบบริเวณ ก. 1 - 3 เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการหรือสาธารณประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ
พ.ศ. 2556
(ฉบับเดิม)
ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสมุทรปราการ                  พ.ศ. ....
(ฉบับแก้ไข)
แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน (ผังสี)
บริเวณ ก. 1 - 3 เพิ่ม บริเวณ ส. - 1 - 1 ในบริเวณ ก. 1 - 3
ข้อกำหนด
          ข้อ 6 การใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท  ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
ฯลฯ
          (13) ที่ดินประเภท ส. ที่กำหนดไว้เป็นสีน้ำเงินให้เป็นที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ มีวัตถุประสงค์เพื่อสถาบันราชการ กิจการของรัฐที่เกี่ยวกับการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์ จำแนกเป็นบริเวณ ส. - 1 ถึง ส. - 13
          ข้อ 6 การใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท  ท้ายกฎกระทรวงนี้ ให้เป็นไปดังต่อไปนี้
ฯลฯ
          (13) ที่ดินประเภท ส. ที่กำหนดไว้เป็นสีน้ำเงินให้เป็นที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ มีวัตถุประสงค์เพื่อสถาบันราชการ กิจการของรัฐที่เกี่ยวกับการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์ จำแนกเป็นบริเวณ ส. - 1 และ ส. - 1 - 1 และบริเวณ ส. - 2 ถึง          ส. - 13
รายการประกอบแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน
         
 
          ก. 1 - 3 ด้านเหนือ จดเส้นขนานระยะ 1,000 เมตร กับศูนย์กลางถนนสายบึงปลาเหม็น - อ่อนนุช (วัดศรีวารีน้อย) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะ 3,500 เมตร และเส้นตั้งฉากกับคลองบางน้ำจืด              ฝั่งตะวันตก
                   ด้านตะวันออก จดคลองบางน้ำจืด    ฝั่งตะวันตก
                   ด้านใต้ จดถนนสาย ง 2 ฟากเหนือ
                   ด้านตะวันตก จดคลองหนองงูเห่า           ฝั่งตะวันออก
          การใช้ประโยชน์ที่ดินในรายการ ก. 1 - 3 และ รายการ ส. 1 - 1 ให้เป็นไปตามที่กำหนดดังต่อไปนี้
          ก. 1 - 3 ด้านเหนือ จดเส้นขนานระยะ 1,000 เมตร กับศูนย์กลางถนนสายบึงปลาเหม็น - อ่อนนุช (วัดศรีวารีน้อย) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เป็นระยะ 3,500 เมตร และเส้นตั้งฉากกับคลองบางน้ำจืด              ฝั่งตะวันตก
                   ด้านตะวันออก จดคลองบางน้ำจืด    ฝั่งตะวันตก
                   ด้านใต้ จดถนนสาย ง 2 ฟากเหนือ
                   ด้านตะวันตก จดคลองหนองงูเห่า            ฝั่งตะวันออก
                   ทั้งนี้ ยกเว้นที่ดินบริเวณ ส. - 1 - 1            ที่กำหนดไว้เป็นสีน้ำเงิน (แก้ไขเพิ่มเติมในครั้งนี้)
          ส. - 1 - 1 ศูนย์บริการและสนับสนุนกิจการ             ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แก้ไขเพิ่มเติมในครั้งนี้)

 
7. เรื่อง ร่างกฎหมายการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติ ดังนี้
                   1. รับทราบการยกเลิกหลักเกณฑ์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคด้านสาธารณสุข ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
                   2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่กระทรวงการคลังเสนอ
                   1. เป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุขให้แก่หน่วยรับบริจาครวม 10 แห่ง ได้แก่ (1) สภากาชาดไทย                      (2) มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี (3) ศิริราชมูลนิธิ (4) มูลนิธิจุฬาภรณ์ (5) มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (6) มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน  ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (7) มูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช (8) มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี (9) มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า และ (10) มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กองทัพเรือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์
                   2. เพิ่มเติมหน่วยรับบริจาครวม 3 แห่ง ได้แก่ (1) มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2) มูลนิธิสนับสนุนสถาบันประสาทวิทยา และ (3) มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก
โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคสำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากรที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่    31 ธันวาคม พ.ศ. 2567
                   3. ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า หรือการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่หน่วยรับบริจาคทั้ง    13 แห่งดังกล่าว (การบริจาคที่ดิน รถยนต์ และทองคำ)
                   4. กระทรวงการคลังได้เคยเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 และวันที่    26 กรกฎาคม 2565 เพื่อรับทราบหลักเกณฑ์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคด้านสาธารณสุข รวมทั้งการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ดังกล่าว ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 และ 26 กรกฎาคม 2565 ซึ่งการยกเลิกหลักเกณฑ์ฯ ในครั้งนี้ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปัจจุบันที่มีแนวโน้มความรุนแรงของโรคดีขึ้น อัตราการรักษาตัวที่โรงพยาบาลลดน้อยลง และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคให้แก่หน่วยรับบริจาคดังกล่าว โดยให้หักลดหย่อนหรือหักรายจ่ายได้ 1  เท่า [ตามประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) ฯ] มีความเหมาะสมและเพียงพอที่จะจูงใจให้มีการบริจาคแล้ว
                   กระทรวงการคลังได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่ามาตรการทางภาษีดังกล่าวจะทำให้ภาครัฐจัดเก็บภาษีลดลงประมาณปีละ 370 ล้านบาท แต่จะเป็นการช่วยลดภาระการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในด้านสาธารณสุขได้อีกทางหนึ่ง
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   1. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ให้แก่หน่วยรับบริจาค รวม 13 แห่ง ได้แก่ (1) สภากาชาดไทย (2) มูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ฯ (3) ศิริราชมูลนิธิ (4) มูลนิธิจุฬาภรณ์ (5) มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ (6) มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์ เขตร้อนฯ (7) มูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช (8) มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี (9) มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า  (10) มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ (11) มูลนิธิโรงพยาบาลสวนดอกฯ (12) มูลนิธิสนับสนุนสถาบันประสาทวิทยา และ (13) มูลนิธิโรงพยาบาลเด็ก ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ดังนี้
                             1) บุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นสำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและ หักลดหย่อนเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนสองเท่าของเงินที่ได้จ่ายตามกรณีที่กำหนดไว้แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนนั้น
                             2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นสำหรับเงินได้เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่บริจาค ไม่ว่าจะได้จ่ายเป็นเงินหรือทรัพย์สิน แต่เมื่อรวมคำนวณกับรายจ่ายที่กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา
                   2. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่หน่วยรับบริจาคทั้ง 13 แห่งดังกล่าว (การบริจาคทรัพย์สินต่าง ๆ เช่น ที่ดิน รถยนต์ และทองคำ เป็นต้น) ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2567 โดยผู้โอนจะต้องไม่นำต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
 
8. เรื่อง ร่างกฎหมายการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                   1. จากการดำเนินการตามมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้มีผู้ใช้บริการระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และระบบ e-Withholding Tax เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
                             1.1 ผู้ประกอบการใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ในปี 2565 จำนวน 1,657 ราย เพิ่มขึ้น 405 รายหรือคิดเป็นร้อยละ 32.34 เมื่อเทียบกับปี 2564 (ข้อมูลถึงวันที่ 30 กันยายน 2565)

ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565
(1 ม.ค. - 30 ก.ย. 65)
จำนวนผู้ใช้ (ราย) 727 1,252 1,657

                             1.2 ผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายและผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายผ่านระบบ e-Withholding Tax ในปี 2565 จำนวน 2,304 ราย และ 915,997 รายตามลำดับ โดยมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายผ่านระบบ e-Withholding Tax จำนวน 8,868.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 4,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 83.63 เมื่อเทียบกับปีก่อน (ข้อมูลถึงวันที่ 30 กันยายน 2565)
 
 
 

ระบบ e-Withholding Tax ปี 2563
(31 ต.ค. - 31 ธ.ค. 63)
ปี 2564 ปี 2565
(1 ม.ค. - 30 ก.ย. 65)
ผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย (ราย) 280 1,513 2,304
ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย (ราย) 10,611 714,683 915,997
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ล้านบาท 443.84 4,856.15 8,868.61

                   2. ดังนั้น เพื่อให้การส่งเสริมการแปลงเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) และการใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และระบบ e-Withholding Tax เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีส่วนช่วยให้การจัดการภาษีเป็นเรื่องง่าย ช่วยลดต้นทุนการประกอบธุรกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ กค. พิจารณาแล้วเห็นควรขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 718) พ.ศ. 2564 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (มาตรการเดิมสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565) และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 373 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (มาตรการเดิมสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565) โดยเห็นควรปรับลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินผ่านระบบ e-Withholding Tax เหลือร้อยละ 1 (เดิมร้อยละ 2) เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการหักและนำส่งภาษีผ่านระบบ e-Withholding Tax มากขึ้น
                   3. กค. ได้พิจารณาการสูญเสียการได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีแล้ว ดังนี้
                             3.1 ประมาณการสูญเสียรายได้
                             การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้สูญเสียรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 20 ล้านบาท และการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) ไม่ทำให้สูญเสียรายได้ภาษีเนื่องจากผู้ประกอบการยังคงมีหน้าที่นำเงินได้พึงประเมินไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ต่อไป
                             3.2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                                      (1) ช่วยให้ภาคเอกชนใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และระบบ e-Withholding Tax อย่างแพร่หลายในการทำธุรกรรมระหว่างกันและการทำธุรกรรมกับภาครัฐ อันจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและการแปลงเป็นดิจิทัล (Digital Transformation) ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
                                      (2) ช่วยลดต้นทุนการจัดทำ การจัดเก็บเอกสาร รวมทั้งต้นทุนการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษีของภาคเอกชน
                                      (3) ช่วยให้ผู้ประกอบการมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นในช่วงระยะเวลาดำเนินมาตรการลดอัตราภาษีเงินได้ ปีละประมาณ 9,800 ล้านบาท (ใช้ฐานจากปี 2564 ที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 2 จะมีเม็ดเงินหมุนเวียนประมาณ 5,000 ล้านบาท และถ้าหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 1 จะมีเม็ดเงินหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเท่า) ซึ่งกระแสเงินสดที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจะเป็นเม็ดเงินที่หมุนเวียนเพิ่มมูลค่าให้แก่ระบบเศรษฐกิจต่อไป
                                      (4) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีและการให้บริการแก่ผู้เสียภาษี รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง
                   1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวน 2 เท่าของค่าใช้จ่าย ดังนี้
                             1. ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)
                             2. ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) และ
                             3. ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) และระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) จากผู้ให้บริการทั้งนี้ สำหรับรายจ่ายตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 

รายละเอียดค่าใช้จ่ายที่ได้รับยกเว้นภาษีตามร่าง พ.ร.ฎ. ที่ กค. เสนอ สิทธิประโยชน์ เงื่อนไข
1. การลงทุนในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)
[รายจ่ายที่ใช้เพื่อลงทุนในระบบการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และระบบรับข้อมูล การจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ร่วม หรือการจัดซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการจัดทำ ส่งมอบ รับ หรือเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ แต่ไม่รวมค่าซ่อมแซมอุปกรณ์]
• บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวน 2 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ได้ลงทุนทำระบบ (e-Tax Invoice & e-Receipt) • ต้องจ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568
• ทรัพย์สินที่ลงทุนต้องมีลักษณะ ดังนี้
     - ไม่เคยผ่านการใช้งานมาก่อน
     - เป็นทรัพย์สินที่นำมาหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ โดยต้องได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมใช้การได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2568
     - อยู่ในราชอาณาจักร
     - นำมาใช้งานเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 รอบระยะเวลาบัญชีติดต่อกัน นับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้มาและพร้อมใช้งาน
     - ไม่เป็นทรัพย์สินที่นำไปใช้ในกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน กฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือกฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
2. การลงทุนในระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax)
[รายจ่ายเพื่อการลงทุนในระบบการนำส่งภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ การจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ร่วม อุปกรณ์เก็บใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ หรือการจัดซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้นำส่งภาษี แต่ไม่รวมค่าซ่อมแซมอุปกรณ์]
• บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวน 2 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ได้ลงทุนทำระบบ (e-Withholding Tax)
3. การใช้บริการระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) และระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax)  จากผู้ให้บริการ
[ค่าบริการของผู้ให้บริการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือค่าบริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ค่าใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ หรือค่าใช้พื้นที่เก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ค่าบริการของผู้ให้บริการนำส่งเงินภาษี และค่าบริการใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้จ่ายไปเพื่อการนำส่งภาษีผ่านระบบ e-Withholding Tax]
• บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวน 2 เท่าของค่าใช้จ่าย (ค่าบริการของผู้ให้บริการจัดทำ ส่ง จัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และค่าบริการนำส่งเงินภาษีผ่านระบบ e-Withholding Tax) • ต้องจ่ายไปตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568

                   2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้ ขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e- Withholding Tax) ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายที่มีอัตราร้อยละ 5 อัตรา อัตราร้อยละ 3 และอัตราร้อยละ 2 เหลืออัตราร้อยละ 1 สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินผ่านระบบ e-Withholding Tax ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่  31 ธันวาคม 2568 โดยให้ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตามที่กฎกระทรวงกำหนด เช่น
 

นิติบุคคล (ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม) บุคคลธรรมดา
1. เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ เช่น ค่านายหน้า ค่าโบนัส เป็นต้น
2. ค่ากู๊ดวิลล์ (ค่าความนิยมในตัวบริษัทจะเกิดขึ้นตอนบริษัทนั้นขายกิจการ) ค่าลิขสิทธิ์
3. ค่าเช่าทรัพย์สิน ยกเว้นค่าเช่าเรือ
4. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิศวกรรม สถาปัตยกรรม
5. เงินที่ได้จากการรับเหมา
6. เงินที่ได้จากการจ้างทำของ เงินรางวัลในการประกวด การแข่งขัน ชิงโชค
1. ค่าเช่าทรัพย์สิน ยกเว้นค่าเช่าเรือ
2. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิศวกรรม สถาปัตยกรรม
3. เงินที่ได้จากการรับเหมา
4. เงินที่ได้จากการจ้างทำของ เงินรางวัลในการประกวด การแข่งขัน ชิงโชค
5. ค่าแสดงของนักแสดงสาธารณะที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย

 
9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการปรับเพิ่มจำนวนเงินสะสมของสมาชิกและเงินสมทบของรัฐบาลเข้ากองทุนการออมแห่งชาติ (ไม่เกินบัญชีเงินสมทบสูงสุดท้ายพระราชบัญญัติกองทุน  การออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554) เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการออมสำหรับสมาชิกใหม่และกระตุ้นการออมเงินอย่างต่อเนื่องสำหรับสมาชิกรายเดิม สร้างความมั่นคงในอนาคตให้สมาชิกมีเงินเพียงพอในการดำรงชีพยามชราภาพ และเป็น   การแบ่งเบาภาระการคลัง เมื่อแรงงานนอกระบบเข้าสู่วัยสูงอายุซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ดังนี้
                             1) ปรับเพิ่มการจ่ายเงินสะสมสูงสุดของสมาชิกเข้ากองทุนไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี (เดิมไม่เกิน 13,200 บาทต่อปี เพิ่มขึ้นอีก 16,800 บาท)
                             2) ปรับเพิ่มการจ่ายเงินสมทบของรัฐบาลสำหรับสมาชิกทุกช่วงอายุรวมแล้วต้องไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี ดังนี้
                                      2.1) สมาชิกอายุไม่เกิน 30 ปีบริบูรณ์ รัฐสมทบให้ร้อยละ 50 ของเงินสะสมแต่ ไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี (เดิมไม่เกิน 600 บาทต่อปี และบัญชีเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 กำหนดให้ไม่เกิน 3,000 บาทต่อปี)
                                      2.2) สมาชิกอายุเกิน 30 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 50 ปีบริบูรณ์ รัฐสมทบให้ร้อยละ 80 ของเงินสะสมแต่ไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี (เดิมไม่เกิน 960 บาทต่อปี และบัญชีเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 กำหนดให้ไม่เกิน 4,800 บาทต่อปี)
                                      2.3) สมาชิกอายุเกิน 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป รัฐสมทบให้ร้อยละ 100 ของเงินสะสมแต่ไม่เกิน 1,800 บาทต่อปี (เดิมไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี และบัญชีเงินสมทบท้ายพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 กำหนดให้ไม่เกิน 6,000 บาทต่อปี) รัฐจ่ายเงินสมทบให้มากที่สุดเนื่องจากบุคคลดังกล่าวมีระยะเวลาออมสั้นกว่าช่วงอายุอื่น เนื่องจากพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 มาตรา 30 บัญญัติให้มีสิทธิออมได้ถึงอายุ 60 ปีบริบูรณ์
                   กระทรวงการคลังได้พิจารณาการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยเห็นว่า มาตรการดังกล่าวเป็น ภาระผูกพันที่ไม่สามารถประมาณการวันสิ้นสุดโครงการได้ ประกอบกับมาตรา 32 วรรคหนึ่งและวรรคสี่  แห่งพระราชบัญญัติกองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. 2554 บัญญัติว่า “ให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบตามระดับอายุของผู้เป็นสมาชิกและเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินสะสมตามบัญชีเงินสมทบ โดยการจ่ายเงินสมทบ ให้จ่ายภายในสิ้นเดือนถัดจากเดือนที่สมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน ดังนั้น งบประมาณรายจ่ายที่เกิดขึ้นจึงขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นและจำนวนเงินที่สมาชิกนำส่ง โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบตามระดับอายุของสมาชิก โดยในปี 2566 สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติมีประมาณ 2,575,000 คน หากมีสมาชิกนำส่งเงินร้อยละ 20 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด (ประมาณ 515,000 คน) รัฐบาลจะต้องจ่ายเงินสมทบประมาณ 1,035 ล้านบาท (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม ปี 2565 รัฐบาลจ่ายเงินสมทบประมาณ 350 ล้านบาท) แต่อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวจะเป็นการจูงใจกลุ่มเป้าหมายที่เป็นแรงงานนอกระบบ (ประมาณ 19 ล้านคนทั่วประเทศ) สร้างความเป็นธรรมในการดูแลจากภาครัฐ รวมทั้งเป็นการลดภาระทางการคลังด้านการดูแลผู้สูงอายุในระยะยาวของประเทศในอนาคตเพื่อเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
 
