สาระน่ารู้


สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 8 กรกฎาคม 2568


                     วันนี้ 8 กรกฎาคม 2568 เวลา 10.00 น. นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1  ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
 

 

กฎหมาย

                    
                     1.        เรื่อง     ขอถอนร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. ....
 
 

เศรษฐกิจ-สังคม

                    
                     2.        เรื่อง     โครงการลงทะเบียนเพื่อสำรวจประชาชนที่ไม่มีสมาร์ตโฟน
                     3.        เรื่อง     ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
                     4.        เรื่อง     การผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาซึ่งได้รับการขยายระยะเวลาการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานต่อไป
                     5.        เรื่อง     มาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล (ระยะที่ 2)
 
 

ต่างประเทศ

         
                     6.        เรื่อง     รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – จอร์แดน และไทย – อินเดีย (รวม 2 เรื่อง)
                     7.        เรื่อง     การขอขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ในการดำเนินงานศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาค กรุงเทพมหานคร - UNDP (Bangkok - UNDP Regional Innovation Center: RIC) หรือห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (Thailand Policy Lab: TPLab)
                     8.        เรื่อง     ผลการประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ของประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568
 

แต่งตั้ง

                    
                     9.        เรื่อง     การเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ตามมาตรา 14 (4) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
                     10.      เรื่อง     ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
                     11.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงมหาดไทย)
                     12.      เรื่อง     การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
                     13.      เรื่อง     รายงานความคืบหน้าการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
                     14.      เรื่อง     การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
                     15.      เรื่อง     การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                     16.      เรื่อง     การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี                                               
                     17.      เรื่อง    การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
 
 

 

*****************************

 
 
 
 

กฎหมาย

                    
1. เรื่อง ขอถอนร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ถอนร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... ออกจากการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     กค. เสนอว่า สืบเนื่องจากได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พุทธศักราช 2568 ประกอบกับร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิง ฯ มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาคสังคมจึงเห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะได้ให้ความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น จึงขอถอนร่างพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... ออกจากการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรมาเพื่อดำเนินการ
 
 

เศรษฐกิจ-สังคม

                    
2. เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสำรวจประชาชนที่ไม่มีสมาร์ตโฟน
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการลงทะเบียนเพื่อสำรวจประชาชนที่ไม่มีสมาร์ตโฟนและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสำรวจประชาชนที่ไม่มีสมาร์ตโฟนตามนัยข้อ 2. และมอบหมายให้ กค. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) หารือเพื่อกำหนดระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ ที่เหมาะสมต่อไปตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     กค. รายงานว่า
                     1. เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2567 นายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 โดยสามารถสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย ควบคู่กับการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางเป็นลำดับแรก และผลักดันโครงการดิจิทัลวอลเล็ต (Digital Wallet) ซึ่งจะเป็นการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลังเป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
                     2. คณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568 มีมติเห็นชอบหลักการโครงการลงทะเบียนเพื่อสำรวจประชาชนที่ไม่มีสมาร์ตโฟน และการมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการฯ ดังนี้
                               2.1 วัตถุประสงค์ สำรวจประชาชนที่ไม่มีสมาร์ตโฟน เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในระยะต่อไป
                               2.2 ช่องทางการลงทะเบียน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขต สำนักงานเมืองพัทยา สำนักงานเทศบาล ที่ทำการไปรษณีย์ หรือหน่วยงานอื่น ที่ ดศ. กำหนด
                               2.3 วิธีการลงทะเบียน เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอำนวยความสะดวกประชาชนให้ลงทะเบียนผ่านระบบที่ สพร. พัฒนาขึ้น
                               2.4 วิธีการตรวจสอบความไม่มีสมาร์ตโฟน สพร. ส่งเลขประจำตัวประชาชน (National Identification Number: NID) ของผู้ลงทะเบียนไปตรวจสอบกับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกราย โดยผู้มีประวัติการใช้งานข้อมูลอินเทอร์เน็ต (Internet Data) สะสมไม่เกิน 500 Megabyte (MB) ต่อหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ลงทะเบียนย้อนหลังในช่วงระยะเวลา 90 วัน นับจากวันที่ สพร. ส่งข้อมูลไปตรวจสอบ (T-90) จะถือเป็นผู้ที่ไม่มีสมาร์ตโฟน
                               2.5 ระยะเวลาการตรวจสอบ 3 สัปดาห์
                               2.6 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                         (1) สพร. เป็นผู้พัฒนาระบบการลงทะเบียน
                                         (2) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นผู้ตรวจสอบ “ความไม่มีสมาร์ตโฟน”
                                         (3) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เป็นหน่วยงานกลางในการรับ-ส่งข้อมูลของประชาชนระหว่าง สพร. กับผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
                                         (4) ดศ. ยกร่างข้อความตกลงยินยอม (Consent) หรือประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) บันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding: MOU) และดำเนินการอื่น ๆ ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
                                         (5) ดศ. เป็นหน่วยงานบริหารจัดการข้อมูลของโครงการฯ
                                         (6) สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเป็นผู้ดำเนินการเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
                     3. การดำเนินโครงการฯ จะทำให้รัฐบาลมีข้อมูลของประชาชนที่ไม่มีสมาร์ตโฟน ซึ่งไม่อาจเข้าถึงการดำเนินนโยบายหรือมาตรการของรัฐที่กำหนดให้ลงทะเบียนหรือที่ให้ตรวจสอบสิทธิ หรือที่ให้ใช้สิทธิผ่านแอปพลิเคชันทางรัฐหรือแอปพลิเคชันบนสมาร์ตโฟนนอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินนโยบายของรัฐ พัฒนาการบริการของภาครัฐ และวางแผนการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลตามนโยบายรัฐบาลได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพได้ต่อไป
 
 
3. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว เห็นชอบให้กองบัญชาการกองทัพไทยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินรวมทั้งสิ้น 342,930,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการบริหารจัดการที่ดินของประเทศและการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1: 4,000 (One Map) โดยเบิกจ่ายในงบรายจ่ายอื่น ดังนี้

รายการ

วงเงิน (บาท)

1. โครงการจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศประเทศไทย มาตราส่วน 1:4,000 พื้นที่ กลุ่มจังหวัดที่ 1
    1.1 งานจัดซื้อจัดจ้าง
          - งานเช่าเครื่องมือถ่ายภาพทางอากาศและสำรวจความสูงภูมิประเทศ             
          - งานเช่าเครื่องมือจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศประเทศไทย
          - งานซื้อเครื่องมือสำรวจข้อมูลภูมิภาคประเทศ
          - งานซื้อเครื่องมือทำแผนที่สามมิติ

312,930,000
 
306,930,000
70,000,000
128,460,000
20,892,000
22,028,000

          - งานซื้อ Drone เพื่องานสำรวจ

10,000,000

          - งานซื้อเครื่องมือระบบประมวลผลจัดทำแผนที่และข้อมูลภูมิสารสนเทศ

55,550,000

    1.2 งบดำเนินงาน (งบเชื้อเพลิงอากาศยาน)

6,000,000

2. โครงการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ
    - งานสำรวจ เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก ค่าจ้างเหมายานพาหนะค่าวัสดุสำนักงาน

30,000,000

รวม

342,930,000

                     ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2568 คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติได้เห็นชอบการขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวแล้ว
 
4. เรื่อง การผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาซึ่งได้รับการขยายระยะเวลาการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานต่อไป
                     คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ เรื่อง การผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาซึ่งได้รับการขยายระยะเวลาการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานต่อไป ซึ่งประกอบด้วยการให้ความเห็นชอบในเรื่องดังต่อไปนี้
                     1. เห็นชอบแนวทางการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ซึ่งได้รับการขยายระยะเวลาการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานต่อไป และร่างประกาศที่เกี่ยวข้อง รวม 2 ฉบับ ได้แก่
                               (1) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ….
                               (2) ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ....
                     2. ให้ รง. โดยกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาซึ่งได้รับการขยายระยะเวลาการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานต่อไป และประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจให้นายจ้าง/ผู้ประกอบการ แรงงานต่างด้าว และผู้ที่เกี่ยวข้อง รับทราบข้อมูลการดำเนินการดังกล่าวอย่างทั่วถึง
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     1. โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2567 ได้เห็นชอบแนวทางการขยายระยะเวลาการต่ออายุใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวในลักษณะ MOU ของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 และเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ซึ่งประกอบด้วยคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 และให้นายจ้างหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายจ้าง ดำเนินการยื่นบัญชีรายชื่อคนต่างด้าว ยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว และพาคนต่างด้าวไปขอรับการตรวจลงตรา และตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 (เมื่อดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดแล้วคนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2570) ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ผ่อนผันให้กลุ่มแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา และเมียนมา ที่นายจ้างหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายจ้างได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการ จ้างแรงงานต่างด้าวไว้แล้ว ให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรและทำงานในราชอาณาจักรได้ชั่วคราวต่อไปได้เพื่อให้ไปดำเนินการขออนุญาตทำงานได้อย่างถูกต้องต่อไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 13 สิงหาคม 2568 โดยนายจ้างจะต้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 13 สิงหาคม 2568 ได้แก่ เมื่อมีการรับรองบัญชีรายชื่อดังกล่าวจากประเทศต้นทางแล้ว ให้นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวและพาคนต่างด้าวไปขอรับการตรวจลงตราและตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและเมื่อดำเนินการถูกต้องครบถ้วนตามที่กำหนดแล้วคนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2570 และสามารถต่ออายุได้อีกครั้งเดียว ไม่เกิน 2 ปี ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2572 ทั้งนี้ หากไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในวันที่ 13 สิงหาคม 2568 จะมีผลทำให้คนต่างด้าวมีสถานะที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
                     2. ด้วยปัญหาความไม่สงบภายในประเทศเมียนมา รวมทั้งภัยพิบัติแผ่นดินไหว ซึ่งส่งผลกระทบอย่างร้ายแรง ทำให้ทางการเมียนมาไม่สามารถรับรองบัญชีรายชื่อความต้องการ จ้างแรงงานต่างด้าวได้ทันกำหนดระยะเวลาการผ่อนผันในวันที่ 13 สิงหาคม 2568 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนก่อนที่นายจ้างจะยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว โดยจากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า มีคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวไว้แล้วจำนวนประมาณ 1.8 ล้านคน ดังนั้น เพื่อให้คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่การอนุญาตทำงานจะสิ้นสุดในวันที่ 13 สิงหาคม 2568 สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงาน ต่อไปได้ โดยไม่มีสถานะที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย อันเป็นการป้องกันมิให้เกิดปัญหาความขาดแคลนแรงงานจนกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ รง. จึงได้กำหนดแนวทางการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักร และทำงานต่อไปได้ สรุปได้ ดังนี้
 

การผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมาซึ่งได้รับการขยายระยะเวลาการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

• คนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาที่นายจ้างได้ยื่นบัญชีรายชื่อความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568

ขั้นตอน
การดำเนินการ

• ผ่อนผันให้คนต่างด้าวกลุ่มเป้าหมายอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อทำงานเป็นระยะเวลา 6 เดือน ระหว่างวันที่ 14 สิงหาคม 2568 ถึง 13 กุมภาพันธ์ 2569 และดำเนินการดังต่อไปนี้
 1. ให้คนต่างด้าวไปดำเนินการตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน ยกเว้นกรณีทำงานกับนายจ้างในกิจการซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องเข้าประกันสังคม จะต้องทำประกันสุขภาพ
 2. ให้นายจ้างยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวภายในวันที่ 13 ธันวาคม 2568 ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก พร้อมชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน จำนวน 1,900 บาท (ค่าธรรมเนียมคำขอจำนวน 100 บาท และค่าธรรมเนียมใบอนุญาต จำนวน 1,800 บาท) และวางหลักประกัน 1,000 บาท ต่อการจ้างคนต่างด้าวหนึ่งคน ยกเว้นบริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศที่ได้รับมอบอำนาจจากนายจ้าง เนื่องจากได้วางเงินหลักประกัน 5 ล้านบาท ไว้กับกรมการจัดหางานแล้ว
 3. นายทะเบียนพิจารณาคำขออนุญาตทำงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 13 มกราคม2569 และเมื่อตรวจสอบคำขอและเอกสารหลักฐานเห็นว่าถูกต้องและครบถ้วนแล้วให้อนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2570
 4. ให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานไปดำเนินการขอรับการตรวจลงตรา

การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

• รง. ได้เสนอร่างประกาศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในเรื่องนี้ รวม 2 ฉบับ (1) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ….
 และ (2) ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติเมียนมาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ....
 • กระทรวงสาธารณสุข และสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ดำเนินการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพให้แก่คนต่างด้าวกลุ่มเป้าหมาย
• สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการตรวจลงตรา

 
                     3. ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ครั้งที่ 4/2568 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2568 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกับเรื่องดังกล่าวแล้ว
 
5. เรื่อง มาตรการอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาทตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล (ระยะที่ 2)
                     คณะรัฐมนตรีมีติ ดังนี้
                     1. เห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                               1.1 เห็นชอบการทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 การดำเนินมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล สำหรับรถไฟฟ้าสายสีม่วงและรถไฟฟ้าสายสีแดง จากกรอบเวลาสิ้นสุดมาตรการวันที่ 30 พฤศจิกายน 2568 ให้ทบทวนจากเดิมเป็นสิ้นสุดมาตรการถึงวันที่ 30 กันยายน 2568
                               1.2 เห็นชอบแนวทางการดำเนินมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสายตามนโยบายรัฐบาล (ระยะที่ 2) (มาตรการฯ ระยะที่ 2) ตามที่ คค. เสนอ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล เรื่อง การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล เพื่อรองรับนโยบาย “ค่ายโดยสารราคาเดียว” ตลอดสาย และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ตามที่ คค. เสนอ
                               1.3 มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
                                          1.3.1 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ดำเนินการปรับปรุงแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” เพื่อให้รองรับการยืนยันตัวตน ลงทะเบียนบัตรโดยสาร และการเข้าถึงข้อมูลการใช้สิทธิของประชาชน และพัฒนาระบบบริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH)
                                         1.3.2 กทม. พิจารณาดำเนินการมาตรการฯ ระยะที่ 2 ในส่วนโครงการรถไฟฟ้าภายใต้การกำกับของ กทม. ให้สอดคล้องตามแนวทางการดำเนินมาตรการฯ ระยะที่ 2 ที่ คค. เสนอ และเป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
                                          1.3.3 รฟม. และ กทม. ในฐานะหน่วยงานกำกับสัญญาร่วมทุนโครงการรถไฟฟ้าในเขต กทม. และปริมณฑล เร่งรัดดำเนินการเจรจากับคู่สัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงแก้ไขสัญญาสัมปทานหรือจัดทำบันทึกข้อตกลง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน เพื่อรองรับการดำเนินมาตรการฯ ระยะที่ 2 ให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด
                      2. รับทราบการดำเนินมาตรการฯ ระยะที่ 2 สำหรับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) สายนัคราพิพัฒน์ (สายสีเหลือง) และสายสีชมพู ของการรถไฟฟ้าขนส่งแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2569 ถึง 30 กันยายน 2569
                     3. อนุมัติหลักการการดำเนินมาตรการฯ ระยะที่ 2 สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงและโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตลิงก์) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)  เป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2569
                     4. ค่าใช้จ่ายและแหล่งเงินในการดำเนินการมาตรการ ให้ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.)
                      5. ให้ คค . และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับความเห็นหน่วยงานไปพิจารณา และดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ มติ ครม. ที่เกี่ยวข้องต่อไป
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     1) รัฐบาลได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2567 ว่า รัฐบาลจะกำหนดโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมในเขต กทม. เพื่อรองรับนโยบาย “ค่าโดยสารราคาเดียว” ตลอดสาย เพื่อลดภาระค่าเดินทางของประชาชน ซึ่งในปัจจุบันกระทรวงคมนาคม (คค.) ได้ดำเนินการมาตรการค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย สำหรับรถไฟฟ้าสายสีแดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และรถไฟฟ้าสายสีม่วงของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แล้ว ซึ่งมีกำหนดสิ้นสุดมาตรการในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2568 ดังนั้น คค. จึงได้เสนอมาตรการอัตราค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ตลอดสาย ตามนโยบายรัฐบาล (ระยะที่ 2) (มาตรการฯ ระยะที่ 2) เพื่อดำเนินมาตรการอย่างต่อเนื่องภายใต้นโยบายของรัฐบาล รวมถึงขยายผลการดำเนินมาตรการค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุด 20 บาท ตลอดสายตามนโยบายรัฐบาล ให้ครอบคลุมโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล จำนวน 13 เส้นทาง (จากเดิม 3 เส้นทาง ได้แก่ สายสีแดงอ่อน สายสีแดงเข้ม และสายสีม่วง) ทั้งในส่วนรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟท. รฟม. และ กทม.
โครงข่ายรถไฟฟ้าที่จะดำเนินการตามมาตรการฯ ระยะที่ 2 จำนวน 13 เส้นทาง

หน่วยงาน
รับผิดชอบ

สายรถไฟฟ้า

เส้นทาง

รฟท.

สีแดงเข้ม

กรุงเทพอภิวัฒน์ - รังสิต

สีแดงอ่อน

กรุงเทพอภิวัฒน์ - ตลิ่งชัน

แอร์พอร์ตลิงก์

พญาไท - สุวรรณภูมิ

รฟม.

สีน้ำเงิน

บางซื่อ - หัวลำโพง

หัวลำโพง - บางแค (หลักสอง)

บางซื่อ - ท่าพระ

สีม่วง

บางใหญ่ - เตาปูน

สีเหลือง

ลาดพร้าว - สำโรง

สีชมพู

แคราย - มีนบุรี

กทม.

