สาระน่ารู้


สำนักงานกิจการยุติธรรม แนะนำทรัพย์สินคู่สมรสวางแผนอย่างไรให้ลงตัว


สำนักงานกิจการยุติธรรม แนะนำทรัพย์สินคู่สมรสวางแผนอย่างไรให้ลงตัว

  • การวางแผนทรัพย์สินของคู่สมรส จะทำสัญญาก่อนและหลังสมรสกันก็ได้ เพื่อลลดปัญหาความขัดแย้งในภายครอบครัว หากไม่ได้ทำสัญญาไว้ ให้บังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ถ้าคู่สมรส “ไม่ได้ทำสัญญา” เรื่องทรัพย์สินไว้เป็นพิเศษก่อนสมรส ตามกฎหมายเรื่องทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส แยกไว้เป็น “สินส่วนตัว” และ “สินสมรส”

  • สัญญาเกี่ยวกับทรัพย์สินที่คู่สมรสทำไว้ในระหว่างสมรส ฝ่ายใดจะ “บอกเลิกสัญญา” ในเวลาที่เป็นคู่สมรสหรือภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ขาดจากการสมรสก็ได้

  • กรณีสินสมรสเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือที่มีเอกสารสำคัญ คู่สมรสฝ่ายใดจะร้องขอให้ “ลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมกัน” ในเอกสารได้

  • คู่สมรสต้อง “จัดการสินสมรส” ร่วมกันหรือได้รับความยินยอม (เป็นหนังสือ) จากอีกฝ่ายหนึ่ง ในกรณี

1) ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนองอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์

2) ก่อตั้ง หรือทำให้สิ้นสุดซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน และภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์

3) ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี

4) ให้กู้ยืมเงิน

5) ให้โดยเสน่หา ยกเว้นการให้ที่สมควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล/สังคม/ตามหน้าที่จรรยา

6) ประนีประนอมยอมความ

7) มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

8) นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
 

  • คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวน บำรุงรักษา หรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส ซึ่งถ้ามีหนี้เกิดขึ้นให้ถือว่าเป็นหนี้ที่คู่สมรสเป็น “ลูกหนี้ร่วมกัน“

  • คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง “ไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสเกินส่วนของตน” ให้บุคคลอื่น

  • กรณีคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง “มีอำนาจจัดการทรัพย์สินฝ่ายเดียว” ให้อีกฝ่ายมีอำนาจจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวตามสมควรแก่อัตภาพ โดยให้ค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย

  • กรณีคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง “จัดการหรือกำลังทำให้สินสมรสเกิดความเสียหายอย่างมาก” อีกฝ่ายสามารถร้องขอให้ศาลสั่งห้ามหรือจำกัดอำนาจนี้ได้

  • คู่สมรสสามารถร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้เป็นผู้จัดการสินสมรสผู้เดียว หรือสั่งให้แยกสินสมรส หรือกำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวได้ ในกรณีที่คู่สมรสอีกฝ่ายที่มีอำนาจจัดการสินสมรส กระทำการ ดังนี้

1) จัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายอย่างมาก

2) ไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่าย

3) มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือทำหนี้เกินกึ่งหนึ่งของสินสมรส

4) ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายโดยไม่มีเหตุสมควร

5) มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความหายนะให้แก่สินสมรส

  • ในระหว่างที่เป็นคู่สมรสกัน ฝ่ายใด “จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายไม่ได้” ยกเว้นในคดีที่ฟ้องร้อง หรือค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าธรรมเนียมศาล

  • กรณีคู่สมรสฝ่ายใดต้องรับผิด “ชำระหนี้ส่วนตัว” ให้ชำระด้วย “สินส่วนตัว” เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วย “สินสมรสที่เป็นส่วนของตนเอง“

  • กรณีคู่สมรสเป็น “หนี้ร่วม” ให้ชำระหนี้จาก “สินสมรสและสินส่วนตัว” ของทั้งสองฝ่าย

  • หนี้ที่คู่สมรสเป็น “ลูกหนี้ร่วมกัน” ให้รวมหนี้ที่คู่สมรสก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสด้วย ดังนี้

    • 1) หนี้เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู การรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว และการศึกษาบุตร ตามสมควรแก่อัตภาพ

    • 2) หนี้ที่เกี่ยวกับสินสมรส

    • 3) หนี้ที่เกิดขึ้นจากการงานที่คู่สมรสทำด้วยกัน

    • 4) หนี้ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายได้ให้สัตยาบัน (รับรอง)

  • กรณีคู่สมรส “มีคำพิพากษาให้ล้มละลาย” สินสมรสย่อมแยกจากกัน (ตกเป็นสินส่วนตัว) โดยอำนาจกฎหมายนับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลาย

  • กรณี “ไม่มีสินสมรสแล้ว” คู่สมรสต้องช่วยกันออกค่าใช้สอย สำหรับการจัดการบ้านเรือนตามส่วนมาก และน้อยแห่งสินส่วนตัวของตน

 


ที่มา : https://justicechannel.org/read/plan-family-assets?fbclid=IwY2xjawIo_pxleHRuA2FlbQIxMAABHZNFow1wh7AtqAA6WLTgIkxCenYD1JlM2lNQ0lGjp0b0uN2F71P5agdbbg_aem_PIzTybyUX9azRiu5pm36dw&cn-reloaded=1