10. เรื่อง ร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. ร่างพระราชกำหนดฯ ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ตุลาคม 2565 โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพิจารณาแล้วเห็นว่า ปัจจุบันมีการหลอกลวงให้ประชาชนโอนเงินโดยผ่านการติดต่อทางโทรศัพท์หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีผู้ที่ทำการเปิดบัญชี บัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Wallet) เพื่อนำเงินหรือทรัพย์สินมาใช้ในการกระทำความผิดอาญาจำนวนมาก โดยเฉพาะที่เกิดจากการหลอกลวงหรือฉ้อโกงประชาชนให้มีการทำธุรกรรมที่ผิดกฎหมายหรือโอนเงินให้แก่ผู้กระทำความผิด โดยเมื่อผู้กระทำความผิดได้รับเงินจากผู้เสียหายแล้วก็จะมีการโอนเงินของผู้เสียหายต่อไปยังบัญชีอื่นซึ่งเป็นของผู้ร่วมขบวนการด้วยกันต่อไปเป็นทอด ๆ อย่างรวดเร็ว หรือที่เรียกว่า “บัญชีม้า” ซึ่งจากข้อมูลสถิติการฉ้อโกงและหลอกลวงประชาชนผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ปรากฏว่า มีประชาชนถูกหลอกลวงได้รับความเดือดร้อนและสูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก โดยจากสถิติตั้งแต่ 1 มีนาคม - 31 ตุลาคม 2565 มีจำนวนคดีออนไลน์กว่า 114,000 คดี คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 22,000 ล้านบาท เฉลี่ย 800 คดีต่อวัน และมีแนวโน้มที่การกระทำความผิดดังกล่าวจะขยายตัวและแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว อันก่อให้เกิดผลร้ายและเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ สมควรกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่กำหนดเป็นการเฉพาะขึ้น เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ประกอบกับปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเร่งด่วน และเรื่องดังกล่าวเป็นอาชญากรรมที่ทำต่อประชาชนทั่วไป อันเป็นเรื่องความปลอดภัยสาธารณะ ซึ่งสร้างความเสียหายแก่ประชาชนจำนวนมาก และเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งมิจฉาชีพได้มีการพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการฉ้อโกงอยู่เสมอ เพื่อหลบเลี่ยงการป้องกันและปราบปรามของเจ้าหน้าที่ของรัฐ จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศให้ทันต่อสถานการณ์ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราเป็นพระราชกำหนดขึ้น ตามมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                   2. ร่างพระราชกำหนดฉบับนี้เป็นการกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อคุ้มครองประชาชนที่สุจริตซึ่งถูกหลอกลวงให้โอนเงินโดยผ่านการติดต่อทางโทรศัพท์หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และลงโทษผู้ที่เปิดบัญชีบัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำเงินหรือทรัพย์สินมาใช้ในการกระทำความผิดอาญา โดยกำหนดให้มีกลไก “คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี” เพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้ความเห็นชอบระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลหรือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล และกำหนดหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจมีอำนาจแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าในระหว่างสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจนั้น ผ่านระบบหรือกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่คณะกรรมการเห็นชอบ รวมทั้งให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีอำนาจแลกเปลี่ยนข้อมูลการให้บริการในระหว่างกัน โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงาน ปปง. และหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนนั้น (ปัจจุบันไม่มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ บัญชีธนาคาร แอปพลิเคชัน หรือเครื่องมือทางเทคโนโลยีอื่น ๆ ของผู้กระทำความผิดหรือที่มีพฤติกรรมต้องสงสัย ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน) โดยกำหนดบทยกเว้นให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูล ตลอดจนการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามบทบัญญัติแห่งพระราชกำหนดนี้ไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ สถาบันการเงิน หรือผู้ประกอบธุรกิจสามารถเปิดเผยข้อมูลได้ กำหนดให้สำนักงาน กสทช. จัดทำระบบฐานข้อมูลกลางเท่าที่จำเป็นเกี่ยวกับข้อมูลการลงทะเบียนผู้ใช้งาน ข้อความสั้น และข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้เครือข่ายโทรศัพท์ และผู้ให้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการสืบสวนสอบสวนและป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และกำหนดขั้นตอนในการดำเนินการเพื่อระงับการทำธุรกรรมของสถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจ โดยในกรณีที่สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจพบเหตุอันควรสงสัยเอง หรือได้รับแจ้งจากเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจดำเนินคดีอาญา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือจากระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือจากผู้เสียหาย ว่าบัญชีหรือกระเป๋าอิเล็กทรอนิกส์ใดอาจถูกใช้ในการกระทำธุรกรรมเข้าข่ายเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจสามารถระงับการทำธุรกรรมและแจ้งให้สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบธุรกิจที่รับโอนระงับการทำธุรกรรม รวมถึงระงับการทำธุรกรรมต่อไปเป็นทอด ๆ ไว้ทันทีเป็นการชั่วคราว เพื่อให้มีการตรวจสอบและพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป              อันเป็นการป้องกัน ระงับ ยับยั้งการก่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้ทันท่วงที รวมทั้งกำหนดบทลงโทษสำหรับการที่บุคคลใดเปิดบัญชีบัตรอิเล็กทรอนิกส์ หรือประเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้อง และกรณียินยอมให้บุคคลอื่นใช้หรือยืมใช้ซิมโทรศัพท์ของตนในประการที่รู้หรือควรจะรู้ว่าอาจจะนำไปใช้ในทางทุจริตหรือผิดกฎหมาย และบทลงโทษสำหรับการเป็นธุระจัดหา โฆษณา หรือไขข่าวโดยประการใด ๆ เพื่อให้มีการซื้อขายบัญชี บัตรอิเล็กทรอนิกส์ กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือซิมโทรศัพท์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดการกระทำความ ผิดอาญา
 

เศรษฐกิจ-สังคม

11. เรื่อง ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 และเอกสารประกอบ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 และเอกสารประกอบ เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
                   สาระสำคัญ
                   “เอกสารระเบียบวาระธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 สำหรับรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร” เป็นเอกสารที่มีรายละเอียดของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3                 พ.ศ. 2565 และเอกสารประกอบเพิ่มเติม ซึ่งจัดทำขึ้นตามข้อแนะนำของสภาผู้ราษฎร เพื่อแสดงถึงเป้าหมายและ              แนวทางการขับเคลื่อนสาระสำคัญรายหมวดของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 ความเป็นมาและกระบวนการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 รวมถึงคณะผู้จัดทำ และประเด็นคำถาม-คำตอบจากข้ออภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการประชุมเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2565 เพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีความเข้าใจถึงกระบวนการจัดทำและการขับเคลื่อน รวมถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับธรรมนูญฯ ได้ดียิ่งขึ้น โดยไม่ได้มีการแก้ไขเนื้อหาสาระของ ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3  พ.ศ. 2565 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 แต่อย่างใด โดยมีรายละเอียดของเอกสาร ดังนี้
                   1. ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นฉบับที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบแล้ว เมื่อ 20 ธันวาคม 2565 ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่ 1 สถานการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อระบบสุขภาพ ในระยะ 5 ปี ส่วนที่ 2 กรอบแนวคิด ปรัชญาและเป้าหมายร่วมของระบบสุขภาพในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 และ ส่วนที่ 3 มาตรการสำคัญสู่เป้าหมายระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องที่ระบุไว้ใน มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 รวมถึงยังได้ระบุ  แนวทางการวัดผลสำเร็จของระบบสุขภาพที่พึงประสงค์ และนิยามศัพท์เอาไว้ด้วย
                   2. เป้าหมายและแนวทางการขับเคลื่อนสาระสำคัญรายหมวดของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นรายละเอียดของการนำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 ในข้อ 1 สู่การปฏิบัติ ซึ่งจะใช้เป็นส่วนแนบอยู่กับสาระสำคัญทั้ง 3 ส่วนของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 ที่ได้มีการระบุสถานการณ์ ปัญหา/ประเด็นท้าทาย เป้าหมายและมาตรการเพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่เป้าหมายระบบสุขภาพที่เป็นธรรม รวมทั้งแนวทางในการวัดผลสำเร็จในระยะ 5 ปี ของแต่ละสาระสำคัญรายหมวดตามที่ระบุใน มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ไว้อย่างชัดเจน สำหรับนำไปใช้อ้างอิงเพื่อการปฏิบัติต่อไป
                   3. ความเป็นมาและกระบวนการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 เพื่อให้ทราบถึงที่มาและกระบวนการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 โดยกลไกคณะกรรมการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 คณะอนุกรรมการและคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจากหลากหลายภาคส่วน และการทำงานทางวิชาการบนข้อมูลเชิงประจักษ์
                   4. คำถามและคำตอบ (Q&A) เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3  พ.ศ. 2565 ที่รวบรวมมาจากประเด็นที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายและตั้งคำถามในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร วันที่ 29 ธันวาคม 2565 เพื่อให้มีความเข้าใจถึงกระบวนการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 ได้ดียิ่งขึ้น
                   5. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน และรายชื่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทราบถึงรายนามของผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดทำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3  พ.ศ. 2565 ที่อยู่ในกลไกต่าง ๆ พร้อมทั้งรายชื่อองค์กรที่เกี่ยวข้องอย่างสำคัญในการนำธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 ไปใช้ในการอ้างอิงในกระบวนการทำงานเพื่อการขับเคลื่อนธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2565 ร่วมกัน
 
12. เรื่อง รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 ตามมติคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.)1 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนในเชิงนโยบายต่อไป ทั้งนี้  ให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงแรงงานรับความเห็นของกระทรวงการคลังและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   พม. รายงานว่า กผส. ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565 ได้มีมติรับทราบรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. สถานการณ์ผู้สูงอายุ

ประเด็น สาระสำคัญ
สถานการณ์โลก ในปี 2564 โลกมีจำนวนประชากรรวมทั้งหมด 7,875 ล้านคน โดยมีผู้สูงอายุ* 1,082 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.7 ของประชากรทั้งหมด
สถานการณ์ในภูมิภาค ทวีปยุโรปมีประชากรสูงอายุรวมทั้งหมด 195 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 26.1                    ของประชากรทวีปยุโรปทั้งหมด (748 ล้านคน) และทวีปอเมริกาเหนือมีประชากร            สูงอายุรวมทั้งหมด 87 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 23.5 ของประชากรทวีปอเมริกาเหนือทั้งหมด (371 ล้านคน)  ดังนั้น 2 ทวีปดังกล่าวจึงเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์* และเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลกได้กลายเป็นสังคมสูงอายุแล้ว* ยกเว้นทวีปแอฟริกาซึ่งเป็นภูมิภาคเดียวที่ยังไม่เป็นสังคมสูงอายุ (มีอัตราผู้สูงอายุร้อยละ 5.6)
อาเซียนมีประชากรสูงอายุรวมทั้งหมด 76 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11.4 ของประชากรอาเซียนทั้งหมด (671 ล้านคน) โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศ ที่เป็นสังคมสูงอายุแล้ว ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเมียนมา (ที่ยังไม่เป็นสังคมสูงอายุ ได้แก่ ลาว กัมพูชา และฟิลิปปินส์)
สถานการณ์ในประเทศไทย - ในปี 2564 ไทยมีประชากรรวมทั้งหมด 66.7 ล้านคน โดยมีผู้สูงอายุ จำนวน                    12.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.8 ของประชากรไทยทั้งหมด แบ่งตามกลุ่มช่วงอายุได้ ดังนี้
ช่วงอายุ จำนวน (ล้านคน)
ผู้สูงอายุวัยต้น (อายุ 60-69 ปี) 7.6
ผู้สูงอายุวัยกลาง (อายุ 70-79 ปี) 3.5
ผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) 1.4
ทั้งนี้ ปี 2564 เป็นปีแรกที่มีจำนวนคนตาย (563,650 คน) มากกว่าจำนวนเด็กเกิด(544,570 คน) ทำให้อัตราประชากรติดลบเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้
ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรไทยจะมีจำนวนลดลง โดยจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้นจาก 12.5 ล้านคน ในปี 2564 เป็น 20.5 ล้านคน ในปี 2583  คิดเป็นร้อยละ 31.4 ของประชากรทั้งหมด
จำนวนผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา จำนวน 2,196 คน [อยู่ภายใต้การดูแลขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 910 คน และภายใต้การดูแลของ พม. จำนวน 1,286 คน]
สถานะสุขภาพของผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม จำนวน 6.8 แสนคน และผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะติดเตียง จำนวน 46,779 คน

                   2. สถานการณ์ผู้สูงอายุกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ปี 2564 ผู้สูงอายุติดเชื้อ จำนวน 182,950 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 ของประชากรติดเชื้อทั้งหมด (จำนวน 1.67 ล้านราย) มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 14,597 ราย คิดเป็นร้อยละ 69.8 ของประชากรติดเชื้อและเสียชีวิตทั้งหมด (จำนวน 20,917 ราย) ทั้งนี้             มีผู้สูงอายุได้รับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 8.22 ล้านคน เข็มที่ 2 จำนวน 7.38 ล้านคน และเข็มที่ 3 จำนวน               0.70 ล้านคน2
                   3. การปรับตัวและการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุในช่วงโควิด-19
                             3.1 การเข้าถึงมาตรการความช่วยเหลือจากภาครัฐของผู้สูงอายุ3 รัฐบาลได้ประกาศใช้มาตรการความช่วยเหลือผ่านโครงการต่าง ๆ เพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชนและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19  ได้มีโครงการสำคัญที่มีผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งของผู้ได้รับประโยชน์ เช่น โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษและโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โดยร้อยละ 99.3 ของผู้สูงอายุ รับรู้/รับทราบมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐ แต่ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุ (ร้อยละ 32.2) ประสบปัญหาในการลงทะเบียนผ่านระบบ อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้สิทธิตามมาตรการที่ภาครัฐกำหนด
                             3.2 การใช้งานอินเทอร์เน็ต พบว่า มากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 54.6) ของผู้สูงอายุไม่ใช้อินเทอร์เน็ต โดยมีสาเหตุมาจาก (5 อันดับแรก)4 ดังนี้
                  

เหตุผล ร้อยละ
ไม่มีพื้นฐานความรู้/ใช้งานไม่เป็น 42.0
ยาก/ซับซ้อน/ไม่เข้าใจ 17.7
ไม่ต้องการใช้งาน 8.3
ไม่มีอุปกรณ์ 7.6
ไม่สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ 7.5

 
                             3.3 ความเป็นธรรมทางดิจิทัลสำหรับทุกวัย ในช่วงโควิด-19 มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดและเป็นเครื่องมือสำคัญที่ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันทั้งการทำงานและการเรียนหนังสือ รวมถึงทำให้ผู้คนสามารถเชื่อมต่อกับบุคคลรอบข้างและสังคมได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น แต่ขณะเดียวกันกลับเป็นสังคมที่มีการแบ่งแยกทางดิจิทัล (digital divide)5 โดยในปี 2564 มีประชากรไทยประมาณร้อยละ 15 ที่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มจะเชื่อมต่อทางดิจิทัลน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับประชากรวัยอื่น ดังนั้น เพื่อสนับสนุนความเป็นธรรมทางดิจิทัลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยจึงเกิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่อาจเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันความเป็นธรรมทางดิจิทัล ดังนี้
 
 

ประเด็น รายละเอียด เช่น
1. ข้อเสนอแนะเชิงเนื้อหา
          1.1 ด้านการจัดการพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับสังคมสูงอายุ
 
 
         
 
ลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการให้บริการอินเทอร์เน็ตให้รอบคลุมทุกพื้นที่
- จัดสวัสดิการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ต
- เพิ่มทักษะและการรู้เท่าทันการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อออนไลน์
- ส่งสริมการออกแบบและผลิตอุปกรณ์ นวัตกรรม แพลตฟอร์มและแอปพลิเคชันที่เป็นมิตรมีการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน ที่ใช้งานสะดวก ไม่ยุ่งยาก
          1.2 ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงของผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยี พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทางไกล เพื่อเพิ่มการเข้าถึงเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน ลดระยะเวลา และลดความแออัดในการเข้ารับบริการของผู้สูงอายุ
- จัดตั้งศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจออนไลน์เพื่อสนับสนุนการสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ด้วยการทำธุรกิจหรือทำงานรับจ้างอิสระผ่านช่องทางออนไลน์
- สร้างแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ที่เป็นช่องทางการตลาดให้แก่ผู้สูงอายุ
2. ข้อเสนอแนะเชิงกลไก
 
- จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานที่รวมผู้รับผิดชอบหลายภาคส่วนเข้าด้วยกันโดยรวมผู้สูงอายุเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกลไกการตัดสินใจ ทั้งในระดับชาติ ภูมิภาคและท้องถิ่น
- พัฒนากรอบนโยบายแบบบูรณาการที่ครอบคลุมประชากรทุกช่วงวัยโดยคำนึงถึงบริบทของนโยบายและเนื้อหาของแนวปฏิบัติหรือโครงการที่ผ่านมา
กำหนดกรอบกฎหมายและระเบียบข้อบังคับในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความชัดเจน รวมถึงการบังคับใช้ต่อเรื่องที่ผิดกฎหมาย
จัดหาแหล่งเงินงบประมาณที่เพียงพอและยั่งยืนต่อการดำเนินนโยบายและโครงการ โดยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- พัฒนาระบบกำลังคนด้านเทคโนโลยีดิจิทัลให้เพียงพอและเหมาะสม
- สนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสำหรับคนทุกวัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ
- จัดทำกลไกการติดตามและประเมินผลให้ชัดเจนและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

 
                   4. การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุในไทย
                             4.1 มาตรการช่วยเหลือผู้สูงอายุและมาตรการเพิ่มเติมในช่วงสถานการณ์โควิด-19  ที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงการคลัง (กค.) พม. กระทรวงแรงงาน (รง.) สธ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)  และกรุงเทพมหานคร (กทม. ) ได้มีการดำเนินงานส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านมาตรการต่าง ๆ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ดังนี้

ประเด็น ผลการดำเนินงาน เช่น
1. ด้านเศรษฐกิจและการเงิน จัดทำโครงการต่อเนื่องจากปี 2563 จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 (2) โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ (3) โครงการคนละครึ่ง และ (4) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้      - ให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยการผ่อนชำระหนี้ให้ผู้สูงอายุ จำนวน 2,769 ราย เป็นเงินประมาณ 44 ล้านบาท
- ขับเคลื่อนโครงการสร้างเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานนอกระบบในสังคมสูงวัยและโครงการส่งเสริมสวัสดิการเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเกษียณอย่างมีคุณภาพและมีการพัฒนาทักษะอาชีพให้แก่ผู้ประกอบการอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 13,191 คน
2. ด้านการดูแลจิตใจ
 
จัดกิจกรรมดูแลด้านสุขภาพจิตโดยอาศัยเครือข่ายโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต) และศูนย์สุขภาพชุมชน เช่น (1) ตรวจเช็คสุขภาพใจ เป็นการประเมินสภาพจิตใจรูปแบบออนไลน์ และ (2) พัฒนาระบบการดูแลสังคมจิตใจผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต ดำเนินการในพื้นที่ รพ.สต. จำนวน 7,352 แห่ง โดยพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ดูแลผู้สูงอายุให้ช่วยเหลือดูแลสังคมและจิตใจผู้สูงอายุ
จัดทำโครงการ “โทรหาเพราะห่วงใย สายด่วน... เรามีเรา” เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จำนวน 3,978 ราย และได้ส่งต่อความห่วงใยสถานดูแลผู้สูงอายุเอกชน จำนวน 190 แห่ง
3. ด้านสวัสดิการสังคม
และการส่งเสริมการ
เรียนรู้ตลอดชีวิต