สีเขียว (สุขุมวิท)

หมอชิต - สมุทรปราการ

หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต

สีเขียว (สีลม)

สนามกีฬาแห่งชาติ - บางหว้า

สีทอง

กรุงธนบุรี - คลองสาน

 
                     2) มาตรการฯ ระยะที่ 2 มีการกำหนดเงื่อนไขในการใช้บริการ ดังนี้
                               2.1 กำหนดสิทธิเฉพาะผู้โดยสารที่มีเลขประจำตัวประชาชนของคนไทย 13 หลัก (นักท่องเที่ยวต่างชาติจะไม่ได้รับสิทธิ)
                               2.2 เดินทางด้วยบัตรโดยสาร 2 ประเภท คือ (1) บัตร Europay Mastercard and Visa (EMV) Contactless Card  และ (2) บัตรเติมเงินประเภทบัตรผ่านระบบบัญชีบัตร (Account Based Ticketing system: ABT) เช่น บัตร Rabbit แบบ ABT
                               2.3 ต้องลงทะเบียนบัตรโดยสารผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ”
                               2.4 กรณีเดินทางข้ามโครงข่ายผู้โดยสารต้องเดินทางเข้า – ออก บริเวณจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้า (Interchange) ที่กำหนดไว้เท่านั้น
                     ทั้งนี้ หากผู้โดยสารดำเนินการไม่ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้จะต้องชำระค่าโดยสารในราคาปกติ
                     3) ในการดำเนินมาตรการฯ ระยะที่ 2 คค. มีแนวทางในการดำเนินการโดยพัฒนาระบบของรถไฟฟ้าเพื่อรองรับการดำเนินมาตรการฯ ระยะที่ 2 เช่น การติดตั้งระบบบัตรโดยสาร EMV Contactless Card สำหรับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ รวมถึงการพัฒนาระบบศูนย์บริหารจัดการรายได้กลาง (Central Clearing House : CCH) ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลและแจ้งยืนยันการเดินทางข้ามโครงข่ายของบัตรโดยสาร EMV Contactless Card และบัตรโดยสารRabbit ABT และการชดเชยรายได้ค่าโดยสารในโครงข่ายรถไฟฟ้าของ รฟท. รฟม. และ กทม.
                     4) ผลประโยชน์และผลกระทบจากการดำเนินมาตรการฯ ระยะที่ 2
                               4.1 คค. ได้ประมาณการผลตอบแทนที่จะได้รับจากการดำเนินมาตรการฯ ระยะที่ 2 ในปีงบประมาณ 2569 โดยประเมินในเชิงปริมาณและมูลค่าจากจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าที่ได้รับประโยชน์ใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีสมมติฐานในการประมาณการมูลค่าผลประโยชน์ในปีงบประมาณ 2569 รวมมูลค่า 21,812.46 ล้านบาท
                               4.2 ผลกระทบในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมีปริมาณผู้โดยสารในระบบจำนวนมาก ทำให้อาจมีผลกระทบต่อความจุของระบบ กรณีมีการดำเนินมาตรการฯ ระยะที่ 2 ดังนั้น รฟม. จะดำเนินการหาแนวทางและปรับปรุงความจุของระบบเพื่อรองรับผู้โดยสารก่อนเริ่มดำเนินมาตรการต่อไป
 
 
 

ต่างประเทศ

 
6. เรื่องรายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย – จอร์แดน และไทย – อินเดีย (รวม 2 เรื่อง)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1.รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - จอร์แดน
                               1.1 รับทราบบันทึกการหารือระหว่างไทย - จอร์แดน ฉบับลงนาม เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566
                               1.2 เห็นชอบร่างพิธีสารระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างราชอาณาจักร
ฮัชไมต์จอร์แดนและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ลงนามเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2518 (ร่างพิธีสารระหว่างไทย
- จอร์แดนฯ) และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ คค. ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
                               1.3 อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนาม
ร่างพิธีสารระหว่างไทย - จอร์แดนฯ และให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม
(Full Powers) ให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายตั้งกล่าวด้วย
                               1.4 เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของไทย
                               1.5 มอบให้ กต. ดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันมีผลใช้บังคับของร่างพิธีสารระหว่างไทย - จอร์แดนฯ ต่อไป โดยให้ กต. สามารถตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ
                     2. รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย - อินเดีย
                               2.1 รับทราบบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย - อินเดีย
                               2.2  เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตของไทย
                               2.3 มอบให้ กต. ดำเนินการแลกเปลี่ยนหนังสือทางการทูตยืนยันการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวต่อไป โดยให้ กต. สามารถปรับถ้อยคำตามความเหมาะสมที่ไม่กระทบกับสาระสำคัญ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     ประเทศไทยได้เจรจาหรือทวิภาคีกับราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน (จอร์แดน) และสาธารณรัฐอินเดีย (อินเดีย) เกี่ยวกับการดำเนินการบริการเดินอากาศระหว่างกัน รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

การเจรจาทวิภาคี

สาระสำคัญ

การเจรจาระหว่างไทย – จอร์แดน

ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะปรับปรุงแก้ไขความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างไทย – จอร์แดน ที่จัดทำขึ้นตั้งแต่ปี 2518 เช่น
(1) ปรับปรุงข้อบทเกี่ยวกับความปลอดภัยการบิน : เพิ่มข้อกำหนดให้แต่ละฝ่ายสามารถร้องขอให้มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยด้านการบินได้ และอนุญาตให้แต่ละฝ่ายสามารถตรวจสอบอากาศยานของฝ่ายหนึ่งได้เมื่ออากาศยานดังกล่าวอยู่ในอาณาเขตของตน
(2) ปรับปรุงข้อบทเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยการบิน : เพิ่มข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเหตุการณ์การยึดเครื่องบินพลเรือนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงกำหนดให้สายการบินสามารถให้สิทธิการเข้าถึงข้อมูลผู้โดยสารได้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยและความมั่นคงของชาติ ซึ่งจะต้องมีการกำหนดมาตรการรักษาความของข้อมูลดังกล่าวด้วย
(3) ปรับปรุงข้อบทเกี่ยวกับพิกัดอัตราค่าขนส่ง เช่น
(3.1) ปรับปรุงให้ทั้งสองฝ่ายสามารถกำหนดพิกัดอัตราค่าขนส่งได้เองตามความเหมาะสม (เดิมกำหนดให้การกำหนดพิกัดอัตราค่าขนส่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่เดินอากาศของทั้งสองฝ่าย)
(3.2) เพิ่มข้อกำหนดให้แต่ละฝ่ายสามารถดำเนินการแทรกแซงได้ เพื่อวัตถุประสงค์ 1) ยับยั้งการกำหนดอัตราค่าขนส่งที่เป็นการกีดกันคู่แข่งขันให้ออกจากเส้นทางบิน 2) คุ้มครองผู้บริโภคจากการตั้งราคาที่สูงเกินควร และ 3) เพื่อปกป้องสายการบินของตนจากการตั้งราคาที่ต่ำเกินจริงของสายการบินคู่แข่งที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล
ทั้งนี้ การแก้ไขความตกลงดังกล่าวจะดำเนินการโดยการจัดทำพิธีสาร

การเจรจาระหว่างไทย – อินเดีย

ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะปรับปรุงใบพิกัดเส้นทางบินและสิทธิความจุ สรุปได้ ดังนี้
(1) ปรับปรุงใบพิกัดเส้นทางบินของประเทศอินเดีย : เพิ่มจุดในประเทศไทยที่สายการบินของอินเดียสามารถแวะรับ/ขนส่งผู้โดยสารได้อีก 4 จุด จากเดิมที่มีอยู่แล้ว 6 จุด ดังนี้

จุดในไทยที่กำหนดไว้เดิม

จุดในไทยที่ปรับปรุงใหม่ในครั้งนี้

กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ เกาะสมุย อู่ตะเภา

กรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ เกาะสมุย อู่ตะเภา เชียงราย หาดใหญ่
สุราษฎร์ธานี อุดรธานี

(2) ปรับปรุงสิทธิความจุ : ขยายสิทธิความจุ (จำนวนที่นั่ง) สำหรับเส้นทางบินที่จำกัดความจุความถี่เดิม ดังนี้

สิทธิปกติ

สิทธิเพิ่มเติมจากสิทธิปกติ

สิทธิเพิ่มเติม
ที่กำหนดไว้เดิม

ระยะที่ 1

ระยะที่ 2

ได้สูงสุด 23,609
ที่นั่งต่อสัปดาห์

เพิ่มความจุให้กับสายการบินอีก 6,150 ที่นั่งต่อสัปดาห์

เพิ่มความจุให้กับสายการบินอีก 7,000 ที่นั่งต่อสัปดาห์ รวมเป็นสิทธิเพิ่มเติม 13,150 ที่นั่งต่อสัปดาห์

เพิ่มความจุให้กับสายการบินอีก 7,000 ที่นั่งต่อสัปดาห์ รวมเป็นสิทธิเพิ่มเติม 20,150 ที่นั่งต่อสัปดาห์

ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว

จำกัดจำนวนเที่ยวสูงสุด 7 เที่ยวต่อสัปดาห์

จำกัดจำนวนเที่ยวสูงสุด 14 เที่ยวต่อสัปดาห์

จำกัดจำนวนเที่ยวสูงสุด  21 เที่ยวต่อสัปดาห์

 ทั้งนี้ การปรับปรุงใบพิกัดเส้นทางบินจะต้องจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตเพื่อให้มีผลบังคับใช้

