สาระน่ารู้


วุฒิสภา เปิดเผยหน้าที่และอำนาจของวุฒิสภา หลังประกาศยุบสภา


วุฒิสภาแจ้ง หน้าที่และอำนาจของวุฒิสภา หลังประกาศยุบสภา

  • หน้าที่นิติบัญญัติ

  1. หยุดปฏิบัติหน้าที่ด้านการพิจารณาและกลั่นกรองกฎหมาย

  2. ร่างกฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างพิจารณาเป็นอันตกไป (ม.147 วรรคหนึ่ง)

  3. กรณีร่างรัฐรรรมนูญแก้ไขพิ่มเติม หรือร่าง พ.ร.บ. ที่รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบที่ตกไป ถ้า ครม. ที่ตั้งขึ้นใหม่ร้องขอภายใน 60 วัน และรัฐสภาเห็นชอบด้วย ให้พิจารณาต่อไปได้ (อยู่ที่ขั้นตอนใดก็ให้ดำเนินการต่อในขั้นตอนนั้น) (ม.147 วรรคสอง)

  • หน้าที่ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน

    • คณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ ยังคงกระทำกิจการ พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริง หรือศึกษาเรื่องใด ๆ ได้ (ยกเว้นพิจารณาร่างกฎหมาย)

  • ทำหน้าที่วุฒิสภา (การประชุมสมัยวิสามัญ)

  • รัฐธรรมนูญ ม.126 (2) : วุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่ง ได้แก่

  1. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (ม.204)

  2. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ม.222)

  3. ผู้ตรวจการแผ่นดิน (ม.228)

  4. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ม.232)

  5. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ม.238)

  6. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ม.246)

  • ทำหน้าที่รัฐสภา (การประชุมสมัยวิสามัญ)

  • รัฐธรรมนูญ ม.126 (1) : กรณีต้องดำเนินการในฐานะรัฐสภา

  1. แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ม.17)

  2. การปฏิญาณตนของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (ม.19)

  3. รับกราบการแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พระพุทธศักราช 2467 (ม.20)

  4. รับทราบและอัญเชิญองค์พระรัชทายาทขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ (ม.21)

  5. ประกาศสงคราม (ม.177)

  • หน้าที่อื่น ๆ

    • โครงการ สว.พบประชาชน


ที่มา : https://www.facebook.com/photo/?fbid=540664211556891&amp%3Bset=a.241995514757097