 
ปรับปรุงสถานที่สาธารณะให้เหมาะสมและปลอดภัย จำนวน 20 แห่ง รวมทั้ง จัดทำสื่อเทคนิคการดูแลบ้านผู้สูงอายุให้ห่างไกลโควิค-19
- จัดทำคู่มือบ้านปลอดภัยกับชีวิตวิถีใหม่ เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ
- สนับสนุนการจัดทำสื่อความรู้เพื่อการใช้ชีวิตในช่วงโควิด-19 ให้ผู้สูงอายุเรียนผ่านเว็บไซต์และสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ โดยจัดทำหลักสูตร เช่น หลักสูตร   “เกษียณคลาส” มีหัวข้อเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น                การปรับตัวและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม และการรับรู้คุณค่าแห่งชีวิต
4. ด้านการป้องกันและคัดกรอง - ให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น (อสบ.)6 ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 และจัดอบรมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จำนวน 4,405 คน ให้ได้รับการเสริมสร้างความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุในสถานการณ์โควิด-19 และมีผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม จำนวน 66,075 คน
จัดเตรียมบุคลากรและห้องปฏิบัติการ จำนวน 225 แห่งทั่วประเทศ ให้พร้อมตรวจวินิจฉัยเชื้อได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ได้อบรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ให้เป็น อสม. นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนเพื่อช่วยเหลือประชาชนในการตรวจ ATK ด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง
5. ด้านการดูแลรักษา สนับสนุนการดำเนินงานศูนย์ประสานงานการแยกกักตัวในชุมชนในพื้นที่ กทม.  จำนวน 103 แห่ง และในเขตสุขภาพที่ 1-12 อีก 509 แห่ง ตั้งอยู่ในพื้นที่วัด โรงเรียน
โรงยิม หอประชุมขนาดใหญ่ และแคมป์คนงานก่อสร้าง และจัดตั้งศูนย์พักคอยและสถานที่กักตัวกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 
                             4.2 มาตรการทั่วไปที่เกี่ยวกับผู้สูงอายุ โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พม. รง.  กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และ สธ. มีผลการดำเนินงาน เช่น (1) ประเมินสถานะสุขภาพของผู้สูงอายุในไทย7 พร้อมจัดทำแผนการส่งเสริมสุขภาพดีให้ผู้สูงอายุและพัฒนาโปรแกรม Long Term Care (3C) (รูปแบบสมุดบันทึกสุขภาพดิจิทัลเพื่อดูแลผู้สูงอายุ)  (2) ให้การกู้ยืมเงินทุนจากกองทุนผู้สูงอายุในปีงบประมาณ 2564 แก่ผู้สูงอายุ จำนวน  8,158 คน เป็นเงิน 231 ล้านบาท และสนับสนุนอุดหนุนให้ชมรม องค์กร และภาคีเครือข่ายด้านสูงอายุ จำนวน   108 องค์กร เป็นเงิน 17 ล้านบาท ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุและ (3) ส่งเสริมการมีงานทำให้แก่ผู้สูงอายุ จำนวน 70,527 คน ด้วยการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน และส่งเสริมความร่วมมือเครือข่ายเพื่อการมีอาชีพ รวมถึงการพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยมีเป้าหมายให้ผู้สูงอายุทำงานได้อย่างต่อเนื่อง พึ่งตนเองได้ และเป็นกำลังร่วมพัฒนาระบบเศรษฐกิจ
                   5. สถานการณ์เด่นในรอบปี 2564 เช่น
                             5.1 บังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสถานประกอบกิจการดูแลผู้สูงอายุ 3 ฉบับ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 โดยให้มีผลบังคับใช้ใน 180 วัน คือตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม 2564 เป็นต้นไป) เพื่อเป็นกฎหมายลูกของพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 ได้แก่ (1) กฎกระทรวงกำหนดให้กิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงเป็นกิจการอื่นในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2563 (2) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานด้านสถานที่ ความปลอดภัย และการให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง พ.ศ. 2563 และ (3) กฎกระทรวงกำหนด             ค่าธรรมเนียมและการชำระค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (ฉบับที่ 2)   พ.ศ. 2563
                             5.2 นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติที่ได้ทำสำเร็จในปี 2564 เช่น นวัตกรรมกายภาพเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพในผู้สูงอายุและผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง การพัฒนานวัตกรรมที่ช่วยเหลือการดำรงชีวิตด้านการมองเห็นสำหรับผู้สูงอายุและ ผู้ที่สายตาเลือนราง และอุปกรณ์กระดกข้อเท้าและยกขาอัตโนมัติ
                   6. งานวิจัยเพื่อสังคมผู้สูงอายุ
                   งานวิจัยจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ (1) การศึกษาผลกระทบของการระบาดของโควิด-19 ต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของผู้สูงอายุในประเทศไทย (2) การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการยอมรับการทำหนังสือแสดงเจตนาเพื่อการรักษาทางการแพทย์ในผู้สูงอายุไทยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (3) โครงการสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับความเข้าใจเรื่องโรคการปฏิบัติตัวและการได้รับวัคซีนโควิด-19 ของประชาชน กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้สูงอายุและ  ผู้พิการทางการเห็น และ (4) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้สูงอายุและข้อเสนอเพื่อการเสริมสร้างภาวะพฤฒิพลัง8 ของผู้สูงอายุไทย
                   7. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

ประเด็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
1. ปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรไทยที่มีประชากรวัยแรงงานลดลงและสัดส่วนประชากรสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต - เสนอให้มีการทบทวนนิยาม “การเริ่มนับอายุของผู้สูงอายุ” ให้เพิ่มมากกว่า 60 ปี และขยายเวลาในการ “เกษียณอายุ” จากการทำงาน (ทั้งภาครัฐและเอกชน) โดยอาจจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายบางฉบับ
- พิจารณาขยายเวลารับสิทธิประโยชน์กองทุนประกันสังคมกรณีชราภาพ                    ในภาคเอกชน จากเดิมกำหนดไว้เริ่มที่อายุ 55 ปี ขยายเป็นเริ่มที่อายุ 60 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีระยะเวลาการทำงานในระบบเพิ่มมากขึ้น
- พิจารณานำเข้าแรงงานที่มีทักษะและแรงงานกึ่งทักษะจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นมิตรประเทศกับประเทศไทยอย่างเป็นระบบ
2. การเตรียมการ
ของสังคมไทยเพื่อรองรับ
คลื่นสึนามิผู้สูงอายุ9
- หนุนเสริมและพัฒนาทักษะของประชากรทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะทักษะของประชากรวัยแรงงาน วัยก่อนสูงอายุ และกลุ่มประชากรสูงอายุ ภายใต้แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต
- ส่งเสริม อปท. ชุมชน ภาคธุรกิจเอกชนและสถานประกอบการให้มีการ             จ้างงานผู้สูงอายุในทุกพื้นที่
- สร้างแรงจูงใจการทำงานให้กับแรงงานสูงอายุด้วยการออกแบบการทำงานที่ยืดหยุ่น เหมาะสมกับความต้องการและเงื่อนไขตามวัยของแรงงานและขยายสิทธิประโยชน์ให้กับนายจ้างที่จ้างงานผู้สูงอายุ
- พัฒนาการใช้เทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของประชากร                  วัยแรงงานและกลุ่มผู้สูงอายุ
3. การลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับผู้สูงอายุ - เร่งรัดการให้ข้อมูลและความรู้ที่ถูกต้องกับผู้สูงอายุและญาติผู้ดูแล โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์และ/หรือผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับวัคซีนโควิด-19
ควรมีระบบการจัดการข่าวปลอมในเรื่องโควิด-19 และการฉีดวัคซีนในสื่อสังคมออนไลน์
พัฒนาระบบการส่งยาทางไปรษณีย์ การรับยาและเวชภัณฑ์สำหรับโรค             ไม่ติดต่อเรื้อรังที่ร้านขายยา และ รพ.สต./สำนักงานพัฒนาเร่งรัดชนบทรวมทั้งระบบการรักษาทางไกลให้มีความต่อเนื่อง ครอบคลุมผู้สูงอายุที่อยู่ในทุกสิทธิระบบประกันสุขภาพ
พิจารณาเพิ่มกำลังคน พัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะของอาสาสมัคร
และนักบริบาลชุมชนที่ให้บริการในระบบการดูแลระยะยาว
- เปิดโอกาสให้รัฐวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มธุรกิจไม่แสวงผลกำไรเข้ามาช่วยเหลือภาครัฐและชุมชนในการให้บริการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง (ติดบ้าน                   ติดเตียง) โดยมีค่าตอบแทน
4. การสนับสนุนให้ผู้สูงอายุอยู่ในถิ่นที่อยู่ที่โดยจัดให้มีบริการที่ช่วยส่งเสริมศักยภาพการใช้ชีวิตอย่างเป็นอิสระและ                  มีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ สนับสนุนแนวคิด “ให้ผู้สูงอายุคงอยู่ในถิ่นที่อยู่เดิม ในครอบครัว ชุมชนและสิ่งแวดล้อมที่ตนคุ้นชิน”
- ผลักดัน อปท. องค์กรสาธารณประโยชน์ สถานศึกษา ภาคธุรกิจเอกชนขนาดใหญ่ที่ต้องการสร้างสาธารณประโยชน์ให้ทำหน้าที่ปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและการจัดบริการในระดับชุมชนสำหรับผู้สูงอายุ
- ส่งเสริมให้ อปท. และชุมชน ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และจัดบริการสาธารณะโดยเฉพาะการขนส่งสาธารณะที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตนอกบ้านของผู้สูงอายุ                  - ยกระดับมาตรฐานของที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะดำเนินการโดยรัฐหรือเอกชนสำหรับผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องไปอยู่ในที่อยู่อาศัยใหม่
5. การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุ              มีหลักประกันรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน - ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และวางแผนการออมเงินและใช้จ่ายอย่างประหยัดเพื่อเป็นเงินออมไว้ใช้จ่ายยามชราภาพ
ปรับแก้กฏหมายการออมแห่งชาติให้มีความยืดหยุ่นและให้สมาชิก/แรงงานทุกระบบมีการออมอย่างต่อเนื่อง
มุ่งพัฒนาระบบบำนาญให้ครอบคลุมผู้สูงอายุอย่างถ้วนหน้า รวมทั้งปรับปรุงระบบเบี้ยยังชีพให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ/ภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้น
6. การสนับสนุนความเป็นธรรมทางดิจิทัลสำหรับผู้สูงอายุ จัดสวัสดิการพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับสังคมสูงอายุ เช่น จัดให้มี WiFi ฟรีครอบคลุมในทุกพื้นที่
- พัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงของผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีผ่านการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุทางไกล การจัดตั้งศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจออนไลน์เพื่อสนับสนุนการสร้างอาชีพและเพิ่มรายได้ด้วยการทำธุรกิจทางออนไลน์และการสร้างแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์เพื่อเป็นช่องทางการตลาดให้แก่ผู้สูงอายุ
- สร้างระบบสนับสนุนที่หนุนเสริมการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและประชากรทุกกลุ่มวัย โดยอาจใช้กลไกอาสาสมัครในการช่วยเหลือเกื้อกูลให้ผู้สูงอายุมีการเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ 
- เสริมทักษะด้านความรอบรู้เทคโนโลยีสารสนเทศของผู้สูงอายุ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กค. พม. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) รง. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สธ. กทม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 
หมายเหตุ : *องค์การสหประชาชาติ ให้นิยามว่า (1) ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกินร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นได้ก้าวสู่สังคมสูงอายุ (2) ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป  เพิ่มเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ และ (3) ประเทศใดมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าประเทศนั้นเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด โดยไทยได้นิยามคำว่า “ผู้สูงอายุ” ไว้ในพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติมว่า “ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป”
______________
1กรมกิจการผู้สูงอายุ ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กผส. ได้แจ้งเวียนให้ กผส. พิจารณารายงานฯ (ตามหนังสือ กผส.  ที่ 0402/ว 8554 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2565) ซึ่ง กผส. ได้ให้ความเห็นชอบรายงานฯ แล้ว
2ข้อมูลสะสมโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์-31 ธันวาคม 2564
3ข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือเยียวยาของภาครัฐจากสถานการณ์โควิด-19 พ.ศ. 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.)
4ข้อมูลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน โดย สสช.
5การแบ่งแยกทางดิจิทัล (digital divide) คือ ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ ซึ่งเกิดจากการขาดความสนใจ หรือความกลัวในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ขัดขวางหรือกลายเป็นอุปสรรคไม่ให้ผู้ทดลองใช้ตั้งแต่แรก การขาดทักษะดิจิทัล การขาดโอกาสในการเข้าถึงเทคโนโลยี รวมถึงความแตกต่างของลักษณะประชากร เช่น รายได้และระดับการศึกษา
6อสบ. มีหน้าที่ช่วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุที่ต้องการการดูแล (ภาวะพึ่งพิง) ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของบุคลากรวิชาชีพด้านสุขภาพในพื้นที่นั้น ๆ โดยดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ เช่น การอาบน้ำ การแต่งตัว การรับประทานอาหาร และการเคลื่อนย้ายอย่างพยุงเดิน  ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพเบื้องต้นกับทางครอบครัวผู้สูงอายุ รวมถึงการประสานงานขอความช่วยเหลือกับหน่วยงานต่าง ๆ และประเมินปัญหาที่เกิดขึ้นในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้องทันท่วงที
7ผลการประเมินพบว่า มีผู้สูงอายุติดสังคม จำนวน 7.4 ล้านคน ผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 207,024 คน และผู้สูงอายุติดเตียง จำนวน 46,779 คน
8ภาวะพฤฒิพลัง (Active Aging) คือ การกระทำตามกระบวนการที่นำไปสู่การมีสุขภาพที่ดี การมีส่วนร่วมในสังคม และการมีหลักประกันที่มั่นคงในการที่จะเสริมสร้างชีวิตเมื่อสูงวัย เช่น ผู้สูงวัยที่สามารถช่วยเหลือ สอน แนะนำผู้อื่นได้ รวมถึงถ่ายทอดข้อมูล   ต่าง ๆ  เพื่อเพิ่มคุณค่าทางสังคม
คลื่นสึนามิผู้สูงอายุเกิดจากอัตราการเกิดน้อยและคนมีอายุยืนยาวขึ้น โดยประชากรที่เกิดปี 2506-2526 ในช่วง 20 ปีนั้น
อัตราการเกิดของประชากรมากกว่า 1 ล้านคนต่อปี ซึ่งคนจำนวนเหล่านี้กำลังจะกลายเป็นผู้สูงอายุที่กำลังจะเข้ามาในโครงสร้างอายุประชากรไทย ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้การสูงวัยในไทยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
 
13. เรื่อง รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้
                   1. รับทราบผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                   2.เห็นชอบข้อเสนอแนะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณธรรมในการดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปประกอบการพิจารณาปรับปรุง พัฒนา และยกระดับ  ตลอดจนเตรียมความพร้อมรับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยให้กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในระดับนโยบายเกี่ยวกับตัวชี้วัดบังคับของผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาร่วมกับสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนก่อนดำเนินการต่อไป รวมทั้งขอให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาด้วย
                   3. ให้ส่งความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงาน กพ. และสำนักงาน กพร. ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                   คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) รายงานว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ดำเนินการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และได้ประกาศผลการประเมินฯ ให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมินฯ และสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการประเมินเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 133/2565 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 แล้ว มีมติเห็นชอบให้เสนอรายงานผลการประเมิน ITA ต่อคณะรัฐมนตรี สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                   1. การประเมิน ITA เป็นเครื่องมือหนึ่งของการยกระดับและพัฒนาหน่วยงานภาครัฐตามแผนแม่บท
ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561-2580) โดยในปี 2561-2565 ได้กำหนดค่าเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จะต้องมีคะแนน 85คะแนนขึ้นไป ซึ่งการประเมินฯ ถือเป็นมาตรการป้องกันการทุจริตเชิงรุกที่หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศจะต้องดำเนินการ ที่ผ่านมาพบว่า หลายหน่วยงานนำผลการประเมิน ไปเป็นกรอบในการพัฒนาและยกระดับการบริการจัดการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการให้บริการและการอำนวยความสะดวกต่อประชาชนให้เข้าถึงการบริการสาธารณะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                   2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565  มีหน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมิน จำนวน  8,303 หน่วยงานทั่วประเทศ ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ องค์กรอิสระ และ อปท. มีประชาชนที่เคยติดต่อรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการประเมิน ITA จำนวน 1,300,132 คน ทั้งนี้ การประเมิน ITA ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ยังคงใช้หลักเกณฑ์ในการประเมินเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา โดยมีการจัดเก็บข้อมูลจาก 3 ส่วน ดังนี้

แหล่งข้อมูล ตัวชี้วัด คะแนน/ระดับผลการประเมิน
บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน) ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ เป็นการประเมิน  การปฏิบัติงานโดยยึดหลักตามมาตรฐาน มีความโปร่งใสเป็นไปขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ เป็นการประเมิน
การใช้จ่ายเงินงบประมาณของหน่วยงานอย่างคุ้มค่าตามวัตถุประสงค์
ตัวขี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ เป็นการประเมินการใช้อำนาจของผู้บังคับบัญชาที่เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ เป็นการประเมินพฤติกรรมของบุคลากรในการนำทรัพย์สินของราชการไปใช้  การขอยืมทรัพย์สินของราชการ ซึ่งหน่วยงานจะต้องมีการจัดทำแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการที่ถูกต้อง เพื่อให้บุคลากรนำไปปฏิบัติ
ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต เป็นการประเมินเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของผู้บริหารสูงสุดในการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง และประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาการทุจริตของหน่วยงานที่จะต้องให้มีการทุจริตน้อยลงหรือไม่มีเลย
คะแนน ระดับ
95.00-100 AA
85.00-94.99 A
75.00-84.99 B
65.00-74.99 C
55.00-64.99 D
55.00-54.99 E
0-49.99 F
ผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานภาครัฐ (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก) ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน เป็นการประเมินเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวมเป็นหลัก  ไม่มีการเลือกปฏิบัติ
ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร เป็นการประเมินเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานในเรื่องต่าง ๆ ต่อสาธารณชนผ่านช่องทางที่หลากหลาย และเข้าถึงได้ง่าย รวมทั้งจัดให้มีช่องทางรับความคิดเห็นของผู้รับบริการ ผู้มาติดต่อ หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงระบบการทำงาน เป็นการประเมินเกี่ยวกับการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานของหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้
 
การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล เป็นการประเมินการเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ของหน่วยงาน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐาน การบริหารงาน การบริหารเงินงบประมาณ การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล และการส่งเสริมความโปร่งใสในหน่วยงานบนเว็บไซต์ของหน่วยงานเพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบ
ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต เป็นการประเมินการเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานบนเว็บไซต์ของหน่วยงานให้สาธารณชนได้รับทราบเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต
 