                     ผลจากการเจรจาหารือข้างต้นส่งผลให้มีเอกสารที่เกี่ยวข้องที่กระทรวงคมนาคม (คค.) ขอเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบและให้ความเห็นชอบมาในครั้งนี้ ได้แก่ (1) บันทึกการหารือระหว่างไทย - จอร์แดน (2) ร่างพิธีสารระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ว่าด้วยการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ลงนามเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2518 (ร่างพิธีสารระหว่างไทย - จอร์แดนฯ) (3) บันทึกความเข้าใจระหว่างไทย - อินเดีย และ (4) ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนทางการทูตระหว่างประเทศไทยกับ 2 ประเทศ ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการทำให้ผลการเจรจาการบินระหว่างประเทศไทยกับทั้ง 2 ประเทศ ข้างต้นมีผลใช้บังคับ
                     ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง กต. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) พิจารณาแล้วเห็นชอบ/ไม่ขัดข้อง  โดยหน่วยงานดังกล่าวมีความเห็นเพิ่มเติมเช่น สมช. เห็นควรให้หน่วยงานด้านความมั่นคงให้ความสำคัญต่อการดำเนินมาตรการการคัดกรองการเข้าประเทศอย่างเข้มงวดมากขึ้น สศช. เห็นควรกำหนดแนวทางในการปรับปรุงใบพิกัดและบริหารจัดการการจัดสรรตารางเวลาการบินระหว่างประเทศไทยและอินเดียให้มีความเหมาะสมและสมดุลยิ่งขึ้น ตลอดจนพัฒนาระบบบริหารจัดการท่าอากาศยาน โดยการนำระบบที่ทันสมัยมาใช้เพื่อบรรเทาปัญหาความแออัดของท่าอากาศยาน
 
 
7. เรื่อง การขอขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ในการดำเนินงานศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาค กรุงเทพมหานคร - UNDP (Bangkok - UNDP Regional Innovation Center: RIC) หรือห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย (Thailand Policy Lab: TPLab)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
                     1. เห็นชอบร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ในการดำเนินงานศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาคกรุงเทพมหานคร - UNDP (Bangkok - UNDP Regional Innovation Center: RIC) (ศูนย์ RIC) (ร่างพิธีสารฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างพิธีสารฯในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ สศช. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                     2. อนุมัติให้เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างพิธีสารฯ ของฝ่ายไทย พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม
                     3. เห็นชอบกรอบวงเงินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ UNDP ในการดำเนินงานศูนย์ RIC (โครงการความร่วมมือ RIC) รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 72,000,000 บาท โดย สศช. จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
(ร่างพิธีสารฯ เป็นการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการความร่วมมือ RIC จากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เป็นวันที่ 30 กันยายน 2570 เพื่อขยายผลกระบวนการพัฒนานวัตกรรมนโยบายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแก่ประเทศไทยมากที่สุด)
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบความตกลงศูนย์ RIC รัฐบาลไทย โดย สศช. และ UNDP ได้ร่วมมือกันดำเนินงานศูนย์ RIC โดยมีกรอบในการดำเนินงาน 3 ด้าน ประกอบด้วย (1) การพัฒนานวัตกรรมเชิงนโยบายระดับภูมิภาค (2) การเสริมสร้าง ขีดความสามารถด้านนวัตกรรมเชิงนโยบายให้กับบุคลากรของหน่วยงานต่าง ๆ และ (3) การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ของนวัตกร ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติขยายระยะเวลา ความตกลงศูนย์ RIC มาแล้ว 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดสิ้นสุดลงในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568   ทั้งนี้ ที่ผ่านมา (31 สิงหาคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2568) ได้มีการดำเนินกิจกรรมภายใต้ศูนย์ RIC รวมทั้งสิ้น63 กิจกรรม เช่น

กิจกรรม

วัตถุประสงค์

ผลลัพธ์จากการดำเนินกิจกรรม

การอบรมเกี่ยวกับกระบวนการ
สร้างสรรค์นวัตกรรมทางนโยบาย
การออกแบบกฎ ระเบียบ สำหรับ
สื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพ

เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้
เรื่องนวัตกรรมนโยบาย
แบบมีส่วนร่วมและเครื่องมือ
นวัตกรรมนโยบาย

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านการออกแบบกระบวนการ
นโยบายสาธารณะด้านสื่อสารมวลชน

การอบรมหลักสูตรผู้นำด้านยุทธศาสตร์การค้าและการพัฒนา

เพื่ออบรมและฝึกปฏิบัติ
เครื่องมือนวัตกรรมนโยบาย
เพื่อวางยุทธศาสตร์การค้าและการพัฒนาผ่านเครื่องมือ
แห่งอนาคต

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ด้านการวางแผนยุทธศาสตร์
การค้าและการพัฒนาผ่านเครื่องมือแห่งอนาคตและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

Thailand Policy Lab Handbook

เพื่อเผยแพร่ความรู้ การถอดบทเรียนจากประสบการณ์การทำงานของ Thailand Policy Lab
และเครื่องมือนวัตกรรม
นโยบายฉบับพร้อมใช้งาน

หนังสือ Thailand Policy Lab Handbook ฉบับภาษาไทย
และภาษาอังกฤษเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์และพิมพ์เผยแพร่
จำนวน 150 เล่ม

                     2. เรื่องนี้เป็นการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพิธีสารเพื่อแก้ไขความตกลงความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการ พัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ในการดำเนินงาน ศูนย์นวัตกรรมระดับภูมิภาคกรุงเทพมหานคร - UNDP (Bangkok-UNDP Regional Innovation Center: RIC) (โครงการความร่วมมือ RIC) (ร่างพิธีสารฯ) พร้อมให้ความเห็นชอบกรอบวงเงิน เพื่อขับเคลื่อนโครงการความร่วมมือ RIC จำนวน 2,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 72,000,000 บาท เพิ่มเติมจากเดิม 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งร่างพิธีสารฯ มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการความร่วมมือฯ ออกไปอีก 31 เดือน (ครั้งที่ 4) นับแต่วันสิ้นสุดความตกลงว่าด้วยโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติในการดำเนินงานศูนย์ RIC (ความตกลงศูนย์ RIC) จาก 28 กุมภาพันธ์ 2568 เป็น วันที่ 30 กันยายน 2570 (มีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2570) เพื่อผลักดันการใช้นวัตกรรมเชิงนโยบายในการออกแบบนโยบายระดับชาติและขยายผลการพัฒนานวัตกรรมนโยบายเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายสาธารณะ โดยที่ผ่านมามีผลการดำเนินโครงการความร่วมมือ RIC ที่สำคัญทั้งสิ้น จำนวน 63 ชิ้นงาน เช่น การพัฒนาเครื่องมือและกระบวนการแบบใหม่ รวมทั้งการขยายผลต่อยอดร่วมกับภาคีเครือข่ายการดำเนินงาน โดยเฉพาะการพัฒนาและทดลองใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะ 8 ขั้นตอนและการประยุกต์ใช้เครื่องมือเชิงนโยบายต่าง ๆ ในพื้นที่จริง นอกจากนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีแนวทางในการดำเนินโครงการความร่วมมือ RIC ในระยะต่อไป โดยขยายผลนวัตกรรมนโยบายสาธารณะจากองค์ความรู้ของห้องปฏิบัติการนโยบายประเทศไทย โดยการนำองค์ความรู้และเครื่องมือการพัฒนานวัตกรรมนโยบายสาธารณะไปขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสาธารณะ และสร้างเครือข่ายความรู้นวัตกรรมนโยบายสาธารณะในระดับภูมิภาค ผ่านกลไกของ UNDP
                     ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาแล้วเห็นด้วย/เห็นสมควรให้ความเห็นชอบ/ไม่มีข้อขัดข้องตามที่ สศช. เสนอ เนื่องจากจะช่วยส่งเสริมการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องบรรลุเป้าหมาย และเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านนวัตกรรมและเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรของไทย โดย สงป. เห็นควรให้ สศช. ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายจากงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณีตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ส่วนกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ร่างพิธีสารฯ เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้น สศช. จึงขอให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายซึ่งเป็นผู้ลงนามในร่างพิธีสารฯ ของฝ่ายไป
 
8. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ของประเทศไทย ครั้งที่ 1/2568
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการกำกับการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (The Organisation for Economic Co - operation and Development: OECD) ของประเทศไทย (คณะกรรมการกำกับฯ) ครั้งที่ 1/2568 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมต่อตามที่ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     1. ในคราวประชุมคณะกรรมการกำกับฯ ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568 (นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน) ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการดำเนินการใน 3 ประเด็น ดังนี้
                               1.1 แนวทางการดำเนินงานในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย
ในระยะถัดไป
                                         (1) เห็นชอบการกำหนดเป้าหมายของประเทศไทยในการเป็นสมาชิก OECD อย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030)
                                         (2) มอบหมายหน่วยงานรัฐทุกหน่วยงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงานเพื่อสนับสนุนการเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทยรวมทั้งพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD และดำเนินกิจกรรมการสร้างปฏิสัมพันธ์กับประเทศสมาชิก OECD
                                         (3) มอบหมายสำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD (accession costs) และงบประมาณอื่น ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภารกิจและกิจกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ตามความจำเป็นและเหมาะสม
                                         (4) มอบหมาย สศช. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบการจ่ายเงินอุดหนุนให้แก่ OECD เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD จนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการเข้าเป็นสมาชิกโดยให้ดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง
                                         (5) เห็นชอบให้แต่งตั้งอธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นผู้ประสานงานหลักในประเทศ และแต่งตั้งเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส เป็นผู้ประสานงานหลักประจำการ ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
                                         (6) เห็นชอบในหลักการในการพิจารณาส่งเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ในช่วงกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD และมอบหมายให้ สศช. กต. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการกำกับฯ ดำเนินการตามระเบียบและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                                         (7) มอบหมาย กต. ดำเนินการสื่อสารกับประชาชนเกี่ยวกับประโยชน์และผลกระทบที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเข้าเป็นสมาชิก OECD
                               1.2 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการกำกับฯ
 