 
                             3. สรุปการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                                      3.1 ผลการประเมิน ITA ในภาพรวมระดับประเทศ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 87.57 คะแนน (อยู่ในระดับผลการประเมิน ระดับ A) สูงกว่าปีที่ผ่านมา 6.32 คะแนน มีจำนวนหน่วยงานภาครัฐที่มีผลการประเมิน ITA ผ่านค่าเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ จำนวน 5,855 หน่วยงาน หรือคิดเป็นร้อยละ 70.52 (จาก 8,303 หน่วยงาน) (สูงกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 20.57) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลการประเมินฯ ยังไม่บรรลุค่าเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ (ร้อยละ 80) แต่ผลการประเมินฯ สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของหน่วยงานภาครัฐจำนวนมากที่มีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงชัดเจนขึ้น
                                      3.2 ผลการประเมิน ITA ตามตัวชี้วัด พบว่า มีตัวชี้วัดที่มีค่าคะแนนผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ เพิ่มขึ้นเป็น 9 ตัวชี้วัด จากทั้งหมด 10 ตัวชี้วัด เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานภาครัฐมีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดด เช่น ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่มีคะแนน ITA อยู่ที่ 94.45 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มีคะแนน ITA อยู่ที่ 92.44 และตัวชี้วัดที่ 9การเปิดเผยข้อมูลมีคะแนน ITA อยู่ที่ 86.70 เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มีคะแนน ITA อยู่ที่ 77.31 
                                      3.3 ผลการประเมิน ITA ตามประเภทหน่วยงาน แบ่งออกเป็น 17 ประเภท โดยมีหน่วยงานภาครัฐ 10 ประเภท ที่มีหน่วยงานภายในมากกว่าร้อยละ 80 ที่มีค่าคะแนน ITA ผ่านตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ส่วนใหญ่เป็นหน่วยงานภาครัฐในส่วนกลางและหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่ เช่น กรมหรือเทียบเท่า จังหวัด และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ขณะที่ อปท. [ประเภทเทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)] ซึ่งเป็นประเภทหน่วยงานภาครัฐที่มีจำนวนหน่วยงานเข้าร่วมมากที่สุดในการประเมิน ITA แม้ว่าจะยังมีหน่วยงานรวมในแต่ละประเภทไม่ผ่านค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ แต่ก็พบว่ามีพัฒนาการสูงมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาและใกล้บรรลุ              ค่าเป้าหมายแล้ว สรุปได้ ดังนี้

ประเภทหน่วยงาน จำนวนหน่วยงาน คะแนนเฉลี่ย ปีงบประมาณ พ.ศ. พัฒนาการ ร้อยละที่ผ่าน*
2565 2564
  1. หน่วยงานในสังกัดรัฐสภา
3 95.55 92.38 3.17 100.00
  1. อบจ.
76 93.29 92.18 1.11 92.11
  1. จังหวัด
76 93.01 92.43 0.57 96.05
  1. รัฐวิสาหกิจ
51 92.85 93.31 -0.46 90.20
  1. องค์กรอัยการ
1 92.40 95.82 -3.42 100.00
  1. องค์การมหาชน
57 91.90 93.24 -1.34 92.98
  1. หน่วยงานของรัฐอื่น ๆ
18 90.93 93.27 -2.34 83.33
  1. กรมหรือเทียบเท่า
146 90.48 92.07 -1.59 86.30
  1. องค์กรศาล
3 90.06 93.62 -3.56 100.00
  1. กองทุน
7 89.54 94.12 -4.59 71.43
  1. เทศบาลเมือง
195 89.30 85.32  3.98 77.95
  1. เทศบาลนคร
30 88.69 91.25 -2.56 76.67
  1. สถาบันอุดมศึกษา
86 88.04 89.88 -1.84 76.74
  1. เทศบาลตำบล
2,247 87.80 79.48 8.32 71.43
  1. อบต.
5,300 87.04 80.72 6.32 68.09
  1. องค์กรอิสระ
5 86.81 91.10 -4.29 80.00
  1. อปท. รูปแบบพิเศษ
2 83.13 84.44 -1.31 50.00

หมายเหตุ * แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ฯ กำหนดค่าเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จะต้องมีคะแนน 85 คะแนนขึ้นไป
                             ทั้งนี้ มีหน่วยงานที่มีผลการประเมินสูงสุดในประเภทต่าง ๆ เช่น (1) ประเภทหน่วยงานในสังกัดรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 99.46 (2) ประเภทกรมหรือเทียบเท่า กรมการปกครอง มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 99.55 (3) ประเภทเทศบาลเมือง เทศบาลเมืองพล จังหวัดขอนแก่น มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 99.86 (4) ประเภทจังหวัด จังหวัดอ่างทอง มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 99.99 และ (5) ประเภท อบต.  อบต.โคกสะอาด จังหวัดกาพสินธุ์ และ อบต.บ้านพลับ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 100
                   4. การอภิปรายผลการประเมินฯ เช่น (1) รูปแบบของปัญหาการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะยังคงเดิม เช่น เปิดเผยข้อมูลผิดพลาดไม่ครบองค์ประกอบ แต่ขนาดของปัญหาได้ลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนหน่วยงานภาครัฐที่มีระดับผลการประเมินตั้งแต่ระดับ C ลงมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เหลือเพียง 965 หน่วยงาน (จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีจำนวน 2,483 หน่วยงาน) (2) แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุค่าเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ แม้ว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หน่วยงานภาครัฐ ส่วนใหญ่ (6,643 หน่วยงาน) จะมีพัฒนาการในด้านการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐและการดำเนินงานป้องกันการทุจริตแต่หน่วยงานภาครัฐอีก 1,660 หน่วยงาน ยังไม่สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดจำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐฯ โดยเฉพาะการจัดทำมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานก่อนเป็นเบื้องต้น และ (3) การกำหนดค่าเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะมีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 85 ของหน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินต้องมีคะแนน ITA เฉลี่ย 85 คะแนนขึ้นไป การกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาหน่วยงานควรมุ่งเน้นกลุ่มที่มีผลการประเมินระดับ B C และ D เป็นหลัก ซึ่งมีจำนวนรวมกันกว่าร้อยละ 28.66 ของหน่วยงานทั้งหมด
                   5. คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและยกระดับคุณธรรมในการดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐเพื่อให้หน่วยงานภาครัฐนำไปประกอบการพิจารณาปรับปรุง พัฒนา และยกระดับ ตลอดจนเตรียมความพร้อมรับการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่
                             5.1 ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติ เช่น หน่วยงานภาครัฐที่มีผลการประเมิน ITA ต่ำกว่า   85 คะแนน (ระดับ B-F) ควรมุ่งเน้นการยกระดับผลการประเมิน ITA ในตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล และตัวชี้วัด  ที่ 10 การป้องกันการทุจริต และหน่วยงานที่มีผลการประเมิน ITA 85 คะแนนขึ้นไป (ระดับ A-AA) ควรต่อยอดหรือรักษาระดับคุณภาพการดำเนินงานและการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ พัฒนาขั้นตอนและนวัตกรรมการให้บริการสาธารณะที่มีความสะดวกและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น
                             5.2 ข้อเสนอแนะระดับนโยบาย โดยมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับหน่วยงานภาครัฐประเภท อปท. เนื่องจากมีหน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินรวมทั้งหมด 7,851 หน่วยงาน และมีหน่วยงานที่ไม่ผ่าน  ค่าเป้าหมายการประเมินที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทฯ เป็นจำนวนมาก (2,390 หน่วยงาน) เมื่อเปรียบเทียบกับหน่วยงานภาครัฐประเภทอื่น สรุปได้ ดังนี้

ประเด็นข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
5.2.1 ควรกำหนดให้ผลการประเมิน ITA เฉลี่ยของหน่วยงานภาครัฐทุกแห่งในพื้นที่จังหวัด (เช่น จังหวัด อำเภอ อปท.) ที่ผ่านค่าเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ (85 คะแนนขึ้นไป) เป็นตัวชี้วัดบังคับของผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้หน่วยงานในจังหวัดสามารถบรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนดได้เพิ่มขึ้น กระทรวงมหาดไทย (มท.)
สำนักงาน ก.พ.
และสำนักงาน ก.พ.ร.
5.2.2 ควรกำชับให้การขับเคลื่อน สนับสนุน และส่งเสริมความร่วมมือในการประเมิน ITA ของจังหวัดและ อปท. ภายในจังหวัด เป็นวาระเร่งด่วนของคณะกรรมการผลักดันการดำเนินงานตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ มท.
5.2.3 ผู้บริหาร อปท. ทุกแห่ง ควรสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและมาตรฐานการประเมินที่กำหนด มท. (อปท.)

 
14. เรื่อง  การนำเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
                   1. เห็นชอบเอกสารนำเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
                   2. เห็นชอบให้ประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกลงนามในเอกสารนำเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกต่อศูนย์มรดกโลก  กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
                   3. กรณีที่ศูนย์มรดกโลกหรือองค์กรที่ปรึกษามีข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะให้ดำเนินการปรับแก้ไขหรือเพิ่มเติมเอกสารการเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก โดยไม่กระทบต่อสาระสำคัญของเอกสารฯ ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เสนอต่อคณะกรรมการฯ พิจารณา และดำเนินการต่อไป
                    สาระสำคัญ
                   สาระสำคัญของเอกสารการนำเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก สรุปได้ ดังนี้
                   1. ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วย ภาคีสมาชิก ผู้จัดเตรียมการเสนอ ชื่อ ที่อยู่ สถาบัน/หน่วยงาน วันที่เสนอ อีเมล์ โทรสาร และโทรศัพท์
                   2. ข้อมูลแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย ชื่อของพื้นที่ จังหวัด พิกัดทางภูมิศาสตร์ โดยอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านเผือ จังหวัดอุดรธานี
                   3. ข้อมูลคุณลักษณะ : พื้นที่นำเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมแบบต่อเนื่อง ครอบคลุมพื้นที่ จำนวน 585.955 เฮกตาร์ หรือ 3,662 ไร่ 89 ตารางวา ประกอบด้วยแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม จำนวน 2 พื้นที่ ประกอบด้วยเข้าด้วยกัน ได้แก่
                             (1) อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
                             (2) แหล่งวัฒนธรรมสีมา วัดพระพุทธบาทบัวบาน
                   4. เหตุผลที่สมควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
                      อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ถือว่าเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่พบหลักฐานการเข้ามาใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ โดยปรากฏวัฒนธรรมโดดเด่นที่เรียกว่า “สีมา” ในสมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 ในพื้นที่นี้ คือ การปักสีมาล้อมรอบหลักหินจนกลายเป็นลานศักดิ์สิทธิ์ หรือ ลานมณฑลพิธี ที่ปรากฏเพียงแห่งเดียวและยังคงสภาพสมบูรณ์ครบถ้วนที่สุดในประเทศไทยและในเอเชียอาคเนย์
                   5. เกณฑ์คุณความโดดเด่นอันเป็นสากลที่นำเสนอเพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก จำนวน 2 ข้อ ดังนี้
                       เกณฑ์ข้อที่ 3 เป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ยอดเยี่ยมหรือหาที่เสมอเหมือนไม่ได้ของประเพณีวัฒนธรรม หรือวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่หรือสูญหายไปแล้ว
                         อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท และแหล่งวัฒนธรรมสีมาวัดพระพุทธบาทบัวบาน เป็นตัวแทนของการเป็นพื้นที่ศักด์สิทธิ์ และเป็นที่ตั้งของวัฒนธรรมสีมาที่พบกระจายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยที่พบมากกว่า 100 แห่ง แต่เป็นแหล่งเดียวในไทย และทวีปเอเชียที่ตั้งอยู่บนภูเขาเพียงแห่งเดียว โดยแหล่งวัฒนธรรมสีมาเป็นการผสมผสานความเชื่อเรื่องพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์กับการกำหนดขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนาแบบเถรวาท ในการใช้หลักหิน (สีมา) ปักล้อมรอบเพิงหิน และที่สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
                       ลักษณะของแหล่งตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นภูเขาหินทรายพบหินธรรมชาติที่มีรูปแบบพิเศษเกิดจากการสึกกร่อนตามธรรมชาติเป็นลักษณะของเพิงหิน ในรูปแบบต่าง ๆ ตั้งกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก และปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญที่แสดงถึงการเข้ามาใช้พื้นที่ของคนตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์เป็นภาพเขียนสีตามเพิงหินมากกว่า 47 แห่ง มีอายุมากกว่า 3,000 ปี โดยเชื่อว่าภาพเขียนสีเหล่านี้สร้างขึ้นเนื่องในพิธีกรรมความเชื่อ และมีความสัมพันธ์กับหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ อาทิ ขวานหินขัด ลูกปัดหินอาเกต และเศษภาชนะดินเผาเนื้อเครื่องดิน ที่พบอยู่ตามที่ราบริมลำน้ำโมงเชิงเขาภูพานด้านทิศตะวันออก จนเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ อิทธิพลความเชื่อทางพุทธศาสนาในวัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16) ได้เข้ามาสู่พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและก่อให้เกิดแหล่งวัฒนธรรมสีมาทั่วทั้งภูมิภาคแต่เฉพาะที่แหล่งมรดกวัฒนธรรมแห่งนี้ที่พบการผสมผสานความเชื่อเรื่องหลักหินศักดิ์สิทธิ์กับการกำหนดขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์โดยการปักหลักหิน (สีมา) ล้อมรอบเพิงหินศักดิ์สิทธิ์ โดยพบทั้งที่เป็นแท่งหินธรรมชาติจนพัฒนามาเป็นทรงสี่เหลี่ยมมุมมนและรูปใบสีมา และต่อมาเริ่มมีการสลักลวดลายบนใบสีมา
และยังคงพบหลักฐานการใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่องสืบเนื่องมาจนถึงในปัจจุบัน
                       เกณฑ์ข้อที่ 5 เป็นตัวอย่างลักษณะอันเด่นชัด หรือของขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรมวิธีการก่อสร้างหรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่มีความเปราะบางด้วยตัวเอง หรือเสื่อมสลายได้ง่าย เพราะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่ไม่สามารถกลับคืนดังเดิมได้หรือการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ                                            
                             การเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่ตั้งของแหล่งวัฒนธรรมสีมาที่พบอยู่ในบริเวณแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมทั้ง 2 พื้นที่ ที่มีมาตั้งแต่ 3,000 ปีมาแล้ว บนเทือกเขาภูพานนับเป็นเอกลักษณ์ ความโดดเด่นที่พบเพียงแห่งเดียวในไทย ที่มีการผสมผสานคติความเชื่อกับธรรมชาติและดัดแปลงเพิงหินในลักษณะต่าง ๆ กัน ให้สามารถใช้เป็นที่พักหรือพื้นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพุทธควบคู่ไปกับคติความเชื่อในวัฒนธรรมสีมาเพียงแห่งเดียวในไทยและทวีปเอเชีย เช่น โบราณสถานคอกม้าน้อยและโบราณสถานคอกม้าท้าวบารส เป็นต้น
                   6. ความครบถ้วนสมบูรณ์
                      พื้นที่นำเสนอเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญและเป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงคุณค่าความโดดเด่น อันเป็นสากลของวัฒนธรรมสีมาที่แสดงถึงความครบถ้วนสมบูรณ์และความเป็นของแท้ดั้งเดิมมากที่สุด มีความหลากหลายของลักษณะหลักสีมาแต่ละยุคสมัย และเป็นแหล่งมรดกวัฒนธรรมสีมาเพียงแห่งเดียวที่พบอยู่บนภูเขา พบร่องรอยของการสกัดตกแต่งเพิงหินตามธรรมชาติให้มีรูปร่างลักษณะและประโยชน์ใช้สอย โดยนอกจากการกำหนดขอบเขตของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมความเชื่อในพุทธศาสนาที่พบเพียงแห่งเดียวในไทยและทวีปเอเชีย และยังพบหลักฐานการเข้ามาใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่องตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน
                   7. ความเป็นของแท้ดั้งเดิม
                   พื้นที่นำเสนอเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความเป็นของแท้ดั้งเดิมสูงมากถึงแม้จะผ่านช่วงเวลามานับพันปี ทั้งสถานที่ตั้ง รูปแบบ และวัสดุที่ใช้ ถึงแม้ว่าจะได้รับความเสียหายบ้างจากความพยายามจะเพิ่มเติมรูปเคารพเข้าไปในสถานที่ประกอบพิธีกรรม สภาพแวดล้อมของแหล่งฯ ตั้งอยู่บนภูเขาและแวดล้อมไปป่าเบญจพรรณ ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากหน่ายงานของรัฐ ได้แก่ กรมป่าไม้และกรมศิลปากร
                   8. การปกป้องคุ้มครองและบริหารจัดการ
                   พื้นที่นำเสนอได้รับการปกป้องคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตฺถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535  โดยมีกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นหน่วยงานกำกับรับผิดชอบ แต่เนื่องจากตั้งอยู่ภายในบริเวณเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าเขือน้ำ) สภาพแวดล้อมโดยรอบแหล่งฯ รวมถึงพื้นที่กันชนจึงได้รับการปกป้องคุ้มครองโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 โดยมีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานกำกับรับผิดชอบ
                   พื้นที่โดยรอบนอกเขตกันชนได้รับการกำหนดเป็นที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม  ตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2560 ซึ่งช่วยปกป้องคุ้มครอง แหล่งมรดกวัฒนธรรมอีกชั้นหนึ่ง
                   อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ได้จัดทำแผนแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์ ภูพระบาท พ.ศ. 2565-2569 ซึ่งได้ผ่านการทำประชาพิจารณ์และการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนในพื้นที่เรียบร้อยแล้ว โดยแผนดังกล่าวจะครอบคลุมการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม แผนบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว การจัดทำแผนชุมชนด้านการจัดการสิ่งแวล้อม และการจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นในด้านการอนุรักษ์ เป็นต้น
                   ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการกำหนดรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ระหว่างกรมศิลปากร กรมป่าไม้ จังหวัดอุดรธานี อำเภอบ้านผือ องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพาน และเทศบาลตำบลกลางใหญ่
                   เอกสารนำเสนออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท เพื่อขอรับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม (Nomination Dossier) เป็นการดำเนินการตามพันธกรณีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก และตามแนวทางการอนุวัตตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention) ซึ่งก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ จึงจำเป็นต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการ และเอกสารฯ จะต้องจัดส่งให้ศูนย์มรดกโลก  กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
 
15. เรื่อง  รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนพฤศจิกายน และ 11 เดือนแรกของปี 2565
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนพฤศจิกายน และ 11 เดือนแรกของปี 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ  ดังนี้ 
                    สาระสำคัญ

 

  1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนพฤศจิกายน และ 11 เดือนแรกของปี 2565