 

คณะอนุกรรมการ

ประธาน

อำนาจหน้าที่

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในประเทศ
เพื่อเข้าเป็นสมาชิก OECD

เลขาธิการ
สภาพัฒนาการ
เศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ

กำหนดแนวทาง วางแผน และขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านนโยบายและแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินการเพื่อเข้าเป็น
สมาชิก OECD ของประเทศไทย ตลอดจนกำกับ เร่งรัด ติดตาม และประเมินผลการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านนโยบายและแนวปฏิบัติและรายงานต่อคณะกรรมการกำกับฯ

คณะอนุกรรมการ
สร้างความสัมพันธ์
กับ OECD

ปลัดกระทรวง
การต่างประเทศ

กำหนดนโยบายและแนวทางในการยกระดับ
ความร่วมมือกับ OECD ในทุกมิติ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและมาตรฐาน OECD ได้แก่ การขอรับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกต่อการสมัครสมาชิก OECD ของประเทศไทยการมีส่วนร่วมในกลไกความร่วมมือต่าง ๆ ของ OECD และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศสมาชิก OECD

คณะอนุกรรมการ
ปรับกฎหมายและกฎระเบียบ
ตามมาตรฐาน OECD

เลขาธิการ
คณะกรรมการ
กฤษฎีกา

ศึกษาวิเคราะห์ความสอดคล้องของกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศกับตราสารทางกฎหมาย ของ OECD กำหนดนโยบายและแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้อง
กับตราสารทางกฎหมายของ OECD รวมทั้งสนับสนุน กำกับ ดูแล เร่งรัด และติดตาม
การรายงานผลการดำเนินงานของส่วน
ราชการหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน
ภาคประชาสังคมหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง
กับการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศให้สอดคล้องกับตราสารทาง
กฎหมายของ OECD

                              
                     1.3 การมอบหมายหน่วยงานหลักในการดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการ OECD
                               เห็นชอบการมอบหมายหน่วยงานหลักจำนวน 34 หน่วยงานในการดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการ OECD จำนวน 26 คณะ โดยให้หน่วยงานหลักประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมโดยมีตาราง การมอบหมายหน่วยงานหลักในการดำเนินการร่วมกับคณะกรรมการ OECD ดังนี้

ลำดับ

คณะกรรมการ OECD

หน่วยงานหลัก

1

คณะกรรมการการลงทุนและคณะทำงานว่าด้วย
การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (Investment Committee and the Working Party on Responsible Business Conduct)

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
การลงทุน (สกท.)

กระทรวงยุติธรรม (ยธ.)
(กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ)

2

คณะทำงานว่าด้วยการต่อต้านการให้สินบน
เจ้าหน้าที่ของรัฐต่างประเทศในการทำธุรกรรมทางธุรกิจระหว่างประเทศ (Working Group on Bribery in International Business Transactions)

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(สำนักงาน ป.ป.ช.)

3

คณะกรรมการการกำกับดูแลกิจการ
(Corporate Governance Committee)

กระทรวงการคลัง (กค.) (สำนักงาน
คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ: สคร.)

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน กลต.)

4

คณะกรรมการตลาดการเงิน
(Committee on Financial Markets)

กค. (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง: สศค.)

5

คณะกรรมการการประกันภัยและเงินบำนาญส่วนบุคคล (Insurance and Private Pensions Committee)

กค. (สศค.)

6

คณะกรรมการการแข่งขัน
(Competition Committee)

สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า

7

คณะกรรมการการคลัง
(Committee on Fiscal Affairs)

กค. (กรมสรรพากร)

8

คณะกรรมการนโยบายสิ่งแวดล้อม
(Environment Policy Committee)

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

9

คณะกรรมการเคมีภัณฑ์และเทคโนโลยีชีวภาพ
(Chemicals and Biotechnology Committee)

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)

กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
(กรมโรงงานอุตสาหกรรม และ
สำนักงาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)

10

คณะกรรมการธรรมาภิบาลภาครัฐ
(Public Governance Committee)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.)

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.)

11

คณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านงบประมาณ
(Committee of Senior Budget Officials)

สำนักงบประมาณ (สงป.)

12

คณะกรรมการนโยบายด้านกฎระเบียบ
(Regulatory Policy Committee)

สคก.

13

คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาภูมิภาค
(Regional Development Policy Committee)

กระทรวงมหาดไทย (มท.)
(สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย)

14

คณะกรรมการสถิติและนโยบายสถิติ
(Committee on Statistics and Statistical Policy)

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ
และสังคม (ดศ.) (สำนักงานสถิติแห่งชาติ)

15

คณะกรรมการเศรษฐกิจและการพัฒนา
(Economic and Development Review Committee)

สศช.

16

คณะกรรมการนโยบายการศึกษา
(Education Policy Committee)

กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาและสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ)

17

คณะกรรมการการจ้างงาน แรงงาน และกิจการสังคม
( Employment, Labour and Social Affairs Committee)

กระทรวงแรงงาน (รง.)
(สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน)

กระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) (สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)

18

คณะกรรมการสุขภาพ (Health Committee)

กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
(สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)

19

คณะกรรมการการค้า
และคณะทำงานว่าด้วย
สินเชื่อเพื่อการส่งออก
และการค้ำประกันสินเชื่อ
(Trade Committee and the Working Party on Export Credits and Credit Guarantees)

คณะกรรมการการค้า
(Trade Committee)

กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
(กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ)

คณะทำงานว่าด้วยสินเชื่อ
เพื่อการส่งออก
และการค้ำประกันสินเชื่อ
(Working Party on Export
Credits and Credit Guarantees)

กค. (สศค.)

20

คณะกรรมการการเกษตร
(Committee for Agriculture)

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
(สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร)

21

คณะกรรมการการประมง (Fisheries Committee)

กษ. (กรมประมง)

22

คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(Committee for Scientific and Technological
Policy)

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
(สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)

อว. (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ)

23

คณะกรรมการนโยบายดิจิทัล
(Digital Policy Committee)

ดศ. (สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)

24

คณะกรรมการนโยบายผู้บริโภค
(Committee on Consumer Policy)

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(สปน.) (สำนักงานคณะกรรมการ
คุ้มครองผู้บริโภค)

25

คณะกรรมการเหล็ก (Steel Committee)

อก. (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม)

26

คณะกรรมการการต่อเรือ
(Shipbuilding Committee)

กระทรวงคมนาคม (คค.) (กรมเจ้าท่า)

อก. (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม)

                     2. นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ สศช. นำผลการประชุมคณะกรรมการกำกับฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2568 เสนอคณะรัฐมนตรี
                     3. สศช. แจ้งว่า การเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการกำกับฯ ในครั้งนี้ จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตระหนักรู้ถึงภารกิจหน้าที่ในการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของประเทศไทย รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงกฎหมาย นโยบาย และแนวปฏิบัติให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD และดำเนิน กิจกรรมการสร้างปฏิสัมพันธ์กับประเทศสมาชิก OECD ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายการเป็นสมาชิก OECD อย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030)
 
 

แต่งตั้ง

 
9. เรื่อง การเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ตามมาตรา 14 (4) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม เสนอแต่งตั้ง นายกิตติ สุระคำแหง เป็นกรรมการ (ด้านสิทธิมนุษยชน) ในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ตามมาตรา 14 (4) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 แทน นายสมชาย หอมลออ กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการ ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
 
10. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เสนอการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายชยธรรม์ พรหมศร ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงคมนาคม (คค.) ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบการต่อเวลา 1 ปี (ครั้งที่ 1) ในวันที่ 30 กันยายน 2568 ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 2) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2568 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2569
 
11. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงมหาดไทย)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                     1. นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมการปกครอง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     3. นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการปกครอง
                     4. ร้อยตำรวจโท ภพชนก ชลานุเคราะห์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
12. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 รายตามลำดับ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม เสนอ ดังนี้
                     1. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุชาติ ตันเจริญ)
                     2. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร สินธุไพร)
 
13. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการสรรหาผู้อำนวยการ สวส. และเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการสรรหาผู้อำนวยการ สวส. เป็นระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ 25 มิถุนายน 2568 โดยให้การขยายระยะเวลาในครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ให้คณะกรรมการฯ รายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อรับทราบต่อไป และให้ สวส. และคณะกรรมการฯ รับข้อสังเกตของ สคก. และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
 
14. เรื่อง การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 320/2567 ลงวันที่ 17 กันยายน 2567 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบเป็นต้นไป
                             คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 206/2568 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง
                    ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 3 กันยายน 2567 พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 และสำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 320/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ลงวันที่ 17 กันยายน 2567 นั้น
                        อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 11 มาตรา 12 มาตรา 41มาตรา 42 มาตรา 48 และมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงเห็นควรยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 320/2567 ลงวันที่ 17 กันยายน 2567 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี และมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้
                    ส่วนที่ 1 คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                    1.  ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน ตามลำดับ ดังนี้
                          (1)   นายภูมิธรรม    เวชยชัย
                          (2)   นายสุริยะ        จึงรุ่งเรืองกิจ
                          (3)   นายพีระพันธุ์    สาลีรัฐวิภาค
                          (4)   นายพิชัย         ชุณหวชิร
                          (5)   นายประเสริฐ    จันทรรวงทอง
 
                    2.  ในการรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ผู้รักษาราชการแทนตาม 1. (1)  มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับนายกรัฐมนตรี ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่ในการเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการหรือองค์กรใด ตลอดจนสั่งการใดอันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
                     3. ในกรณีที่ผู้รักษาราชการแทนตาม 1. (2) - (5) จะสั่งการใดอันเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลและการอนุมัติเงินงบประมาณอันอยู่ในอำนาจของนายกรัฐมนตรี ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน
                   
                    ส่วนที่  2  การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                     ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้รองนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
 

ลำดับที่

รองนายกรัฐมนตรี

รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ

1

นายภูมิธรรม    เวชยชัย

1. นายสุริยะ         จึงรุ่งเรืองกิจ

 2. นายพีระพันธุ์      สาลีรัฐวิภาค

2

นายสุริยะ        จึงรุ่งเรืองกิจ

 1. นายพีระพันธุ์     สาลีรัฐวิภาค

 2. นายพิชัย          ชุณหวชิร

3

นายพีระพันธุ์    สาลีรัฐวิภาค

 1. นายพิชัย          ชุณหวชิร

 2. นายประเสริฐ     จันทรรวงทอง

4

นายพิชัย         ชุณหวชิร

 1. นายประเสริฐ     จันทรรวงทอง

 2. นายภูมิธรรม      เวชยชัย

5

นายประเสริฐ    จันทรรวงทอง

 1. นายภูมิธรรม      เวชยชัย

 2. นายสุริยะ         จึงรุ่งเรืองกิจ

 
                        ส่วนที่  3  การมอบหมายและมอบอำนาจให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                     ในกรณีที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีท่านใดท่านหนึ่งไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ ดังนี้
 

ลำดับที่

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่ปฏิบัติราชการแทนกันตามลำดับ

1

นายชูศักดิ์       ศิรินิล

1. นางสาวจิราพรสินธุไพร

2. นายสุชาติ        ตันเจริญ

2

นางสาวจิราพร  สินธุไพร

1. นายสุชาติ        ตันเจริญ

2. นายชูศักดิ์        ศิรินิล

3

นายสุชาติ  ตันเจริญ   

1. นายชูศักดิ์        ศิรินิล

2. นางสาวจิราพร   สินธุไพร

                       
                     ทั้งนี้   ตั้งแต่วันที่  4  กรกฎาคม  พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป
                               สั่ง ณ วันที่  4  กรกฎาคม  พ.ศ. 2568
 
15. เรื่อง การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี

 

                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 313/2567 ลงวันที่ 16 กันยายน 2567 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 7/2568 ลงวันที่ 6 มกราคม 2568 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 103/2568 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2568 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 184/2568 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2568 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                             คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 207/2568 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี
                        ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 3 กันยายน 2567 และพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 ประกอบกับคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 313/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 16 กันยายน 2567 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 7/2568 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 6 มกราคม 2568 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 103/2568 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 24 มีนาคม 2568 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 184/2568 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2568 นั้น
                    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 (2) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 313/2567 ลงวันที่ 16 กันยายน 2567 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 7/2568 ลงวันที่ 6 มกราคม 2568 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 103/2568 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2568 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 184/2568 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2568 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี และให้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี และกำกับดูแลแทนนายกรัฐมนตรี สำหรับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐ ตามลำดับ ดังต่อไปนี้
ส่วนที่ 1  นิยาม
                                    ในคำสั่งนี้
                     “กำกับการบริหารราชการ” หมายความว่า  กำกับโดยทั่วไปซึ่งการบริหารราชการแผ่นดินของส่วนราชการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายของคณะรัฐมนตรีหรือนายกรัฐมนตรี มีอำนาจสั่งให้ส่วนราชการชี้แจงแสดงความคิดเห็นหรือรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการหรือการปฏิบัติงาน สั่งสอบสวนข้อเท็จจริง ตลอดจนอนุมัติให้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี และอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 กันยายน 2567 เกี่ยวกับการมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีที่ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีอนุญาตหรืออนุมัติเรื่องต่าง ๆ ของส่วนราชการในกำกับการบริหารราชการไปก่อนได้ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ รวมถึงอนุมัติให้นำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี 
“สั่งและปฏิบัติราชการ” หมายความว่า สั่ง อนุญาต หรืออนุมัติให้ส่วนราชการ หรือข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ ปฏิบัติราชการหรือดำเนินการใด ๆ ได้ตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้บังคับบัญชา รัฐมนตรีเจ้าสังกัดหรือรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง
                     “กำกับดูแล”  หมายความว่า กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาล และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสั่งให้รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐชี้แจง แสดงความคิดเห็น ทำรายงาน หรือยับยั้งการกระทำของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนหรือหน่วยงานของรัฐที่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐ นโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และสั่งสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินการ
 
ส่วนที่ 2
                     1.    รองนายกรัฐมนตรี  (นายภูมิธรรม   เวชยชัย)
                            1.1  การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                    1.1.1      กระทรวงกลาโหม
                                    1.1.2      กระทรวงการต่างประเทศ
                                    1.1.3      กระทรวงมหาดไทย
                                    1.1.4      กระทรวงยุติธรรม                                                  
                            1.2   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                                    1.2.1      สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
                                    1.2.2      สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ
                                    1.2.3      สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
                                    1.2.4      สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
                                    1.2.5      สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
                                    1.2.6      ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
 
                                 1.3  ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.2 ยกเว้น
                                    1.3.1      เรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมาย
                                    1.3.2      การสถาปนาพระอิสริยยศ อิสริยศักดิ์ สมณศักดิ์
                                          1.3.3       การแต่งตั้ง ในกรณีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ข้าราชการตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงและกรม เอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ กงสุล และกรรมการที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญ
                                    1.3.4      การพระราชทานยศทหาร ตำรวจ ชั้นนายพล
                                    1.3.5      การพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี                                    
                                    1.3.6       การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการประกาศใช้ความตกลงระหว่างประเทศ
                                    1.3.7       เรื่องสำคัญที่เคยมีประเพณีปฏิบัติให้เสนอนายกรัฐมนตรีลงนาม
 
ส่วนที่ 3
2.    รองนายกรัฐมนตรี  (นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ)
        2.1  การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                    2.1.1      กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 
                                    2.1.2      กระทรวงคมนาคม
                                    2.1.3      กระทรวงแรงงาน
                                    2.1.4      กระทรวงวัฒนธรรม
                                    2.1.5      กระทรวงสาธารณสุข                  
                          2.2   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                                  2.2.1      สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
                                    2.2.2      สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ             
                            2.3   การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                                    2.3.1      สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)                  
                                    2.3.2      สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน)
                                          2.3.3       สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
                            2.4 ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7
 
ส่วนที่ 4
3.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค)
                            3.1    การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                    3.1.1      กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                                    3.1.2      กระทรวงพลังงาน 
                                    3.1.3      กระทรวงอุตสาหกรรม
                                          3.1.4       สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                                    3.1.5      สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                                    3.1.6      สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
                                    3.1.7      สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
                            3.2   การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                                    3.2.1      สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
                            3.3  การดำเนินคดีปกครอง รวมทั้งลงนามมอบอำนาจให้พนักงานอัยการดำเนินคดีปกครองกรณีที่มีการฟ้องนายกรัฐมนตรี
                            3.4   ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.2 ยกเว้นการดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7
ส่วนที่ 5
4.  รองนายกรัฐมนตรี  (นายพิชัย  ชุณหวชิร)
                            4.1   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                    4.1.1      กระทรวงการคลัง
                                    4.1.2      กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                                    4.1.3      กระทรวงพาณิชย์
                                    4.1.4      สำนักงบประมาณ (ยกเว้นที่เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของนายกรัฐมนตรีตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ)                    
                          4.2   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                                  4.2.1      สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                                  4.2.2      สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
                            4.3   การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้                               4.3.1       สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                           4.4    ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 4.1 ถึงข้อ 4.3 ยกเว้น การดำเนินการตามกรณีในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7
ส่วนที่ 6
5.   รองนายกรัฐมนตรี  (นายประเสริฐ  จันทรรวงทอง)
                           5.1      การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                    5.1.1      กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
                                    5.1.2      กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม                           
                                    5.1.3      กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   
                                    5.1.4      กระทรวงศึกษาธิการ
                                    5.1.5      กรมประชาสัมพันธ์
                                    5.1.6      สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
                                    5.1.7      สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง           
                          5.2   การมอบหมายและมอบอำนาจให้กำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                                  5.2.1      สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
                                  5.2.2      สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ                         
                            5.3    การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                                    5.3.1      สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ
                                    5.3.2      สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
                                          5.3.3        สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
                                          5.3.4       สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)
                                          5.3.5       สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)                                                        
                            5.4   ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการมีพระบรมราชโองการในเรื่องตามข้อ 5.1 ถึงข้อ 5.3 ยกเว้นการดำเนินการตามกรณี ในข้อ 1.3.1 ถึงข้อ 1.3.7
 