                        การส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีมูลค่า 22,308 ล้านเหรียญสหรัฐ (846,191 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 6.0 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัยหดตัวร้อยละ 2.0 การส่งออกไทยได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะชะลอตัว ผลของอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง และ    การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลก ส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค รวมทั้งการใช้มาตรการโควิดเป็นศูนย์ในตลาดจีน กระทบต่อภาคการผลิตโดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อของโลก (PMI) ต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่อง 3 เดือน เช่นเดียวกับหลายประเทศในเอเชียที่อัตราการส่งออกชะลอลง อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยหนุนจากค่าระวางเรือที่ปรับลดลงต่อเนื่องในเส้นทางสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งช่วยลดต้นทุนของผู้ส่งออก รวมทั้ง การออกมาตรการกระตุ้นการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ทั้งนี้ การส่งออกของไทย 11 เดือนแรกยังขยายตัวได้ที่ร้อยละ 7.6 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 6.5
                   มูลค่าการค้ารวม
                   มูลค่าการค้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เดือนพฤศจิกายน 2565 การส่งออก มีมูลค่า    22,308 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.0 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,650.3  ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 5.6 ดุลการค้า ขาดดุล 1,342.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-พฤศจิกายน) การส่งออก มีมูลค่า 265,349.1  ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.6 การนำเข้า มีมูลค่า 280,438.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 16.3 ดุลการค้า ขาดดุล 15,088.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
                   มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนพฤศจิกายน 2565 การส่งออก มีมูลค่า 846,191 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 7.7 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 907,143 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ    20.6 ดุลการค้า ขาดดุล 60,952 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-พฤศจิกายน)  การส่งออก มีมูลค่า 9,167,993 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.4 การนำเข้า มีมูลค่า 9,823,872 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 28.0 ดุลการค้า ขาดดุล 655,879 ล้านบาท
                   การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
                   มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร หดตัวร้อยละ 2.0 แต่ยังมีสินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 20.9 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย) ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัว ร้อยละ ๗.๕ (ขยายตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 13.0 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เมียนมา อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 43.4  (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ลาว กัมพูชา จีน และพิลิปปินส์) เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 7.1  (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม เมียนมา สิงคโปร์ มาเลเซีย และพิลิปปินส์) ไอศกรีม ขยายตัวร้อยละ 7.4 (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา ฟิลิปปินส์ ออสตรเลีย อินเดีย และ   อินโดนีเซีย) สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ข้าว หดตัวร้อยละ 4.7 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ แอฟริกาใต้ แองโกลา เยเมน และโมซัมบิก) ยางพารา หดตัวร้อยละ 34.2 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ อินเดีย และบราซิล) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ 5.8 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น  มาเลเซีย อินเดีย และอิตาลี) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 7.8 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น กัมพูชา แคนาคา และสิงคโปร์) สิ่งปรุงรสอาหาร หดตัวร้อยละ 15.0 (หดตัวในตลาดฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ  เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และสหราชอาณาจักร) ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 10.8
                   การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
                   มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 5.1 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 5.5 (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และซาอุดีอาระเบีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 8.0 (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย อิตาลี และเบลเยียม) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 5.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย อินเดีย เวียดนาม และไต้หวัน)  เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 91.0 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ  เนเธอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมียนมา และสาธารณรัฐเช็ก) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 73.1 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย จีน และสิงคโปร์) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 17.9 (ขยายตัวในตลาดเบลเยียม ญี่ปุ่น สหรัฐฯ บราซิล และออสเตรเลีย) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 27.5 (หดตัวในตลาดจีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หดตัว    ร้อยละ 20.9 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์      หดตัวร้อยละ 16.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เวียดนาม และเกาหลีใต้) ทั้งนี้ 11 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 6.5
                   ตลาดส่งออกสำคัญ
                   การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่หดตัว ตามอุปสงค์จากต่างประเทศที่ลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งสอดคล้องกับการชะลอตัวของกิจกรรมทางการผลิตของประเทศคู่ค้าที่สำคัญในทิศทางชะลอตัว ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 5.5 โดยหดตัวในตลาดจีน ร้อยละ   9.9ญี่ปุ่น ร้อยละ 4.6 อาเซียน (5) ร้อยละ 15.5 CLMV ร้อยละ 0.3 ขณะที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 1.2 และร้อยละ 0.4 ตามลำดับ (2) ตลาดรอง หดตัวร้อยละ 5.1 โดยหดตัวในเอเชียใต้ ร้อยละ  16.0 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 3.4 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 20.5 รัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 53.1 ขณะที่ตะวันออกกลาง และลาตินอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 13.8 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ (3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 53.8 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ หดตัวร้อยละ 52.3
                   2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
                   การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) การผลักดันการค้าออนไลน์ใน               ตลาดจีน โดยกระทรวงพาณิชย์ของไทยและจีน ได้ร่วมลงนาม MOU เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน ซึ่งจะทำให้ไทยสามารถส่งเสริมสินค้าคุณภาพสูงในช่องทางอีคอมเมิร์ช และขยายตลาดเพื่อเพิ่มฐานลูกค้าในจีนได้อย่างเต็มที่ (2) การผลักดันการแก้ไขกฎหมายประมง ไม่ให้เกินหลักเกณฑ์การทำประมงของไอยูยู (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing: IUU) เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมประมงของไทยเพื่อลดปัญหาการเลิกกิจการประมง และลดการนำเข้าสัตว์น้ำจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเสนอให้แก้ไขบทกำหนดโทษที่มีความรุนแรงเกินไป และแก้ไขกฎหมายแรงงานให้สอดคล้องกับความเป็นจริงเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกในอนาคต และ (3) การเตรียมความพร้อมกับผู้ส่งออกเพื่อรับมือกับมาตรการทางการค้ารูปแบบใหม่ โดยเฉพาะการออกมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) ของสหภาพยุโรป ซึ่งอาจส่งผลต่อผู้ส่งออกไฮโดรเจน เคมีภัณฑ์ และพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้ประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อเตรียมความพร้อมระบบบริหารจัดการให้อยู่ในระดับสากลและเป็นที่ยอมรับต่อไปในอนาคต
                   แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า ภาวะเศรษฐกิจโลก และการบริโภคที่ชะลอตัว จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกในช่วงโค้งสุดท้ายของปี ประกอบกับภาวะความ      ตึงเครียดของความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะมาตรการกีดกันจีนไม่ให้เข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง อาจส่งผลกระทบด้านอุปทานการผลิตสินค้าในบางอุตสาหกรรมที่ไทยต้องพึ่งพาจีน อย่างไรก็ดี จากการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพของธนาคารกลางในหลายประเทศ ราคาพลังงานโลกที่มีแนวโน้มลดลง และค่าขนส่งทางเรือระหว่างประเทศที่เริ่มปรับเข้าสู่สมดุล ส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อและราคาสินค้าเริ่มชะลอตัวลง อาจเป็นปัจจัยหนุนที่ช่วยให้กำลังซื้อของประเทศคู่ค้าปรับตัวดีขึ้นในอนาคตประกอบกับรัฐบาลได้ส่งเสริมให้มีการส่งออกผ่านช่องทางรถไฟจีน-ลาว มากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการค้าให้เติบโตไปพร้อมกับการเปิดประเทศของจีนตั้งแต่ช่วงต้นปี 2566  เป็นต้นไป
 
16. เรื่อง  สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนธันวาคม 2565
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนธันวาคม 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
                    สาระสำคัญ
                   1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนธันวาคม 2565 ดังนี้
                            ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนธันวาคม 2565 เท่ากับ 107.86 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 101.86 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้นร้อยละ 5.89 (YoY) ตามราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน และอาหารที่ยังสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับฐานราคาในเดือนธันวาคม 2564 ไม่สูงมากนัก และอุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 0.06 (MoM) โดยลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และผลไม้สด เป็นสำคัญ
                            ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2565 สูงขึ้นร้อยละ 6.08 (AoA) ซึ่งใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ และเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อต่างประเทศที่เริ่มชะลอตัวลง (ข้อมูลล่าสุดเดือนพฤศจิกายน 2565) พบว่า อัตราเงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับที่ดีกว่าหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิตาลี เม็กซิโก และอินเดีย รวมถึงประเทศในอาเซียน ลาว ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
                                    เงินเฟ้อที่สูงขึ้นร้อยละ 5.89 (YoY) ในเดือนนี้ สาเหตุสำคัญมาจากสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.87 (YoY) ตามราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานที่สูงขึ้นร้อยละ 14.62 โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม ตลอดจนค่าโดยสารสาธารณะที่ปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก) ยาสีฟัน แชมพูสระผม และค่าแต่งผมชาย-สตรี ราคาสูงขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญอีกหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ โฟมล้างหน้า แป้งผัดหน้า ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ และค่าสมาชิกเคเบิลทีวี ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 8.87 (YoY) โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูปที่สูงขึ้นร้อยละ 9.66 อาทิ ข้าวราดแกง อาหารเช้า ก๋วยเตี๋ยว และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ราคาปรับเพิ่มขึ้นตามราคาวัตถุดิบและต้นทุนการผลิต รวมทั้ง เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ และข้าวสาร ราคายังสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ตามความต้องการในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์เศรษฐกิจ ขณะที่ผักและผลไม้บางประเภทราคาลดลง อาทิ มะเขือเทศ กะหล่ำปลี พริกสด ผักกาดขาว มะขามเปียก มะพร้าวแห้ง/ขูด กล้วยน้ำว้า และทุเรียน
เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 3.23 (YoY) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้นร้อยละ 3.22 (YoY) ตามต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูง
ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลงร้อยละ 0.06 (MoM) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดยสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 0.30 ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า (เสื้อและกางเกงบุรุษ) ตู้เย็น น้ำยารีดผ้า น้ำยาปรับผ้านุ่ม และผงซักฟอก สำหรับสินค้าสำคัญในกลุ่มอาหารที่ราคาปรับลดลง อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด ไก่ย่าง ไข่ไก่ ส้มเขียวหวาน ชมพู่ ฝรั่ง กล้วยน้ำว้า มะขามเปียก และน้ำมันพืช ขณะที่สินค้าอื่น ๆ ราคาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาทิ ข้าวสาร ผักสดบางชนิด (ผักชี ผักบุ้ง ผักคะน้า) กาแฟผงสำเร็จรูป อาหารบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน และค่าโดยสารสาธารณะ
อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2565 สูงขึ้นร้อยละ 6.08 เป็นระดับที่ใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 5.5 - 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) ปัจจัยสำคัญมาจากราคาพลังงานที่สูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายสำคัญควบคุมปริมาณการผลิต และปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้อุปทานการผลิตพลังงานตึงตัวมากขึ้น และส่งผลมายังราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มในประเทศ ทั้งนี้ ราคาพลังงานที่สูงขึ้นดังกล่าว รวมถึงการปรับขึ้นค่าจ้าง อัตราดอกเบี้ย และเงินบาทที่อ่อนค่า ยังเป็นต้นทุนที่แฝงอยู่เกือบทุกขั้นตอนการผลิต ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการหลายประเภททยอยปรับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โรคระบาดในสุกร ปัญหาอุทกภัย อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ฐานราคาในปี 2564 ที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น มีส่วนทำให้เงินเฟ้อปี 2565 อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับลดลงในช่วงปลายปี สถานการณ์อุทกภัยที่คลี่คลาย และมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ส่งผลให้เงินเฟ้อในช่วงปลายปีชะลอตัว
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนธันวาคม 2565 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 50.4 จากระดับ 49.9 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ระดับสูงที่สุดและเป็นการปรับขึ้นมาอยู่ในช่วงเชื่อมั่นครั้งแรกในรอบ 43 เดือน (นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2562) ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นการปรับเพิ่มขึ้นทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน และในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) สาเหตุสำคัญมาจากเศรษฐกิจในประเทศ  ที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว การส่งออก ราคาสินค้าเกษตรสำคัญยังอยู่ในเกณฑ์ดี และมาตรการของภาครัฐที่ส่งผลให้ภาคประชาชนและภาคธุรกิจมีรายได้ และกำลังซื้อมากขึ้น รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจไทยมากขึ้น
2. แนวโน้มเงินเฟ้อ
                           แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 คาดว่าจะชะลอตัวลงจากปี 2565 อย่างชัดเจน เนื่องจากราคาสินค้าส่วนใหญ่เริ่มทรงตัวและบางรายการปรับลดลงหลังจากที่ทยอยปรับขึ้นตามต้นทุนแล้วในปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบ มีแนวโน้มชะลอตัวตามอุปสงค์โลกที่ลดลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ ฐานราคาในปี 2565 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อค่อนข้างสูง มาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ และการกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการอย่างเป็นธรรมตลอดห่วงโซ่การผลิต มีส่วนทำให้อัตราเงินเฟ้อปี 2566 ขยายตัวไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม  การปรับขึ้นค่าไฟฟ้า การปรับขึ้นค่าจ้างทั้งระบบ และเงินบาทที่ยังผันผวน ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิต รวมถึงอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาสินค้าและบริการปรับสูงขึ้น ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อปี 2566 ได้แก่ ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก จากความเสี่ยงของปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ สภาพอากาศที่แปรปรวน การแพร่ระบาดของโควิด-19 และโรคระบาดในสัตว์ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
      ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2566 อยู่ระหว่างร้อยละ 2.0 – 3.0 ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจของไทย และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง
 
17. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไป รวมทั้งสิ้น 5,945,161,000 บาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายที่สำนักงาน กกต. ดำเนินการเอง       จำนวน 5,104,546,750 บาท และเป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่ร่วมดำเนินการ 10 หน่วยงาน   จำนวน 840,614,250 บาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (สำนักงาน กกต.) เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน กกต. และหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่ร่วมดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลางฯ ต่อไป  ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สำนักงาน กกต. รายงานว่า
                   เนื่องจากอายุของสภาผู้แทนราษฎรจะสิ้นสุดลงในวันที่ 23 มีนาคม 2566 คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ ตามมาตรา 102 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการการเลือกตั้งในการประชุม ครั้งที่ 98/2565 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 มีมติเห็นชอบให้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล โดยขอรับการสนับสนุนจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 5,945,161,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้ (1) ค่าใช้จ่ายที่สำนักงาน กกต. ดำเนินการเอง                 จำนวน 5,104,546,750 บาท และ (2) ค่าใช้จ่ายของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่ร่วมดำเนินการ 10 หน่วยงาน จำนวน 840,614,250 บาท สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้

ประเภทรายจ่าย งบประมาณ (บาท)
1) รายการค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินการโดยสำนักงาน กกต. 5,104,546,750
          1.1) ภารกิจจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2,905,719,800
          1.2) ภารกิจตรวจสอบการปฏิบัติงานเลือกตั้งและการกระทำผิดกฎหมายโดยผู้ตรวจการเลือกตั้ง 383,163,000
          1.3) ภารกิจตรวจติดตามการเลือกตั้ง ให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการเลือกตั้งทั้งในและนอกราชอาณาจักร โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งและคณะ 55,855,000
          1.4) ภารกิจเตรียมความพร้อมบุคลากร วิทยากร และเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกระดับ 396,166,000
 
          1.5) ภารกิจการสนับสนุนการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 502,193,640
          1.6) ภารกิจส่งเสริมการมีส่วนร่วม รณรงค์เผยแพร่และประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 518,121,250
          1.7) ภารกิจในการควบคุม สอดส่อง สืบสวนสอบสวน ไต่สวน วินิจฉัยชี้ขาดและการดำเนินคดีในศาล 80,442,900
          1.8) ภารกิจตรวจติดตาม นิเทศ และประเมินผลการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 6,335,600
          1.9) ภารกิจอำนวยการและสนับสนุนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 48,140,360
          1.10) ภารกิจสังเกตการณ์การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งต่างประเทศและหรือองค์กรระหว่างประเทศในราชอาณาจักร 3,840,000
          1.11) ภารกิจรับรายงานจากผู้ตรวจการเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการตรวจติดตามการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 5,569,200
          1.12) ภารกิจจัดการเลือกตั้งกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งให้ลงคะแนน/เลือกตั้งใหม่/แทนตำแหน่งที่ว่าง 200,000,000
2) รายการค่าใช้จ่ายในการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดำเนินการโดยหน่วยงานสนับสนุน 840,614,250
          2.1) ภารกิจการลงทะเบียนขอใช้สิทธิก่อนวันเลือกตั้งและอื่น ๆ การจัดทำบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง 190,542,250
          2.2) ภารกิจการเตรียมความพร้อมเพื่อสนับสนุนการควบคุม และจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยสำนักบริหารการปกครองท้องที่กรมการปกครอง 12,265,000
          2.3) ภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 104,500,000
          2.4) ภารกิจสนับสนุนการควบคุมและจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนอกราชอาณาจักรโดยกระทรวงการต่างประเทศ 125,000,000
          2.5) ภารกิจสนับสนุนศูนย์ประสานงานการเลือกตั้งและสำนักงานเขตโดยกรุงเทพมหานคร 48,617,000
          2.6) ภารกิจสนับสนุนการรณรงค์เผยแพร่ความรู้การเลือกตั้งโดยกระทรวงศึกษาธิการ 18,362,500
          2.7) ภารกิจสนับสนุนการดูแลและเฝ้าระวังไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ โดยการไฟฟ้านครหลวง 3,000,000
          2.8) ภารกิจสนับสนุนการดูแลและเฝ้าระวังไฟฟ้าในส่วนภูมิภาคโดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 28,486,400
          2.9) ภารกิจสื่อสารและโทรคมนาคม โดยบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) 49,841,100
          2.10) ภารกิจขนส่งบัตรเลือกตั้ง และวัสดุอุปกรณ์เลือกตั้ง หนังสือแจ้งเจ้าบ้านและอื่น ๆ โดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด 260,000,000
รวม 5,945,161,000

 
18. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าชายเลนเพื่อการพัฒนาฟื้นฟูให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านทะเลน้อย ถนนทะเลน้อย – ท่ากะพัก ถนนทะเลน้อย – ท่าตาเทือง และท่าตาเทือง – สะพานรักษ์แสม มีความคาบเกี่ยวตำบลวังหว้า ตำบลเนินฆ้อ ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอให้ยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีที่ห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ดังนี้
                   (1) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 (เรื่อง การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน ประเทศไทย)
                   (2) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 (เรื่อง รายงานการศึกษาสถานสภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ
                   (3) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน)
                   (4) มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2543 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) เพื่อใช้พื้นที่ป่าชายเลน (จำนวน 24 ไร่ 3 งาน   27.5 ตารางวา) ในการพัฒนาฟื้นฟูให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านทะเลน้อย ถนนทะเลน้อย – ท่ากะพัก ถนนทะเลน้อย – ท่าตาเทือง และท่าตาเมือง – สะพานรักษ์แสม มีความคาบเกี่ยวตำบลวังหว้า ตำบลเนินฆ้อ ตำบลทางเกวียน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง (แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศฯ)
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (15 ธันวาคม 2530, 23 กรกฎาคม 2534, 22 สิงหาคม 2543 และ 17 ตุลาคม 2543) ที่ห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลวังหว้า (อบต. วังหว้า) มีแนวคิดในการพัฒนา/ก่อสร้างถนนและสะพานเพื่อเชื่อมโยงเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการพาดผ่านพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว (ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนประแสและป่าพังราด) จำนวน 24 ไร่ 3 งาน 27.5 ตารางวา แบ่งเป็นการปรับปรุง/ก่อสร้างถนนและสะพานในพื้นที่ 2 จุด (ทั้ง 2 จุด ไม่ได้เชื่อมต่อกัน) ได้แก่ จุดที่ 1 ถนนทะเลน้อย – ท่ากะพัก ระยะทางประมาณ 1,209 เมตร (ผ่านพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 7 ไร่ 2 งาน 22.5 ตารางวา) และจุดที่ 2 ทางเชื่อมท่าตาเทือง – สะพานรักษ์แสม ระยะทาง 110 เมตร และท่าตาเทือง – ทะเลน้อย ระยะทาง 2,602 เมตร (ผ่านพื้นที่ป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 17 ไร่ 1 งาน 5 ตารางวา) ซึ่งจะทำให้เกิดการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนในตำบลระดับรากหญ้าที่อยู่ในบริเวณเส้นทางดังกล่าว รวมทั้งเป็นการพัฒนาศักยภาพและยกระดับการท่องเที่ยวในชุมชนด้วย ทั้งนี้ การปรับปรุง/ก่อสร้างถนนในพื้นที่จุดที่ 1 ได้มีการก่อสร้าง/ปรับปรุงถนนเสร็จเรียบร้อยแล้ว (ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541) โดยกระทรวงมหาดไทย (องค์การบริหารส่วนตำบลทางเกวียน) ได้ดำเนินการยื่นคำขออนุญาตเข้าใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 เรียบร้อยแล้ว (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาตามขั้นตอน)
 
19. เรื่อง โครงการพัฒนาเครือข่ายระบบด้านการดูแลสุขภาพจิต
                   คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอดังนี้
                   1. เห็นชอบในหลักการของโครงการพัฒนาเครือข่ายระบบด้านการดูแลสุขภาพจิต (โครงการฯ) ภายในระยะเวลา 5 ปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570
                   2. เห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการโครงการฯ จำนวน 686.0751 ล้านบาท
                   สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เห็นควรให้ สธ. (กรมสุขภาพจิต) ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 หรือพิจารณานำเงินนอกงบประมาณรวมถึงรายได้หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่หรือสามารถนำมาใช้จ่าย หรือเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโอกาสแรกก่อน หากไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการก็ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เท่าที่จำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไปโดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ สำหรับค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป เห็นควรให้ สธ. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมและ/หรือพิจารณานำเงินนอกงบประมาณรวมถึงรายได้หรือเงินอื่นใดที่หน่วยงานมีอยู่มาใช้สมทบค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานต่อไป ตามความเห็นของสำนักงานงบประมาณ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สธ. รายงานว่า
                   1. สืบเนื่องจากเหตุการณ์กราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมาและเหตุการณ์ทำร้ายประชาชนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู รัฐบาลได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเป็นมูลเหตุของความรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสุขภาพจิตซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญและเป็นทั้งผลกระทบจากความรุนแรงที่เกิดขึ้นในสังคม ทั้งนี้ ในปัจจุบันการดูแลรักษาจิตใจยังต้องอาศัยกำลังคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเพื่อจัดบริการ อย่างไรก็ตามจากการสำรวจกำลังคนด้านสุขภาพจิตที่ปฏิบัติงานในเขตสุขภาพต่าง ๆ พบว่า ประเทศไทยมีบุคลากรด้านสุขภาพจิต1 ประมาณ 8.99 ต่อแสนประชากร ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกและในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดเดียวกันประมาณครึ่งหนึ่ง ประกอบกับกำลังการผลิตกำลังคนด้านสุขภาพจิตในภาพรวมอยู่ที่ประมาณ 488 คนต่อปี ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
                   2. สธ. โดยกรมสุขภาพจิต ได้จัดทำโครงการฯ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต ทั้งจิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช และสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชนและรองรับการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

ประเด็น รายละเอียด
วัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านสุขภาพจิตทั้งจิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช เภสัชจิตเวช และสหสาขาวิชาชีพจิตเวชให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
(2) เพื่อยกระดับคุณภาพบริการสุขภาพจิตในสถานบริการสุขภาพ ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพใกล้บ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกล
เป้าหมาย เพิ่มกำลังคนด้านสุขภาพจิตอีกจำนวน 2,950 คน แบ่งเป็น
(1) ด้านจิตแพทย์ทั่วไป จำนวน 150 คน
(2) ด้านพยาบาลเฉพาะทางสุขภาพจิตและจิตเวช จำนวน 1,500 คน
(3) ด้านพยาบาลเชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตและจิตเวช (ปริญญาโท) จำนวน 100 คน
(4) ด้านนักจิตวิทยาคลินิก จำนวน 400 คน
(5) ด้านนักสังคมสงเคราะห์จิตเวช จำนวน 400 คน
(6) ด้านนักกิจกรรมบำบัดจิตเวช จำนวน 250 คน
(7) ด้านเภสัชกรจิตเวช จำนวน 150 คน
วิธีดำเนินการ (1) ประสานความร่วมมือกับสภาวิชาชีพ สถาบันฝึกอบรมของทุกสาขาวิชาชีพ เพื่อจัดทำแผนการผลิตกำลังคนเพิ่มร่วมกัน ต่อเนื่องเฉพาะทางในอัตรากำลังบุคลากรเดิมที่ผลิตได้โดยพัฒนา (อบรมเพิ่ม) บุคลากรเดิมให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเพิ่มขึ้น
(2) พัฒนาศักยภาพสถานบริการและบุคลากรในสังกัด สธ. และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มหน่วยผลิตบุคลากรจิตเวชจากต้นทุนบริการที่มีอยู่
(3) ติดตามประเมินผลการพัฒนาบุคลากรแต่ละสาขา และผลลัพธ์ที่เกิดกับระบบบริการจิตเวชและยาเสพติด
ระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570)
ประมาณการค่าใช้จ่าย งบประมาณรวมทั้งสิ้น 686.0751 ล้านบาท แบ่งเป็น
- ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 181.1509 ล้านบาท
- ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 201.1380 ล้านบาท
- ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 101.1380 ล้านบาท
- ปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 จำนวน 101.3241 ล้านบาท
- ปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 จำนวน 101.3241 ล้านบาท
ประโยชน์ที่จะได้รับ (1) โรงพยาบาลในสังกัด สธ. ทั่วประเทศ มีสหวิชาชีพด้านสุขภาพจิตสาขาหลักครบทุกสาขาเพียงพอต่อการจัดบริการให้ประชาชนในทุกอำเภอ
(2) ประชาชนที่มีภาวะซึมเศร้า เสี่ยงฆ่าตัวตาย เสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง ได้รับการวินิจฉัยและเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพใกล้บ้านอย่างต่อเนื่อง     มีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่เกิดการกำเริบซ้ำและไม่ก่อความรุนแรงในชุมชน
(3) ผู้ป่วยจิตเวชสามารถเข้าถึงบริการจิตเวชอย่างต่อเนื่องด้วยการมีจิตแพทย์ พยาบาล สหวิชาชีพ ให้การดูแลอย่างเพียงพอ

 
____________________
1 จิตแพทย์ทั่วไป 550 คน จิตแพทย์เด็ก 295 คน รวม 845 คน คิดเป็น 1.28 คนต่อแสนประชากร นักจิตวิทยา คลินิก/นักจิตวิทยา 1,037 คน คิดเป็น 1.57 ต่อแสนประชากร พยาบาลจิตเวชผู้ใหญ่ 3,462 คน พยาบาลจิตเวชเด็กและวัยรุ่น 602 คน รวม 4,062 คน คิดเป็น 6.14 ต่อแสนประชากร
 
20. เรื่อง มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผ่านกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ [ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....]
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ดังนี้
                   1. เห็นชอบมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผ่านกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
                   2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   3. ให้กระทรวงมหาดไทย (กรมที่ดิน) ดำเนินการเสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์สำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารชุดสำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์               พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
                   4. ให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของมาตรการภาษีฯ และร่างพระราชกฤษฎีกา
                   มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผ่านกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมเพื่อส่งเสริมการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผ่านกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
1. วัตถุประสงค์ • เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ซึ่งในการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์จะเป็นการเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการให้สามารถดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบกองทรัสต์ฯ ต่อไปได้
2. เป้าหมาย ยุบกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ หรือกอง 1 แล้วแปลงสภาพเป็นกองทรัสต์ฯ
3. ระยะเวลาดำเนินการ • กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะต้องโอนทรัพย์สินให้กองทรัสต์ฯ นับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 (สำนักงาน ก.ล.ต. จะต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจที่จะแปลงสภาพจากกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์ดำเนินการแปลงสภาพให้แล้วเสร็จภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว)
4. วิธีการดำเนินงาน • มาตรการด้านภาษี ได้แก่ 1) ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับเงินได้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นใบทรัสต์ อันเนื่องมาจากการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ฯ และ 2) ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ สำหรับมูลค่าของฐานภาษีรายรับหรือการกระทำตราสารที่เกิดขึ้นหรือเนื่องมาจากการโอนหรือก่อทรัพยสิทธิหรือสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ฯ
• มาตรการด้านค่าธรรมเนียม กำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และอาคารชุด ประเภทมีทุนทรัพย์อันเนื่องมาจากการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ฯ ตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน เหลือร้อยละ 0.01 แต่อย่างสูงไม่เกิน 100,000 บาท (ปัจจุบันมีค่าธรรมเนียมในการโอนร้อยละ 2)
• ทั้งนี้ การดำเนินการมาตรการข้างต้นจะต้องตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการด้านภาษี) และออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์สำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... และกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารชุดสำหรับการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. .... (มาตรการด้านค่าธรรมเนียม) ทั้งนี้ มท. (กรมที่ดิน) จะได้ดำเนินการเสนอร่างกฎกระทรวงรวม 2 ฉบับดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการทางภาษีฯ ตามที่ กค. เสนอ
พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
1. สาระสำคัญ • ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับเงินได้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นใบทรัสต์ อันเนื่องมาจากการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป้นกองทรัสต์ฯ (ปัจจุบันภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคลของผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์สำหรับเงินได้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงหน่วยลงทุนใบทรัสต์อยู่ที่ร้อยละ 0 - 35)
• ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ สำหรับมูลค่าของฐานภาษีรายรับ หรือการกระทำตราสารที่เกิดขึ้นหรือเนื่องมาจากการโอนหรือก่อทรัพยสิทธิหรือสิทธิใด ๆ ในทรัพย์สิน อันเนื่องมาจากการแปลงสภาพกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เป็นกองทรัสต์ (ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3.3 และอากรแสตมป์ร้อยละ 0.5)
2. ระยะเวลาดำเนินการ • ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567

                   ทั้งนี้ กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ดังนี้
                   1. มาตรการด้านภาษี โดยการยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ 23 กองทุนที่ต้องการจะแปลงสภาพเป็นกองทรัสต์ฯ ซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินรวมประมาณ 97,293 ล้านบาท จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 3,500 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาการดำเนินการ
                   2. มาตรการด้านค่าธรรมเนียม จะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะจัดเก็บค่าธรรมเนียม              การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และอาคารชุดสูญเสียรายได้ประมาณ 3,092 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาการดำเนินการ
                   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                   1. ช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยการช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการและให้การดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ดำเนินการต่อไปได้หลังจากการแปลงสภาพเป็นกองทรัสต์ฯ
                   2. การประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบของกองทุนสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยมี    การประหยัดต่อขนาด (Economy of Scale)
                   3. ภาครัฐสามารถจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ หลังจากแปลงสภาพเป็นกองทรัสต์ฯ ซึ่งจะมีธุรกรรมที่มีการขยายการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม เช่น การโอนอสังหาริมทรัพย์ การจำนองอสังหาริมทรัพย์ และการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์
                   4. ภาครัฐมีกลไกช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ครอบคลุมมากขึ้น
                       
21. เรื่อง การลงทุนโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และจังหวัดลำพูน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอดังนี้
                   1. การลงทุนจัดซื้อที่ดินโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลสำนักทอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เนื้อที่ประมาณ 1,482 ไร่ วงเงิน 2,668 ล้านบาท
                   2. การลงทุนจัดซื้อที่ดินโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดลำพูน พื้นที่ตำบลมะเขือแจ้ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เนื้อที่ประมาณ 653 ไร่ และที่ดินถนนทางเข้าประมาณ 25 ไร่ วงเงิน 842 ล้านบาท
 
22. เรื่อง มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้
                   1. เห็นชอบในหลักการสำหรับมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น
                   2. มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน และกระทรวงมหาดไทย กำกับและติดตามให้หน่วยงานในสังกัดที่มีอำนาจและหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าฯ ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว
                   ทั้งนี้ พน. เสนอว่า จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ในภูมิภาคยุโรประหว่างสหพันธรัฐรัสเซียกับประเทศยูเครนที่ยังคงมีแนวโน้มยืดเยื้อ ประกอบกับความต้องการใช้พลังงานของโลกที่คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้คาดว่าราคาพลังงานของประเทศโดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าจะยังคงอยู่ในระดับสูงตามราคาตลาดโลก ทั้งนี้ แม้ว่ารัฐบาลได้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 ถึงเดือนธันวาคม 2565 แต่ด้วยแนวโน้มราคาพลังงานในตลาดโลกที่แม้จะมีแนวโน้มชะลอตัวลงแต่คาดว่าจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการในประเทศมีแนวโน้มที่จะยังคงอยู่ในระดับสูงตามต้นทุนการผลิตดังกล่าว อันจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนและการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านไฟฟ้าได้สิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม 2565 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐต้องเร่งรัดการพิจารณามาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางจากสถานการณ์ราคาพลังงานดังกล่าวในระยะต่อไป
                   สาระสำคัญ
                   มาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่สูงขึ้น มีแนวทางช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มเปราะบาง ประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน โดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยในพื้นที่ของ กฟน. และ กฟภ. รวมทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยของ กฟผ. และผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่บริการของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ เป็นเวลา 4 เดือน ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจำเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนเมษายน 2566 โดยกำหนดให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
                   1. ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 1 – 150 หน่วยต่อเดือน ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าจำนวน 92.04 สตางค์ต่อหน่วย โดยมีผลต่างค่า Fเรียกเก็บและส่วนลด 1.39 สตางค์ต่อหน่วย
                   2. ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าระหว่าง 151 – 300 หน่วยต่อเดือน ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าจำนวน 67.04 สตางค์ต่อหน่วย โดยมีผลต่างค่า Fเรียกเก็บและส่วนลด 26.39 สตางค์ต่อหน่วย
                   ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือรวมทั้งสิ้นประมาณ 19.66 ล้านราย ใช้งบประมาณรวมในกรอบไม่เกิน 7,500 ล้านบาท (ประมาณ 1,868.06 ล้านบาทต่อเดือน เป็นเวลา 4 เดือน)
 

ต่างประเทศ

23. เรื่อง ผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 21 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอผลการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 21 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 40 และ 41 เมื่อวันที่ 9-13 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา  โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมายรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสินิตย์ เลิศไกร) เข้าร่วมการประชุม [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี   (8 กรกฎาคม 2551) ที่ให้รัฐมนตรีรายงานสรุปผลการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีภายหลังเดินทางกลับจากราชการต่างประเทศ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
 
 
                   การประชุม AEC Council ครั้งที่ 21 สรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ ผลการประชุม
(1) ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2565 (Priority Economic Deliverables: PEDs) ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 10 ประเด็น จาก 19 ประเด็น โดยเป็นประเด็นที่อยู่ในความรับผิดชอบของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน จำนวน 4 ประเด็น เช่น การประกาศเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยการแข่งขันของอาเซียน การจัดทำแผนงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และการประกาศเริ่มการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน รวมทั้งมีประเด็นที่ดำเนินการแล้วเสร็จในสาระสำคัญ 1 ประเด็น คือ ความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาของอาเซียนซึ่งได้ข้อสรุปการปรับปรุงตารางข้อผูกผันการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน และได้จัดทำพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงฯ เพื่อให้ตารางข้อผูกผันฯ มีผลใช้บังคับ และมีมติให้ประเทศสมาชิกอาเซียนลงนามในพิธีสารฯ ในรูปแบบของการเวียนเอกสาร ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติ                 (6 กันยายน 2565) เห็นชอบการลงนามในส่วนของไทย
(2) การดำเนินการภายใต้กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน (ASEAN Comprehensive Recovery Framework: ACRF) ให้ขยายขอบเขตการดำเนินงานครอบคุลมประเด็นใหม่ ๆ เพื่อให้อาเซียนมีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เช่น ความมั่นคงทางอาหาร วิกฤตด้านพลังงาน และการเตรียมการสำหรับการเปลี่ยนผ่านจากการฟื้นฟูไปสู่การสร้างความเข้มแข็งในอนาคต รวมทั้งการนำบทเรียนที่ได้จากการดำเนินการตามแผน ACRF มาประกอบการจัดทำวิสัยทัศน์อาเซียนภายหลัง             ปี 2568 (ค.ศ. 2025)
(3) วาระการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้
· การจัดทำแผนยุทธศาสตร์อาเซียนในประเด็นการปฏิวัติอุตสาหกรรม                 ครั้งที่ 4 (Fourth Industrial Revolution: 4IR) และการจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจด้าน 4IR
· การติดตามและเร่งดำเนินการตามแผนงานบันดาร์เสรีเบกาวันเพื่อสนับสนุนวาระการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นดิจิทัลของอาเซียน
· แผนการดำเนินงานในการจัดทำความตกลงกรอบเศรษฐกิจดิจิทัลอาเซียน (ASEAN Digital Economy Framework Agreement: DEFA) และการศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่ออาเซียนเกี่ยวกับการจัดทำ DEFA ซึ่งได้เริ่มต้นการศึกษาในเดือนตุลาคม 2565 และกำหนดแล้วเสร็จในช่วงกลาง                    ปี 2566 ทั้งนี้ คาดว่าอาเซียนจะสามารถเริ่มต้นเจรจา DEFA ได้ในช่วงปลาย                 ปี 2566 หรือต้นปี 2567
(4) วาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของอาเซียน ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้
· การจัดทำแผนดำเนินงานตามกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ค.ศ. 2023-2030 เพื่อกำหนดทิศทางในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยระยะแรกมุ่งเน้นอุตสาหกรรมนำร่อง 3 สาขา ได้แก่ พลังงาน ขนส่ง และการเกษตร
· การจัดทำยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจที่มีการปล่อยคาร์บอนต่ำ ทั้งนี้ คาดว่าจะเสนอร่างยุทธศาสตร์ฯ ต่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนและ AEC Council ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566
(5) การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ภายหลังปี 2568 รับทราบองค์ประกอบหลักของวิสัยทัศน์ฯ ในส่วนของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การยกระดับเศรษฐกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน (2) การส่งเสริมเศรษฐกิจให้มีความยั่งยืนและตอบสนองต่อสภาพภูมิอากาศ (3) การผลักดันให้อาเซียนเป็นประชาคมดิจิทัลชั้นนำ (4) การมีบทบาทเชิงรุกในประชาคมโลกโดยมีอาเซียนเป็นแกนกลาง  (5) การเตรียมความพร้อมในการตอบสนองต่อโอกาสและความท้าทายอย่างมีประสิทธิภาพ และ (6) การสร้างความครอบคลุมทุกภาคส่วนและลดช่องว่างการพัฒนา ทั้งนี้ จะเสนอองค์ประกอบหลักของวิสัยทัศน์ฯ ให้ผู้นำอาเซียนรับรองในปี 2566 ต่อไป
(6) การเตรียมการเป็นประธานอาเซียนของสาธารณรัฐอินโดนีเซียใน ค.ศ. 2023 อินโดนีเซียนำเสนอข้อริเริ่มที่ต้องการผลักดัน เช่น ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงด้านพลังงาน ความเข้มแข็งในการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในอาเซียนและความเป็นไปได้ในการพัฒนาเศรษฐกิจภาคทะเล รวมถึงการสนับสนุนเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งจะเร่งการเจรจา DEFA นอกจากนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการติดตามความคืบหน้าในประเด็นที่กัมพูชาผลักดันในการเป็นประธานอาเซียนช่วงปี 2565 ด้วย