ส่วนที่ 7
                       6.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์  ศิรินิล)
                            6.1     การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                    6.1.1      สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
                                    6.1.2      สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
                                    6.1.3      สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                                    6.1.4      สำนักงบประมาณ
ส่วนที่ 8
                      7.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นางสาวจิราพร  สินธุไพร)
                             7.1   การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                                    7.1.1      กรมประชาสัมพันธ์
                                    7.1.2      สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค                    
                                    7.1.3       สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง
7.2  การมอบหมายให้กำกับดูแลองค์การมหาชนและหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                                    7.2.1      สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)  
                                    7.2.2      สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)        
                                    7.2.3      สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ                
ส่วนที่ 9
                      8.  รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  (นายสุชาติ  ตันเจริญ)
                             8.1   การมอบหมายและมอบอำนาจให้สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
                                    8.1.1      สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                                    8.1.2      สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
                                    8.1.3      สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รวมทั้งราชการของราชบัณฑิตยสภา)
  8.2   การมอบหมายให้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
                                    8.2.1      บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)
ส่วนที่ 10
                      9.  รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับการบริหารราชการส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานของรัฐแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจให้ความเห็นชอบและลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี หรือประกาศเกี่ยวกับเรื่องของหน่วยงานนั้น ๆ  ดังนี้
                          9.1      การแต่งตั้งบุคคลหรือกรรมการในหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจนั้น
                          9.2      การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่ชาวต่างประเทศ ยกเว้น เป็นเรื่องระดับผู้นำรัฐบาลหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
                         9.3       การให้ความเห็นชอบในการรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราจากต่างประเทศ
                         9.4       การประกาศภาพเครื่องหมายราชการ
                  10.  รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้มีอำนาจปฏิบัติแทนนายกรัฐมนตรีในการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการในหน่วยงานที่สั่งและปฏิบัติราชการ
                  11.    ให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนราชการใด เป็นประธาน อ.ก.พ. ทำหน้าที่ อ.ก.พ. กระทรวงของส่วนราชการนั้นด้วย 
                  12.    ราชการที่รองนายกรัฐมนตรีได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ หากรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ และอาจมีผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นส่วนรวม หรือต้องสั่งการแก่หลายส่วนราชการหรือหลายรัฐวิสาหกิจแต่บางส่วนมิได้อยู่ในอำนาจหน้าที่กำกับการบริหารราชการของรองนายกรัฐมนตรีผู้หนึ่งผู้ใดโดยตรง ให้นำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อวินิจฉัยสั่งการ
                  13. เมื่อรองนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้วให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบเป็นระยะตามความเหมาะสม
                  14.    ในการปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจตามคำสั่งนี้ ให้รองนายกรัฐมนตรีบริหารราชการโดยมุ่งมั่นจะสร้างความสามัคคี ปรองดอง ให้เกิดขึ้นในสังคมไทย ซึ่งจะนำไปสู่ความร่วมมือกันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของประเทศให้ก้าวหน้าเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
                               สั่ง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป
 
16. เรื่อง การมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 314/2567 ลงวันที่ 16 กันยายน 2567 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 426/2567 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 472/2567 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2567 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                     คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 208/2568 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 3 กันยายน 2567 และพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 ประกอบกับคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 314/2567 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 16 กันยายน 2567 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 426/2567 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 472/2567 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2567 นั้น
                    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 และมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 และพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 314/2567 ลงวันที่ 16 กันยายน 2567 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 426/2567 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 472/2567 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2567 และมีคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี  ดังนี้
ส่วนที่ 1
                    1. รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม  เวชยชัย)
                        1.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                1.1.1      สภาความมั่นคงแห่งชาติ 
                                1.1.2      คณะกรรมการคดีพิเศษ 
                                1.1.3      คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด  
                                1.1.4      คณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้  
                        1.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                1.2.1      คณะกรรมการกำลังพลสำรอง  
                                1.2.2      คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ  
                                1.2.3      คณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ  
                                1.2.4      คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ  
                                1.2.5      คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน  
                                1.2.6      คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
                                1.2.7      คณะกรรมการอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
                                1.2.8      คณะกรรมการนโยบายการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
                                1.2.9      คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                        1.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                1.3.1      คณะกรรมการด้านการคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ  
                                1.3.2      คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ  
                                1.3.3      คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ
                                1.3.4      คณะกรรมการกำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการประปาแห่งชาติ   
                                1.3.5      คณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ   
                                1.3.6      คณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ  
                                1.3.7      คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่โดยรอบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ  
                                1.3.8      คณะกรรมการพัฒนาระบบการติดตามคนหาย และการพิสูจน์คนนิรนามและศพนิรนาม  
                                1.3.9      คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการพัฒนาเพื่อเสริมความมั่นคงของชาติ  
                                1.3.10    คณะกรรมการนโยบายรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ                     
                                1.3.11    คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี
                                1.3.12    คณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
                                1.3.13    คณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ  
                        1.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                1.4.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ  
                                1.4.2      รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ  
                                1.4.3      กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
ส่วนที่ 2
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ)
                        2.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                2.1.1      คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ  
                                2.1.2      คณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี   
                                2.1.3      คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
                                2.1.4      คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์   
                                2.1.5      คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น   
                                2.1.6      คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ                                 
                        2.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                2.2.1      คณะกรรมการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์
                                2.2.2      คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ 
                                2.2.3      คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์  
                        2.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                2.3.1      คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย  
                                2.3.2      คณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ  
                                2.3.3      คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ 
                                2.3.4      คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
                                2.3.5      คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
                                2.3.6      คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด  
                                2.3.7      คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ
                                2.3.8      คณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติ
                                2.3.9      คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ
                                2.3.10    คณะกรรมการอาหารแห่งชาติ  
                                2.3.11    คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  
                                2.3.12    คณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม  
                                2.3.13    คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดการเทียบตำแหน่ง  
                                2.3.14    คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ   
                                2.3.15    คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน  
                        2.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                2.4.1      คณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง   
                                2.4.2      คณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ 
                                2.4.3      คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ  
                                2.4.4      คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ  
                                2.4.5      คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ  
                        2.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                2.5.1      รองประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ 
                                2.5.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้  
                                2.5.3      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  
                                2.5.4      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย 
                                2.5.5      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
                                2.5.6      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก
                                2.5.7      อุปนายกสภาลูกเสือไทย 
                                2.5.8      กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
 
                        2.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                2.6.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 
                                2.6.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ  
                                2.6.3      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ 
                                2.6.4      รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สิน
                                             ทางปัญญาแห่งชาติ 
                                2.6.5      รองประธานกรรมการคนที่ 1 ในคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ 
                                2.6.6      กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน 
                                2.6.7      กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
ส่วนที่ 3
                    3. รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค)
                        3.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                3.1.1      คณะกรรมการกฤษฎีกา  
                                3.1.2      คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ  
                                3.1.3      คณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ  
                                3.1.4      คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ  
                                3.1.5      คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ  
                                3.1.6      คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  
                        3.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                3.2.1      คณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ  
                        3.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                3.3.1      คณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 
                                3.3.2      คณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติ 
                                3.3.3      คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ  
                                3.3.4      คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว  
                                3.3.5      คณะกรรมการประสานและกำกับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์  
                                3.3.6      คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
                                               
                        3.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                3.4.1      คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ 
                                3.4.2      คณะกรรมการนโยบายที่อยู่อาศัยแห่งชาติ 
                                3.4.3      คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์ครอบครัวแห่งชาติ 
                                3.4.4      คณะกรรมการป้องกันเจ้าหน้าที่ของรัฐมิให้เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ 
                                3.4.5      คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม 
                                3.4.6      คณะกรรมการเร่งรัดการปฏิบัติราชการ 
                                3.4.7      คณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์  
                                3.4.8      คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ  
                                3.4.9      คณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน   
                                3.4.10    คณะกรรมการกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี   
                        3.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                3.5.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ  
                                3.5.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง
                                             และขนาดย่อม  
                                3.5.3      รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  
                                3.5.4      กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
                        3.6    การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                3.6.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ  
                                3.6.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์
                                3.6.3      กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
 
ส่วนที่ 4
                    4. รองนายกรัฐมนตรี  (นายพิชัย  ชุณหวชิร)
                        4.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                4.1.1      คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ  
                                4.1.2      คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน  
                                4.1.3      คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ  
                                4.1.4      คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
                                4.1.5      คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ  
                                4.1.6      คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน  
                                4.1.7      คณะกรรมการนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย  
                                4.1.8      คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก  
                        4.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                4.2.1      คณะกรรมการนโยบายทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ  
                                4.2.2      คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ  
                                4.2.3      คณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ                         
                                4.2.4      คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน   
                                4.2.5      คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ   
                                4.2.6      คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ   
                                4.2.7      คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ

                        4.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                4.3.1      คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร  
                                4.3.2      คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน  
                        4.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                4.4.1      คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร  
                                4.4.2      คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ  
                                4.4.3      คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ  
                                4.4.4      คณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน  
                                4.4.5      คณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ  
                                4.4.6      คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษถนนราชดำเนิน  
                                4.4.7      คณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน  
                                4.4.8      คณะกรรมการสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน
                                             โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
 
                        4.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                4.5.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  
                                4.5.2      กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
                        4.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                4.6.1      รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน      
                                4.6.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ  
                                4.6.3      กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
 
ส่วนที่ 5
                    5. รองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ  จันทรรวงทอง)
                        5.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                5.1.1      คณะกรรมการพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ  
                                5.1.2      คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ  
                                5.1.3      คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ         
                                5.1.4      คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  
                                5.1.5      สภานายกสภาลูกเสือไทย  
                                5.1.6      คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม  
                                5.1.7      คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ  
                                5.1.8      คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ   
                                5.1.9      คณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล   
                        5.2 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                5.2.1      คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ  
                                5.2.2      คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ  
                        5.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย  ดังนี้
                                5.3.1      คณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการแร่แห่งชาติ  
                                5.3.2      คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเล
                                             และชายฝั่งแห่งชาติ  
                                5.3.3      คณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน  
                                5.3.4      คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา   
                                5.3.5      คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเด็กปฐมวัย  
                                5.3.6      คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ             
                   
                        5.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                5.4.1      คณะกรรมการภูมิสารสนเทศแห่งชาติ  
                                5.4.2      คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ                                        5.4.3    คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ  
                                5.4.4      คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก  
                                5.4.5      คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า  
                                5.4.6      คณะกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ  
                                5.4.7      คณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  
                        5.5 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                5.5.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 
                                5.5.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
                                  5.5.3      รองประธานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
                                5.5.4      กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ
                        5.6 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                5.6.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ 
                                5.6.2      รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการนโยบายทรัพย์สิน
                                             ทางปัญญาแห่งชาติ 
                      5.6.3      กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี 
                                5.6.4      กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                                5.6.5      กรรมการในคณะกรรมการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
 
ส่วนที่ 6
                    6. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายชูศักดิ์  ศิรินิล)
                        6.1  การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                6.1.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ  
                                6.1.2      กรรมการในคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ  
                                6.1.3      กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                                6.1.4      กรรมการในคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก  
                                 
                        6.2  การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                6.2.1      รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน   
                                6.2.2      รองประธานกรรมการ คนที่ 2 ในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ
                                6.2.3      กรรมการในคณะกรรมการประสานการบริการด้านการลงทุน
                                6.2.4      กรรมการในคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ   
 
ส่วนที่ 7
                    7. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นางสาวจิราพร  สินธุไพร)
                        7.1 การมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการแทนนายกรัฐมนตรีในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                7.1.1      คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค                                  
                        7.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                7.2.1      กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน  
                        7.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                7.3.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ  
                                7.3.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการนโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์  
                                7.3.3      รองประธานกรรมการ คนที่ 1 ในคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม  
                                7.3.4      รองประธานกรรมการ คนที่ 3 ในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติ  
 
ส่วนที่ 8
                    8. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุชาติ  ตันเจริญ)
                        8.1 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                8.1.1      คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ    
                        8.2 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                8.2.1      คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรของหน่วยงานของรัฐ
                        8.3 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย ดังนี้
                                8.3.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม  
                        8.4 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้
                                8.4.1      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์  
                                8.4.2      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ  
                                8.4.3      รองประธานกรรมการในคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน  
ส่วนที่ 9
                     9.  เมื่อรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจแล้ว ให้รายงานนายกรัฐมนตรีทราบทุกสามสิบวัน
                     10. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในคำสั่งนี้ พิจารณาความจำเป็นและความเหมาะสมในการยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าว หากเห็นว่าหมดความจำเป็นหรือซ้ำซ้อนกับภารกิจของหน่วยงานอื่น หรืออาจยุบรวมคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เข้าด้วยกัน หรือปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยการยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง หรือจัดทำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีขึ้นใหม่ โดยยึดหลักการมีผู้รับผิดชอบภารกิจอย่างชัดแจ้ง การไม่ปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกัน และการบูรณาการภารกิจให้เกิดการประสานและสอดคล้องรองรับกัน แล้วเสนอผลการพิจารณา และข้อเสนอแนะ ตลอดจนร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมหรือจัดทำขึ้นใหม่ต่อคณะรัฐมนตรี ในกรณีที่เห็นควรให้คงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ๆ ไว้ตามเดิมให้รายงานเหตุผลและความจำเป็นด้วยเช่นกัน
                    11.  ในส่วนการแต่งตั้งให้รัฐมนตรีคนใดดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการนั้น
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
                               สั่ง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป
 
17. การมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 315/2567 ลงวันที่ 16 กันยายน 2567 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 378/2568 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 407/2567 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
                    คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่  209/2568 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค
                        ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นางสาวแพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีตามประกาศลงวันที่ 16 สิงหาคม 2567 พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 3 กันยายน 2567 และพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 ประกอบกับคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 315/2567 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ 16 กันยายน 2567 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 378/2567 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 407/2567 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 นั้น
                    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค พ.ศ. 2547 ประกาศคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ เรื่อง การจัดตั้งภาค กลุ่มจังหวัด และกำหนดจังหวัดที่เป็นศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัด ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 221/2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ ลงวันที่ 10 กันยายน 2561 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2568 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 315/2567 ลงวันที่ 16 กันยายน 2567 คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 378/2567 ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2567 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 407/2567 ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 และมีคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาค ดังต่อไปนี้
1.  พื้นที่
                               1.1  รองนายกรัฐมนตรี (นายภูมิธรรม  เวชยชัย) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
                                      1) เขตตรวจราชการที่ ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน ประกอบด้วย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา
                                      2) เขตตรวจราชการที่ 10 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี
                                      3)  เขตตรวจราชการที่ 15 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน 
                                      4) เขตตรวจราชการที่ 16 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดเชียงราย จังหวัดน่าน จังหวัดพะเยา และจังหวัดแพร่
1.2  รองนายกรัฐมนตรี (นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
                                      1) เขตตรวจราชการที่ 6 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ประกอบด้วย จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดพังงา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดระนอง และจังหวัดสตูล
                                      2) เขตตรวจราชการที่ 11 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดสกลนคร
                                      3) เขตตรวจราชการที่ 17 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดตาก จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุตรดิตถ์
                                       4) เขตตรวจราชการที่ 18 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดอุทัยธานี
1.3  รองนายกรัฐมนตรี (นายพีระพันธุ์  สาลีรัฐวิภาค) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้               
                                       1)  เขตตรวจราชการที่ 3 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี       
                                      2) เขตตรวจราชการที่ 5 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ประกอบด้วย จังหวัดชุมพร จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดพัทลุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี  และจังหวัดสงขลา
                                      3) เขตตรวจราชการที่ 8 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 1 ประกอบด้วย จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
                                    1.4  รองนายกรัฐมนตรี (นายพิชัย  ชุณหวชิร) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
                                      1) เขตตรวจราชการที่ 1 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย จังหวัดชัยนาท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสระบุรี จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง
                                      2) เขตตรวจราชการที่ 2 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรปราการ
                                      3) เขตตรวจราชการที่ 9 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด  ภาคตะวันออก 2 ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว   
1.5  รองนายกรัฐมนตรี (นายประเสริฐ  จันทรรวงทอง) กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการ ดังนี้
                                      1) เขตตรวจราชการที่ 4 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสาคร
                                      2) เขตตรวจราชการที่ 12 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วย จังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด 
                                       3) เขตตรวจราชการที่ 13 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์
                                       4) เขตตรวจราชการที่ 14 ของสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แก่ กลุ่มจังหวัด  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ  และจังหวัดอุบลราชธานี
                    2.  การกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามคำสั่งนี้ หมายถึง การตรวจราชการ การขอให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรายงานเหตุการณ์และผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาล และนายกรัฐมนตรี ยุทธศาสตร์ชาติ ยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด การประสานราชการเพื่อให้เกิดการบูรณาการยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัด และยุทธศาสตร์จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม การเร่งรัด การติดตามผล การให้คำแนะนำช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ และการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐ รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องในการดำเนินโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐ โดยให้คณะกรรมการธรรมาภิบาลจังหวัดมีส่วนร่วมในการตรวจสอบด้วย
                    3.  ให้รองนายกรัฐมนตรีรายงานปัญหาอุปสรรค แนวทางการแก้ไข ตลอดจนข้อเสนอแนะต่าง ๆ อันเนื่องจากการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการหรือพื้นที่ในความรับผิดชอบต่อนายกรัฐมนตรี
                    4.  ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่รองนายกรัฐมนตรีติดภารกิจจำเป็นเร่งด่วน สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการปฏิบัติหน้าที่แทนแล้วรายงานผลการปฏิบัติงานให้ทราบต่อไป
                    5.  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการกระทรวง และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด ที่เกี่ยวข้องเสนอข้อมูล อำนวยความสะดวก และให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งนี้ด้วย
                    6.  ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี จากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป โครงการเพิ่มขีดสมรรถนะในการกำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคของรองนายกรัฐมนตรี
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
                               สั่ง ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2568 เป็นต้นไป


ที่มา : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/98280