                   การประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                   1. การประชุมหารือระหว่าง AEC Council และรัฐมนตรีอาเซียน 3 สาขา (ด้านการเกษตรและป่าไม้ พลังงาน และการขนส่งของอาเซียน) เพื่อร่วมกันผลักดันการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยที่ประชุมฯ ได้เน้นย้ำการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และการมีกลไกกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำไปสู่การจัดทำยุทธศาสตร์อาเซียนเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนให้แล้วเสร็จในปี 2566
                   2. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ สมัยพิเศษ มีความคืบหน้าการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (Agreement Establishing the ASEAN-Australia-New Zealand Free Trade Area: AANZFTA) ร้อยละ 92 โดยมีประเด็นสำคัญเพิ่มเติมเพื่อยกระดับความตกลง AANZFTA ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การส่งเสริม MSMEs และการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน  ข้อผูกพันที่มากกว่าความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) และการเพิ่มพันธกรณีที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เป็นมิตรกับภาคธุรกิจและสามารถรับมือกับความท้าทายในอนาคต ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมการประกาศสรุปผลการเจรจายกระดับความตกลง AANZFTA อย่างมีนัยสำคัญ
                   3. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 2 สหราชอาณาจักรต้องสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอาเซียนและการยกระดับการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการขยายตัวของภาคธุรกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนของทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ เห็นชอบแผนการดำเนินงานตามปฏิญญาร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนาคตระหว่างอาเซียนและสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นเอกสารที่ระบุถึงกิจกรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญ 11 ด้าน เช่น นวัตกรรมดิจิทัล การพัฒนา MSMEs การบริการทางการเงิน และการส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจของสตรี
                   4. การประชุมคณะทำงานภายใต้คณะมนตรีประสานงานอาเซียนว่าด้วยติมอร์-เลสเต ครั้งที่ 14      ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาแนวทางการรับติมอร์-เลสเตเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการจัดทำแผนงานและกรอบเวลาที่จะรับเข้าเป็นสมาชิกและความเป็นไปได้ในการจัดตั้งหน่วยงานภายใต้สำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน
                   ความเห็น/ข้อสังเกตของ พณ.
                   1. การประกาศสรุปผลการเจรจายกระดับความตกลง AANZFTA อย่างมีนัยสำคัญเป็นหนึ่งในประเด็นด้านเศรษฐกิจที่กัมพูชาในฐานประธานอาเซียนผลักดันให้ประสบความสำเร็จในปี 2565 ซึ่งความตกลงดังกล่าวเป็นความตกลงที่มีความก้าวหน้าที่สุดฉบับหนึ่งของอาเซียน โดยจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าของอาเซียนผ่านการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน การบูรณาการห่วงโซ่อุปทานและการไหลเวียนสินค้าจำเป็น รวมทั้งการสนับสนุนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล ทั้งนี้ มีการเพิ่มประเด็นใหม่ ๆ เพื่อให้สอดรับกับความท้าทายในปัจจุบันซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) ของอาเซียน และอาเซียนกับคู่เจรจาที่มีอยู่ เช่น FTA สินค้าอาเซียน FTA อาเซียน-จีน อาเซียน-อินเดีย และอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี รวมถึงการเจรจา FTA ฉบับใหม่ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับแคนาดา
                   2. ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนให้ความสำคัญกับแนวโน้มใหม่ ๆ ของโลก เช่น การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นดิจิทัลและประเด็นความยั่งยืน อีกทั้งหลายประเทศนอกภูมิภาคได้ผลักดันประเด็นความยั่งยืนโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาใช้ในการเจรจาความตกลงด้านเศรษฐกิจการค้ามากขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรปรับตัวให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งตอบสนองต่อแนวโน้มของอาเซียนและประเทศคู่เจรจา เพื่อให้ไทยสามารถคงความเป็นผู้นำในภูมิภาคอาเซียนและพร้อมรับการเจรจาในอนาคตต่อไป
 
24. เรื่อง ผลการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) เสนอสรุปผลการประชุม       คณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโข่ง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ แทนรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) [คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 พฤศจิกายน 2565) อนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมฯ และเห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยหารือกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตามประเด็นในกรอบการหารือดังกล่าว เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานและความร่วมมือเป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. ที่ประชุมฯ ได้มีมติ (1) รับทราบความก้าวหน้าการจัดทำร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ที่จะเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ร่างฉบับที่ 4 ลงวันที่ 21 กันยายน 2565 และเห็นชอบในแนวคิดหลักของปฏิญญาฯ คือ “นวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำและความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง” โดยจะร่วมกันพิจารณาและให้การรับรองปฏิญญาฯ ร่างสุดท้ายต่อไป ในวันที่ 5 เมษายน 2566 ณ นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (2) ไม่มีข้อขัดข้องต่อกำหนดการประชุมร่างสุดท้ายของการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 2-5 เมษายน 2566 และ (3) อนุมัติแผนดำเนินงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประจำปี พ.ศ. 2566-2567 ในหลักการ ซึ่งเป็นไปตามกรอบการหารือที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (22 พฤศจิกายน 2565) อนุมัติไว้
                   2. การหารือทวิภาคีระหว่าง สปป.ลาว และประเทศไทยเกี่ยวกับการสนับสนุนการจัดประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่างฯ และขอให้ฝ่ายไทยสนับสนุนการดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติเรื่องการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง1 สำหรับโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสานะคาม-เขื่อนภูงอย ซึ่งฝ่ายไทยมีข้อห่วงกังวล เนื่องจากโครงการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บนลุ่มน้ำโขง จึงขอให้ฝ่าย สปป.ลาวนำเสนอข้อมูลอย่างครบถ้วนและเพียงพอเพื่อการพัฒนาตามกรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538
                   3. ไทยได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมฯ โดยเน้นย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่น ๆ ในลุ่มน้ำโขง ซึ่งต้องเผชิญกับความท้าทายเร่งด่วน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และภาวะเศรษฐกิจถดถอย ดังนั้น เพื่อจัดการกับความท้าทายจึงขอให้ประเทศสมาชิกตระหนักถึงผลกระทบข้ามพรมแดนที่เกิดจากการพัฒนาในลุ่มน้ำโขง และดำเนินโครงการอย่างรอบคอบและมีข้อมูลอย่างสมบูรณ์ เพียงพอ ครบถ้วน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงสนับสนุนการยกระดับและการกระชับความสัมพันธ์ในการทำงานร่วมกับหุ้นส่วนการพัฒนา2 ประเทศคู่เจรจา องค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาคและนานาชาติเพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และแสวงหากลไกที่เหมาะสม ครอบคลุมโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว นวัตกรรม เทคโนโลยี และความรับผิดชอบเพื่อลดผลกระทบเชิงลบที่เกิดจากการพัฒนา
                   4. ประเทศสมาชิก ประเทศคู่เจรจา และหุ้นส่วนการพัฒนากล่าวถึงประเด็นสำคัญสำหรับ   การดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ดังนี้ (1) การรับมือกับความท้าทายในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนและตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (2) การเน้นย้ำการดำเนินงานให้สอดคล้องและบรรลุวัตถุประสงค์ของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2538 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติเรื่องการแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลงสำหรับการดำเนินโครงการพัฒนาต่าง ๆ บนลุ่มน้ำโขงเพื่อให้เกิดความครอบคลุมและป้องกันผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดเกิดจากการพัฒนา (3) การสนับสนุนให้มีการวิเคราะห์ ติดตาม และแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินโครงการบริหารจัดการเขื่อนต่าง ๆ ของทั้งลุ่มน้ำเพื่อให้การวิเคราะห์สถานการณ์น้ำถูกต้อง แม่นยำ และแสดงผล ณ เวลาปัจจุบัน (4) การส่งเสริมสนับสนุนให้ใช้เครื่องมือของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงอย่างจริงจัง เช่น การศึกษาร่วม แผนปฏิบัติการร่วม และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน เพื่อจัดการกับผลกระทบข้ามพรมแดนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ (5) การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงการเชื่อมโยงกรอบความร่วมมือระหว่างลุ่มน้ำโขงตอนบนและตอนล่าง และกรอบความร่วมมืออาเซียนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรอื่น ๆ ในลุ่มน้ำโขงเพื่อประโยชน์ร่วมกันของอนุภูมิภาค
_____________________
1 ภายใต้ระเบียบปฏิบัติฯ โครงการใช้น้ำใด ๆ จากลุ่มแม่น้ำที่อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกระแสการไหลของน้ำหรือคุณภาพน้ำในแม่น้ำโขงสายหลักที่อาจรวมถึงโครงการชลประทานขนาดใหญ่ เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ และการผลิตน้ำประปาต้องผ่านกระบวนการแจ้ง (แจ้งรายละเอียดโครงการกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ก่อนจะเริ่มการใช้ประโยชน์จากลุ่มแม่น้ำ) การปรึกษาหารือล่วงหน้า (เป็นกระบวนการประเมินทางเทคนิคและการหารืออย่างเป็นทางการที่มีระยะเวลา 6 เดือน เพื่อประเมินผลกระทบข้ามพรมแดน) และข้อตกลง (กำหนดให้ต้องมีการเจรจาต่อรองอย่างทั่วถึงเพื่อให้บรรลุความเห็นชอบร่วมกัน) เพื่อให้บรรลุการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมบรรเทาผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดต่อสิ่งแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนริมฝั่งแม่น้ำโขงทั้งทางต้นน้ำและท้ายน้ำ
2 ประเทศกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา คือ ประเทศหรือองค์กรที่สนับสนุนเงินทุนในการดำเนินกิจกรรมของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เช่น เครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป
 
25.  เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาไทย - ตุรกี ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและสภาอุดมศึกษาแห่งสาธารณรัฐตุรกี
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาไทย - ตุรกี ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย (อว.) และสภาอุดมศึกษาแห่งสาธารณรัฐตุรกี (สภาอุดมศึกษาฯ ตุรกี) (บันทึกความเข้าใจๆ) รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้ อว. หารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) เพื่อพิจารณาดำเนินการดังกล่าว โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกตามที่กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                   สาระสำคัญ
                    1. อว. และสภาการอุดมศึกษาฯ ตุรกี (ประธานสภาการอุดมศึกษาฯ ตุรกี มีสถานะเทียบเท่าระดับรัฐมนตรี) มีความประสงค์จะสร้างความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากร การจัดการประชุมทางวิชาการและการสัมมนาร่วมกัน การจัดตั้งและพัฒนาหลักสูตรร่วมในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งการรับรองปริญญาและประกาศนียบัตรระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศ จึงได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือในระดับสถาบันสำหรับคู่ภาคีเพื่อจัดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศ โดยขอบเขตความร่วมมือของสถาบันการศึกษา คู่ภาคีจะสนับสนุนการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและการฝึกงานของนักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศภายใต้โครงการที่กำหนด รวมถึงการเข้าร่วมโครงการวิจัยระยะสั้น การแลกเปลี่ยนสื่อทางการศึกษา การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนา และการประชุมทางวิชาการ การแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันของสถาบันอุดมศึกษาและรูปแบบความร่วมมืออื่น ๆ ที่คู่ภาคีอาจเห็นชอบร่วมกัน
                   2. เรื่องนี้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการอุดมศึกษาไทย - ตุรกี ระหว่าง อว. และสภาอุดมศึกษาแห่งสาธารณรัฐตุรกี (บันทึกความเข้าใจฯ) โดย อว. จะใช้บันทึกความเข้าใจฯ เป็นหัวข้อในการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการไทย - ตุรกี (การประชุมร่วมฯ ไทย - ตุรกี) ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 26 มกราคม 2566 ณ กรุงอังการา สาธารณรัฐตุรกี และเมื่อมีการดำเนินการตามกระบวนการและมีการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ (ลงนามผ่านช่องทางการทูต) แล้วบันทึกความเข้าใจฯ จะเป็นหนึ่งในผลลัพธ์สำคัญของการประชุมร่วมฯ ไทย - ตุรกี ดังกล่าวด้วยซึ่งร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือในระดับสถาบันสำหรับคู่ภาคีเพื่อจัดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศ โดยได้จัดทำเอกสารคู่ฉบับ 3 ภาษา (ภาษาไทย ภาษาตุรกี และภาษาอังกฤษ) ในกรณีที่มีการตีความแตกต่างกันให้ถือเอาฉบับภาษาอังกฤษเป็นสำคัญ โดยมีสาระสำคัญ เช่น (1) ขอบเขตความร่วมมือ (คู่ภาคีจะสนับสนุนการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาและการฝึกงานของนักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศภายใต้โครงการที่กำหนด) (2) หลักสูตร (คู่ภาคีจะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งการดำเนินการและการพัฒนาหลักสูตรร่วมในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกระหว่างสถาบันอุดมศึกษาของทั้งสองประเทศ ตามกฎหมายและระเบียบของประเทศของตน) (3) การรับนักเรียนทุน (คู่ภาคีอาจส่งและรับนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของตนภายใต้กรอบของกฎหมายของประเทศของตนและวิธีการที่ภาคีเห็นชอบร่วมกัน) (4) ระยะเวลา (มีผลบังคับใช้วันที่ลงนามครั้งสุดท้าย และมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 4 ปี (5) การแก้ไข (สามารถแก้ไขได้ทุกเมื่อโดยความยินยอมร่วมกันของคู่ภาคี) (6) การยกเลิก (ต้องได้รับความยินยอมร่วมกันของคู่ภาคีโดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรไม่น้อยกว่า 60 วัน) (7) การระงับข้อพิพาท (ให้ได้รับการแก้ไขอย่างฉันมิตรโดยการปรึกษาหารือและการเจรจาระหว่างคู่ภาคี) เป็นต้น
 
26. เรื่อง รายงานผลการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน (ASEAN Labour Ministers’ Meeting: ALMM) ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และขอความเห็นชอบต่อการรับรองร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ของการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 27 และร่างถ้อยแถลงร่วม (Joint Statement) ของการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 12
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน [ASEAN Labour Ministers’ Meeting (ALMM)] ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 25 - 29 ตุลาคม 2565 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ รวมทั้งเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) ของ ALMM ครั้งที่ 27] (ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ของ ALMM ครั้งที่ 27) และร่างถ้อยแถลงร่วม (Joint Statement) ของการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนบวกสาม [ASEAN Plus Three Labour Ministers’ Meeting (ALMM + 3)] ครั้งที่ 12 (ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ของ ALMM + 3 ครั้งที่ 12) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองเอกสารดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารทั้งสองฉบับดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงแรงงาน (รง.) ดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วยตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   รง. รายงานว่า
                   1. ALMM ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 29 ตุลาคม 2565 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยกระทรวงแรงงานและการจ้างงาน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในฐานะประธานรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ค.ศ. 2022 - 2024 ภายใต้หัวข้อหลัก “รวมกันเป็นหนึ่ง พลิกโฉมโลกแห่งการทำงานในประชาคมอาเซียนสู่การเติบโตและฟื้นฟูด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน” ประกอบด้วยการประชุมทั้งสิ้น 4 การประชุม โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                             1.1 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสแรงงานอาเซียน [Senior Labour Officials’ Meeting (SLOW)] ครั้งที่ 18 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 26 ตุลาคม 2565 ประกอบด้วยผู้แทนระดับอธิบดีของกระทรวงกำลังคนแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประธานการประชุม ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ1 ผู้แทนจากสำนักเลขาธิการอาเซียน ประธานคณะกรรมการกรอบคุณวุฒิอ้างอิงอาเซียน [ASEAN Qualifications Reference Framework (AQRF)] และสภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียน (ASEAN TVET Council (ATC)] โดยมีสาระสำคัญของการประชุม เช่น 1) การหารือเกี่ยวกับการพัฒนาวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ช่วงหลังปี พ.ศ. 2568 2) การติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของกรอบความร่วมมือบูรณาการระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ SLOM เช่น กรอบคุณวุฒิอ้างอิงของอาเซียน ควรให้ความสำคัญกับการประชุมเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพและควรมีการวางแผนงานร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อให้มีแนวทางที่เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างกันในภูมิภาค โดยคำนึงถึงความแตกต่างของระดับทักษะ และสภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียน ควรเพิ่มเงินลงทุนเพื่อพัฒนาการฝึกอบรมด้านเกษตรกรรมสมัยใหม่ 3) การรายงานผลการดำเนินงานตามปฏิญญาอาเซียนและแถลงการณ์ของรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 ฉบับ เช่น ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน ได้มีการรับรองโดยประเทศสมาชิกแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 และจะมีการพัฒนาแนวทางอาเซียนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งคาดว่าจะสมบูรณ์ในปี 2566เป็นต้น 4) การหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าในการดำเนินงานตามแผนงานอาเซียนว่าด้วยการ   ยุติการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ภายในปี พ.ศ. 2565 5) รายงานการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องภายใต้แผนงานรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน พ.ศ. 2564 - 2568 ซึ่งประเทศไทยได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการนำแนวทางว่าด้วยการส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมด้านแรงงานไปปฏิบัติทั้งในระดับภูมิภาคผ่านการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง และระดับประเทศผ่านการพัฒนามาตรฐานแรงงานไทยและแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี และ 6) การหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหุ้นส่วนภายนอกของอาเซียน เช่น องค์การแรงงานระหว่างประเทศ [International Labour Organization (ILO)] กระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกา
                             1.2 การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสแรงงานอาเซียนบวกสาม [Senior Labour Officials’ Meeting + 3 (SLOM + 3)] ครั้งที่ 20 จัดขึ้นวันที่ 27 ตุลาคม 2565 ประกอบด้วย ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และผู้แทนจากประเทศบวกสาม ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน (ประเทศจีน) ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี (ประเทศเกาหลีใต้) เข้าร่วมการประชุม สาระสำคัญของการประชุม เป็นการหารือและรายงานความคืบหน้าความร่วมมือ /โครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องใต้กรอบอาเซียนบวกสามด้านแรงงาน รวมถึงมีกาหารือเกี่ยวกับการจัดการประชุม SLOM + 3  ครั้งที่ 21 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 (เนการาบรูไนดรุสซาลามเป็นเจ้าภาพ) และได้มีการพิจารณาวาระ ALMM + 3 และร่างรายงานการประชุม SLOM + 3 เพื่อเสนอต่อที่ประชุม ALMM + 3 พิจารณารับรองต่อไป ทั้งนี้ ประเทศบวกสามมีประเด็นที่แต่ละประเทศให้ความสำคัญ เช่น ประเทศจีนให้การสนับสนุนด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการให้ความคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่อประเทศสมาชิกอาเซียน ประเทศญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับประเด็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานโลก รวมถึงโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ความร่วมมือกับองค์กรแรงงานระหว่างประเทศ และประเทศเกาหลีใต้ให้ความสำคัญกับบทบาทของภาครัฐในการสร้างงานสร้างอาชีพ การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 และปัญหาภาวะโลกร้อน
                             1.3 ALMM ครั้งที่ 27 จัดขึ้นวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ประกอบด้วย รัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ปลัดกระทรวงแรงงาน เอกอัครราชทูต เจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และเลขาธิการอาเซียน ซึ่งที่ประชุมรับทราบการส่งมอบวาระการดำรงตำแหน่งประธานรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน  ค.ศ. 2020 - 2022 ของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ให้แก่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เพื่อดำรงตำแหน่งในช่วง ค.ศ. 2022 - 2024 โดยมีสาระสำคัญของการประชุม เช่น 1) เน้นย้ำวัตถุประสงค์ของ ALMM ที่จะนำประเด็นปัญหาของแรงงานมาดำเนินการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในประเด็นการจ้างงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิตในการทำงาน ตลอดจนการคุ้มครองแรงงาน 2) การกล่าวถ้อยแถลงของเลขานุการรัฐมนตรีแรงงานที่มุ่งเน้นนโยบายเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) โดยกำหนดมาตรการทางสาธารณสุขที่หลากหลายเพื่อบรรเทาการสูญเสียด้านสุขภาพ เช่น การดูแลแรงานให้เข้าถึงการรักษา บริการทางการแพทย์ และสถานพยาบาลอย่างเท่าเทียมและทั่วถึงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การดำเนินการโครงการ Factory Sandbox2 รวมทั้งการคุ้มครองทางสังคมและสิทธิให้แรงงานทุกคนได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียม 3) รับรองเอกสารผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน เอกสารแนวทางอาเซียนว่าด้วยการให้คำปรึกษาและการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการ แผนงานคณะกรรมการตรวจแรงงานอาเซียน พ.ศ. 2565 - 2573 และรายงานผล SLOM ครั้งที่ 17 และ 18 เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมของประเทศสมาชิก การคุ้มครองทางสังคมและสิทธิสำหรับการทำงานของแรงงานทุกคน 4) รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามปฏิญญาอาเซียนและแถลงการณ์ เช่น ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน ความยืดหยุ่นและความคล่องตัวของแรงานเพื่ออนาคตของการทำงาน และปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยทรัพยากรมนุษย์เพื่อโลกที่เปลี่ยนแปลงของการทำงาน และ 5) รับทราบการเป็นเจ้าภาพจัด ALMM ครั้งที่ 28 โดยสาธารณรัฐสิงคโปร์ ในปี พ.ศ. 2567
                             1.4 ALMM+3 ครั้งที่ 12 จัดขึ้นวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ประกอบด้วย รัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ปลัดกระทรวงแรงงาน เอกอัครราชทูต และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ และเลขาธิการอาเซียน โดยมีสาระสำคัญของการประชุม ได้แก่ 1) การกล่าวถ้อยแถลงของเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานที่มุ่งเน้นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบัน จึงมีนโยบายเร่งพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้มีความรู้ด้านดิจิทัลพร้อมทั้งปรับรูปแบบการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงการฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์เพื่อตอบโจทย์ให้แรงงานที่ต้องการพัฒนาตนเองสามารถเข้าถึงการฝึกอบรมได้ตามที่ต้องการ รวมทั้งความสำคัญของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม โดยได้ร่วมดำเนินงานในประเด็นดังกล่าวภายใต้ความร่วมมือของสภาการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมแห่งอาเซียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้ระบบการเทคนิคอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมของภูมิภาคมีความเข้มแข็ง และเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญในการฟื้นฟูและพัฒนาภูมิภาคต่อไป และ  2) การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ของ ALMM ครั้งที่ 27 และร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ของ ALMM + 3 ครั้งที่ 12 ทั้งนี้ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้แจ้งให้ที่ประชุมรับทราบเกี่ยวกับการเสนอเอกสารทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณารับรองต่อไป
                   2. ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ของ ALMM ครั้งที่ 27 และร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ของ ALMM + 3  ครั้งที่ 12 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                             2.1 ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ของ ALMM ครั้งที่ 27 เป็นเอกสารแสดงความมุ่งมั่นของรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนในการขับเคลื่อนถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรี เพื่อตอบสนองต่อการฟื้นฟูด้านแรงงานภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยให้ความเชื่อมั่นว่าแรงงานจะสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการทำงานอย่างยั่งยืนมีสถานประกอบการที่ปลอดภัยและมีการคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุม และยืนยันการสนับสนุนการขับเคลื่อนปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงไปของงาน และยืนยันจุดยืนของรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนในการรับรองเอกสารผลลัพธ์ด้านแรงานอื่น ๆ อาทิ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน และแนวทางอาเชียนว่าด้วยการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการ
                             2.2 ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ของ ALMM + 3 ครั้งที่ 12 เป็นเอกสารแสดงการแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างประเทศอาเซียนบวกสาม เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาฝีมือแรงงานและความสามารถในการปรับตัวของแรงงานในอนาคตของงานภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ผ่านโครงการความร่วมมือต่าง ๆ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนและการสนับสนุนทางวิชาการจากประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้
                   ทั้งนี้ ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ของ ของ ALMM ครั้งที่ 27 และ ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ของ ALMM + 3 ครั้งที่ 12 ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) พิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้อง/เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ
 _____________________________
1ประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วย เนการาบรูไนดารุซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา (ประเทศกัมพูชา)สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ประเทศลาว) สหพันธรัฐมาเลเซีย สาธารณรัฐ
แห่งสหภาพเมียนมา (ประเทศเมียนมา) สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
2Factory Sandbox คือ โครงการที่ทำการตรวจคัดกรองโรคโควิด 19 เชิงรุกในสถานประกอบการต่าง ๆ และคัดแยกกักตัวแรงงานที่ติดเชื้อโรคโควิด 19 ออกจากผู้ไม่ติดเชื้อเพื่อเข้ารับการรักษา รวมทั้งเร่งระดมดวัคซีนให้แรงงานทุกคนในโรงงานที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมโครงการนี้
 
27. เรื่อง ผลการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการพัฒนา แห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ในการดำเนินงานศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาค กรุงเทพมหานคร - UNDP (Bangkok - UNDP Regional Innovation Center: RIC) ประจำปี พ.ศ. 2564 ความก้าวหน้าของกิจกรรมประจำปี พ.ศ. 2565 และการขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
                   1. รับทราบผลการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ในการดำเนินงานศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาค กรุงเทพมหานคร – UNDP (Bangkok - UNDP Regional Innovation Center: RIC) (โครงการความร่วมมือ RIC ประจำปี พ.ศ. 2564 และความก้าวหน้าของกิจกรรมประจำปี พ.ศ. 2565
                   2. อนุมัติให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการความร่วมมือ RIC อีก 6 เดือน นับแต่วันสิ้นผลใช้บังคับความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือ RIC (จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 สิงหาคม 2566) เป็นวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม
                   3. เห็นชอบร่างเอกสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือ RIC ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างเอกสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือ RIC ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ สศช. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                   4. อนุมัติให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างเอกสารแก้ไขความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือ RIC ของฝ่ายไทย พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สศช. รายงานว่า
                   1) โครงการความร่วมมือ RIC หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่าห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (TP Lab) มีลักษณะเป็นห้องปฏิบัติการนโยบายเพื่อเปลี่ยนแปลงกระบวนการออกแบบและกำหนดนโยบายให้ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน และเท่าทันความท้าทายใหม่ ๆ เสริมสร้างศักยภาพของผู้ออกแบบและกำหนดนโยบายสาธารณะ และส่งต่อเครื่องมือและความรู้ให้กับประเทศในเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่น ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ประกอบด้วย (1) เพื่อส่งเสริมการกำหนดนโยบายที่มีความครอบคลุมและขับเคลื่อนโดยประชาชน (2) เพื่อคิดค้นนวัตกรรมเชิงนโยบายในการรับมือกับความท้าทายในปัจจุบันและอนาคต (3) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพภาครัฐและเอกชนในการออกแบบและดำเนินนโยบายด้วยนวัตกรรม (4) เพื่อสร้างและขยายเครื่อข่ายนวัตกรในหลายระดับอย่างยั่งยืน และ (5) เพื่อส่งเสริมประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางชั้นนำด้านนวัตกรรมเชิงนโยบายในระดับภูมิภาค
                   2) ผลการดำเนินโครงการความร่วมมือ RIC ประจำปี 2564 และความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมในปี 25651 สรุปได้ ดังนี้

กรอบการดำเนิน
กิจกรรม
ตัวอย่างการดำเนินการ/กิจกรรม
 
เสาหลักที่ 1 การพัฒนากระบวนการและพื้นที่เพื่อการพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบาย
 
สร้างพื้นที่และเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการค้นหาและทดลองนวัตกรรมเชิงนโยบาย เช่น
- จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในกรุงเทพมหานครและในจังหวัดเชียงใหม่ภายใต้โครงการนวัตกรรมการออกแบบนโยบายผ่านการใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์ความหวังและความกลัว (Hope and Fear Analysis) การวิเคราะห์เหตุและผลตามลำดับชั้น (Causal Layered Analysis) ที่มุ่งเน้นการรับฟังความคิดเห็นและความต้องการที่แท้จริงของประชาชน
- จัดให้มีการสำรวจความคิดเห็นจากเยาวชนบนสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 1,000 คน และพบว่า ร้อยละ 80 ให้ความสำคัญกับประเด็นสุขภาพจิต ต่อมามีการจัดกิจกรรมแฮกกาธอน (Hackathon) เพื่อให้เยาวชนร่วมกันออกแบบนโยบายด้านสุขภาพจิตที่ครอบคลุมทั้งมิติการป้องกัน การรักษา การสร้างความตระหนักรู้ และการสร้างการศึกษาที่ดีต่อสุขภาพจิตเยาวชนในเดือนพฤษภาคม 2565
- จัดอบรมให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำนโยบายได้ร่วมทดสอบการใช้กระบวนการออกแบบความคิดเชิงระบบ (System Design) และการวิเคราะห์ส่วนประกอบ (Portfolio Approach) เพื่อการแก้ไขปัญหาที่มีความชับซ้อนเชิงโครงสร้าง
- จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ณ จังหวัดเชียงราย เพื่อให้ตัวแทนเจ้าหน้าที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตัวแทนแรงานนอกระบบ รวมทั้งผู้นำชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือได้เรียนรู้เครื่องมือเชิงนวัตกรรมใหม่ ๆ และออกแบบแนวคิดเชิงนโยบายด้านสวัสดิการสังคมที่ตอบโจทย์ความต้องการระดับปัจเจกบุคคล
- เปิดเวทีระดมความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่โดยใช้กระบวนการและเครื่องมือนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการออกแบบและเสนอแนะแนวคิดเชิงนโยบายที่คำนึงถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เสาหลักที่ 2 การยกระดับขีดความสามารถของผู้จัดทำนโยบาย
 
มุ่งเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการประยุกต์ใช้เครื่องมือนวัตกรรมเชิงนโยบาย เช่น
- จัดอบรมหลักสูตร Training of the Trainers ให้แก่อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ (เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) เพื่อยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถของผู้กำหนดนโยบาย นวัตกร อาจารย์ และนักศึกษา ด้านการประยุกต์ใช้เครื่องมือนวัตกรรมเชิงนโยบายในหลักสูตรการเรียนการสอน รวมทั้งสร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น
- จัดอบรมให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐได้เรียนรู้และทำความเข้าใจเครื่องมือการคิดเชิงออกแบบ ทักษะที่จำเป็นในการออกแบบนโยบาย และกรณีศึกษาของหน่วยงานภาครัฐต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้เครื่องมือดังกล่าว
เสาหลักที่ 3 การสร้างและพัฒนาเครือข่ายนวัตกรและผู้จัดทำนโยบาย
 
ให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเชิงนโยบายร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการจัดทำนโยบาย เช่น
- จัดกิจกรรม “ถอดบทเรียนจากวิกฤต” บนแอปพลิเคชัน Clubhouse โดยเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการนโยบายสาธารณะ นักวิชาการ เยาวชน และประชาชนทั่วไปกว่า 200 คน เข้าร่วมรับฟัง แสดงความคิดเห็น และเสนอแนะแนวปฏิบัติในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยจากวิกฤตโรคโควิด 19
- จัดกิจกรรมผู้หญิงกับการออกแบบนโยบายและความเท่าเทียมกันทางเพศในนโยบายสาธารณะ ณ จังหวัดพะเยา ในเดือนมีนาคม 2565 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์จากเครื่อข่ายผู้นำสตรีในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเครื่องมือเชิงนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์สำหรับการออกแบบแนวทางป้องกันและยุติความรุนแรงทางเพศ
ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวมีความต่อเนื่องจากปี 2564
- จัดงานเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรมเชิงนโยบาย เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือนวัตกรรมเชิงนโยบาย กรณีศึกษา และแนวปฏิบัติที่ใช้ในระดับสากล ระหว่างองค์กรและสถาบันการศึกษาทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ซึ่งมีการจัดงานแล้ว 3 ครั้ง
- พัฒนาแพลตฟอร์มนวัตกรรมเชิงนโยบายเสมือนจริง (Virtual Policy Innovation Platform) โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลจากตัวอย่างของต่างประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการเชื่อมโยงผู้ใช้งานในภาคส่วนต่าง ๆ
- ถ่ายทอดนวัตกรรมเชิงนโยบายและวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ให้กับผู้กำหนดนโยบายระดับจังหวัด ท้องถิ่น และชุมชน ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ

 

 
                   3) ประโยชน์ที่คาดว่าประเทศจะได้รับจากการดำเนินโครงการความร่วมมือ RIC ประกอบด้วย (1) พัฒนาองค์ความรู้ด้านเครื่องมือนวัตกรรมเชิงนโนบายต้นแบบนโยบาย และนวัตกรรมเชิงนโยบายที่มีประสิทธิภาพที่สามารถแก้ไขปัญหาเชิงระบบและรับมือความท้าทายในปัจจุบัน ตลอดจนสามารถทดลองใช้และขยายผลต้นแบบนโยบายสู่การใช้งานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) เสริมสร้างศักยภาพของนักวางแผนนโยบายทั้งในระดับองค์กร ระดับท้องถิ่น และประชาสังคม ให้มีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ในการประยุกต์ใช้เครื่องมือนวัตกรรมเชิงนโยบายเพื่อออกแบบและพัฒนานโยบายที่ครอบคลุมมีประสิทธิภาพ และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในหลากหลายมิติ และ (3) สร้าง ขยาย และพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือของนวัตกร นักวางแผนนโยบาย ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการจากภาคส่วนต่าง ๆ ตลอดจนสร้างพันธมิตรทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล เพื่อร่วมกันพลิกโฉมและปฏิรูปกระบวนการจัดทำนโยบายและนำประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วและเติบโตอย่างก้าวกระโดด
_______________________________
1เป็นการรายงานผลการดำเนินงานตามปีปฏิทิน โดย ณ วันที่ เสนอเรื่องมายังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565) การดำเนินงานประจำปี 2565 ยังไม่สิ้นสุด จึงเป็นการรายงานความก้าวหน้า
 
28. เรื่อง ถ้อยแถลงร่วมเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบเนื้อหาของถ้อยแถลงร่วมเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่   17 –19 พฤศจิกายน 2565 และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปดำเนินการต่อไปตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กต. รายงานว่า
                   ไทยและซาอุดีอาระเบียเห็นพ้องที่จะจัดทำถ้อยแถลงร่วมฯ เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 17 - 19 พฤศจิกายน 2565 โดยมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 สถานเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียประจำประเทศไทยได้เสนอร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ของฝ่ายซาอุดีอาระเบียมาให้ฝ่ายไทยพิจารณา มีสาระสำคัญกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีไทย-ซาอุดีอาระเบีย โดยทั้งสองฝ่ายยินดีกับการลงนามความตกลงและบันทึกความเข้าใจทวิภาคี จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย (1) ร่างบันทึกความเข้าใจการจัดตั้งสภาความร่วมมือ  ซาอุดี – ไทย  (2) ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงระหว่างรัฐบาล แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (3) ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และ (4) ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย  และบันทึกความเข้าใจระหว่างองค์กรกำกับดูแลและต่อต้านการทุจริตราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และได้หารือในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการเมือง กลาโหม และความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ด้านพลังงาน ด้านสังคมและการศึกษา และด้านกิจการระหว่างประเทศ
 

แต่งตั้ง

29. เรื่อง รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการ (จำนวน 15 ราย)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของส่วนราชการ (จำนวน 15 ราย) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ของส่วนราชการบางแห่ง ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) มีการเกษียณอายุราชการและโยกย้ายเปลี่ยนตำแหน่ง ซึ่งส่วนราชการที่มีการเปลี่ยนแปลง ปคร. ดังกล่าว ได้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. คนใหม่ และแจ้งให้ สลค. ทราบเพิ่มเติม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ จำนวน 15 ราย ดังนี้

ส่วนราชการ รายชื่อ ปคร.
1. กห. พลเอก นุชิต ศรีบุญส่ง
รองปลัดกระทรวงกลาโหม
2. กค. นางวรนุช ภู่อิ่ม
รองปลัดกระทรวงการคลัง
3. กษ. นายอภัย สุทธิสังข์
รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4. พณ. นายวันชัย วราวิทย์
รองปลัดกระทรวงพาณิชย์
5. มท. นายสมคิด จันทมฤก
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย
6. สธ. นายทวีศิลป์ วิษณุโยธิน
รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข
7. วธ. นางโชติกา อัครกิจโสภากุล
รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม
8. สคก. นายกิตติศักดิ์ จุลสำรวล
กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ)
9. กปร. นางสุพร ตรีนรินทร์
ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
10. สกมช. พลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์
รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
11. สคทช. นายประเสริฐ ศิรินภาพร
รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
12. สำนักงาน ปปง. นายเทพสุ บวรโชติดารา
รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
13. สำนักงาน ป.ป.ท. นายพุฒิพงษ์ เลิศสถิตย์
รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
14. ตช. พลตำรวจโท กฤษฎา กาญจนอลงกรณ์
ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
15. สว. นายทศพร แย้มวงษ์
รองเลขาธิการวุฒิสภา

                   2. สลค. ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของ ปคร. ทั้ง 15 ราย ดังกล่าวแล้ว เป็นไปตามข้อ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา พ.ศ. 2551
 
30. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงสาธารณสุข
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอการแต่งตั้งโฆษกกระทรวงสาธารณสุข [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 มกราคม 2559) ที่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทุกกระทรวงแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่โฆษกกระทรวงอย่างเป็นทางการ แล้วแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมรายชื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ] เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง [เดิม สธ. ได้มีคำสั่ง สธ. ที่ 1129/2562 เรื่อง แต่งตั้งโฆษก สธ. ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2562 แต่งตั้ง (1) นายณรงค์ สายวงศ์ รองปลัด สธ. (2) นายรุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) และ (3) นายทวีศิลป์  วิษณุโยธิน สาธารณสุขนิเทศก์ เป็น โฆษก สธ.] ดังนั้น เพื่อให้การประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการดำเนินงาน สธ. เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล มีประสิทธิภาพ เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน สธ. จึงแต่งตั้งโฆษก สธ. ขึ้นใหม่ ซึ่ง สธ. ได้มีคำสั่ง สธ. ที่ 1607/2565 เรื่อง แต่งตั้งโฆษก สธ. ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ด้วยแล้ว ดังรายนามต่อไปนี้
                   1. นายทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัด สธ.
                   2. นายณรงค์ สายวงศ์ รองปลัด สธ.
                   3. ร้อยตำรวจเอก รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับ สธ. (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ)
 
31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอแต่งตั้ง นายกฤษณ์ กระแสเวส ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
32. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ครั้งที่ 2 (กระทรวงพาณิชย์)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอ ต่อเวลาการดำรงตำแหน่ง     ของ นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบการต่อเวลา 1 ปี (ครั้งที่ 1) ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 2) ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567
 
33. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ รวม 7 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 ดังนี้
                   1. พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข         ประธานกรรมการ
                   2. นายเจษฎา ศิวรักษ์                         กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ              
                   3. พลเรือเอก ทวีวุฒิ พงศ์พิพัฒน์             กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                   4. นายภาณุ จันทร์เจียวใช้                   กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                   5. นางรวีวรรณ ภูริเดช                        กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                   6. นายสมประสงค์ บุญยะชัย                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                   7. นายสุธรรม อยู่ในธรรม                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2566 เป็นต้นไป
 
 
34. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ จำนวน 2 คน เพื่อแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้น                 จากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้
                   1. นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ 
                   2. นายมณฑล สุดประเสริฐ
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2566 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
 
35. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุขในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายเกียรติภูมิ วงศ์รจิต  เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการแพทย์และสาธารณสุข) ในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ขอลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2566 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564 (เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการตามกฎหมาย/กรรมการและผู้บริหารขององค์การมหาชน)


ที่มา : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/64134